1 ธ.ค.63-อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความประเด็น “เครื่องแบบ และ ชุดนักเรียน” ผ่านเฟซบุ๊กว่า ลูกชายผมเรียนหนังสือที่ออสเตรเลีย ที่ออสเตรเลียนักเรียนประถม มัธยมทุกคยต้องใส่ชุดนักเรียน
มีข้อแตกต่างเล็กน้อยระหว่างโรงเรียนที่เมืองไทยและออสเตรเลียคือ
โรงเรียนต่างๆ ในออสเตรเลียกำหนดรูปแบบของชุดนักเรียนเอง ไม่ได้เป็นชุดนักเรียนเดียวกันทั้วประเทศ
และในโรงเรียนเดียวกันก็มีแบบของชุดนักเรียนให้เลือกใส่หลายแบบ ทั้งเสื้อแขนสั้นและแขนยาว กางเกงขาสั้นและขายาว มีเสื้อแจ็คเก็ต มีจั้มเปอร์ มีชุดพละ
นักเรียนหญิงสามารถใส่ชุดนักเรียนชายได้ คือใส่กางเกงแบบนักเรียนชายได้
สาเหตุที่มีชุดให้เลือกหลายแบบ เพราะสภาพภูมิอากาศ ในฤดูร้อนจะร้อนจัด และในฤดูหนาวจะมี 3 ฤดูหนาวซึ่งความหนาวเย็นต่างกัน จากหนาวน้อยไปหนาวจัด
เพราะฉะนั้นจึงให้สิทธิ์นักเรียนเลือกใส่ตามความสะดวกและตามสภาพอากาศ
ซึ่งข้อเสียอย่างหนึ่งของการที่มีชุดนักเรียนหลายแบบที่ตัวนักเรียนไม่เคยคิดถึง แต่พ่อแม่ผู้ปกครองรับรู้คือ ค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดนักเรียนก็สูงตามมา
และอย่าลืมว่าเด็กโตไว บางช่วงอายุ เพิ่งซื้อชุดนักเรียนใส่มาได้ไม่ถึงปีก็ต้องเปลี่ยน และมันไม่ได้มีแต่แบบเดียว
ส่วนเรื่องทรงผมนั้น ไม่มีการบังคับ ใครจะไว้ผมยาวสั้นอย่างไรก็ได้
แต่ที่น่าแปลกใจสำหรับเราที่เป็นคนไทยคือ พอไม่มีการบังคับเรื่องทรงผม เด็กๆ ก็ไม่มีความต้องการจะแหกกฎ
เด็กนักเรียนชายกว่า 90% ไว้ทรงปกติธรรมดา อีก 10% คือนักเรียนที่ชอบความเท่ห์ จะไว้ผมยาวไปเลย ส่วนเด็กเกเรแบบจิ๊กโก้จะไว้ผมสั้นติดหนังหัวแบบสกินเฮด
สมัยผมเป็นนักเรียน ก็มีอารมณ์ต่อต้าน และพูดตามๆ กันไป ว่าการแต่งตัวของนักเรียน ผมยาวหรือสั้น แต่งชุดนักเรียนถูกระเบียบหรือไม่ มันส่งผลอะไรต่อผลการเรียน
เมื่อโตมาแล้วจึงเข้าใจว่า...คนทุกคนในสังคม และองค์กรทุกองค์กร ทั้งบริษัทเอกชน กระทรวง ทบวง กรม หรือแม้แต่ศาสนาต่างๆ ทุกองค์กรล้วนมีเครื่องแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตน
เราอยู่บ้านจะแต่งตัวอย่างไรก็ได้ แต่เมื่อเราเป็นสมาชิกในสังกัดองค์กรใดๆ เราต้องสวมเครื่องแบบขององค์กรนั้นๆ
ลองจินตนาการกันดูว่า
พระสงฆ์ ประท้วงไม่ขอหมจีวร
ตำรวจ ทหาร ประท้วงไม่ขอสวมเครื่องแบบทหาร ตำรวจ
แต่ข้าราชการ อยากใส่ชุดทหาร
พนักงานเอกชน อยากใส่ตำรวจไปพบลูกค้า
นักเรียนไม่อยากแต่งชุดนักเรียนไปโรงเรียน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เด็กที่มาใช้สถานที่และอุปกรณ์ของโรงเรียนเป็นนักเรียนที่จ่ายค่าเทอมกับโรงเรียนของเรา
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า สนามฟุตบอลที่มีเด็กวิ่งเล่นเต็มสนามคือเด็กโรงเรียนเราที่จ่ายค่าเทอม ไม่ใช่เด็กที่อื่นแอบมาใช้สนามฟุตบอลจนเต็ม จนไม่มีที่ไห้เด็กนักเรียนตัวจริงได้เล่น
เมื่อทุกคนไม่อยากมีเครื่องแบบเพื่อประกาศตนว่าตนเองอยู่สังกัดองค์กรใด...
เราอาจจะเห็น...
พระสงฆ์มีคิวใส่กางเกงยีสต์บิณฑบาต
ข้าราชการในอำเภอใส่เสื้อกล้าม
เซลล์แมนใส่ชุดคล้ายตำรวจ เรียกตรวจใบขับขี่
ตำรวจใส่กางเกงขาสั้นลากแตะเขียนใบสั่งปรับเงินเรา
คนที่ไม่ใช่อาจารย์อยู่ในโรงเรียน
คนที่ไม่ใช่นักเรียนอยู่ในโรงเรียน
ความเป็นระเบียบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และที่สำคัญความปลอดภัย....
ความปลอดภัยของความเป็นทหาร ตำรวจ พระสงฆ์ ครูนักเรียน อยู่ตรงไหน
เมื่อทุกคนทุกอาชีพสวมรอยกันไปมา
เพราะไม่มีเครื่องแบบเฉพาะที่ระบุตัวตนของคนนั้นๆ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |