สส.ก้าวไกล จวก 'บิ๊กตู่' ใช้มาตรา 112 ขัดหลัก 'พระเมตตา'


เพิ่มเพื่อน    

27 พ.ย.63 - นายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.เขต 1 พิษณุโลก พรรคก้าวไกล กล่าวว่า หลังได้ฟังคำตอบของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตอบโต้อาจารย์ ส.ศิวรักษ์ ที่กล่าวในเวทีชุมนุมของกลุ่มราษฎร เมื่อ 25 พ.ย. ว่า นายกฯนำมาตรา 112 ของกฎหมายอาญากลับมาใช้ เป็นการขัดพระราชโองการ เป็นการทำลายล้างสถาบันกษัตริย์ เป็นการรังแกพระเจ้าแผ่นดิน ทำให้ในวันรุ่งขึ้น พล.อ.ประยุทธ์ จึงออกมาชี้แจง ว่า “ผมไม่ได้ใช้ เจ้าหน้าที่เป็นคนใช้” นั้น

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรี จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ เพราะการรักษาไว้ซึ่งพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน ถือเป็นบทบาทหน้าที่สำคัญของหัวหน้ารัฐบาลในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขดังนั้น นายกรัฐมนตรีจึงไม่อาจลอยตัวต่อการกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ให้นำกฎหมายอันเป็นการเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างไปจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนมาบังคับใช้ได้ ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่า มาตรา 112 เป็นกฎหมายที่มีออัตราโทษสูง ใครก็กล่าวโทษได้ และถึงขั้นติดคุกไปก่อนได้ โดยมีหลายกรณีที่ต้องสูญเสียอิสรภาพไปเป็นปีก่อนศาลจะยกฟ้อง ดังนั้น การนำกฎหมายมาตรานี้กลับมาใช้อีกก็จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนแย่ลง

อย่างไรก็ตามสิ่งที่รัฐบาลไทยควรตระหนักและหันออกไปมองนานาประเทศที่มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา ล้วนมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือกฎหมายมาตรานี้เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนและขัดหลักสิทธิมนุษยชนสากล อีกทั้ง องค์การสหประชาชาติ (UN)ด้านสิทธิมนุษยชนเคยออกสารเผยแพร่ของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติเพื่อสิทธิมนุษยชน (โอเอชซีเอชอาร์) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยหยุดใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อกีดกั้นเสรีภาพในการแสดงออกด้วย

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 63 ที่ผ่านมา ก็เป็น พล.อ.ประยุทธ์ เองที่พูดว่า “วันนี้มาตรา112 ไม่ได้ใช้เลย เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระเมตตาไม่ให้ใช้” แต่กลับเป็นในวันนี้ที่อ้างว่า หากเจ้าหน้าที่ไม่ใช้ก็ขัด มาตรา 157 จึงก็ไม่รู้ว่าทำไมอยู่ดีๆจึงเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ขัดแย้งกันเองอย่างหน้าตาเฉย ทั้งที่ก็เพิ่งพูดไม่ทันข้ามปีด้วยซ้ำ  

นายปดิพัทธ์  กล่าวด้วยว่า การปล่อยปละเจ้าหน้าที่ให้นำกฎหมายที่สร้างความกังวลต่อประชาชนเช่นนี้มาใช้ นอกจากขัดหลัก ‘พระเมตตา’ แล้ว เจตนาแบบนี้ไม่อาจมองได้ว่าเป็นความพยายามพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน แต่ดูเหมือนมีเจตนาผลักให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นผู้เผชิญหน้ากับความไม่พอใจของประชาชนเพื่อกลายเป็นคู่ขัดแย้งแทนรัฐบาลเสียมากว่า ดังนั้น หากยังพอคิดได้บ้าง พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ควรผลักปัญหาของตัวเองไปให้เจ้าหน้าที่รับหน้า และควรจะมีความรับผิดชอบในฐานะนายกรัฐมนตรียิ่งกว่านี้ ผมคิดว่าเป็นการไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์มาเป็นเกราะกำบังความล้มเหลวในการบริหารประเทศในแทบทุกด้านของตัวเอง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"