25 พ.ย. 2563 นางสาวฉัตรรัตน์ โหตระไวศยะ รักษาราชการแทนคณบดี วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เปิดเผยว่า สำหรับทิศทางและตำแหน่งยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปีหลังจากนี้นั้น กำหนดให้ไทยพัฒนาสู่การเป็นประเทศรายได้สูงที่มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค พร้อมผลักดันประเทศไทยสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ เป็นแหล่งผลิตสินค้า เกษตรกรรมยั่งยืน แหล่งอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และมีนวัตกรรมสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านนายมะโน ปราชญาพิพัฒน์ ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและบริการวิชาการด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวถึงสถานการณ์โลจิสติกส์ไทยว่า ในปัจจุบันมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการขนส่งเดลิเวอร์รี่ เนื่องจากกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนไทยที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการซื้อสินค้าออนไลน์ การสั่งอาหารออนไลน์ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงความต้องการของตลาดแรงงานด้านโลจิสติกส์ที่ทวีความต้องการเพิ่มขึ้น อาทิ ด้านคลังสินค้า การขนส่ง การนำเข้า-ส่งออก จึงทำให้ผู้ประกอบการหลายภาคธุรกิจ หันมาลงทุนด้านโลจิสติกส์มากขึ้น เช่น SCG, ไทยเบฟฯ,, ปตท. เป็นต้น
ทั้งนี้ จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นนั้น มองว่า โควิด-19 ถือเป็นโอกาสของธุรกิจโลจิสติกส์ เพราะทุกคนหันมาให้ความสนใจในเรื่องดังกล่าว เช่นเดียวกับผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ และบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ที่มีการปรับตัว เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลง รวมถึงทุกภาคส่วนต้องร่วมกันผลักดันเรื่องโลจิสติกส์ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ สร้างธุรกิจใหม่ๆ ทั้งยังสร้างเครือข่ายให้ครอบคลุมควบคู่ไปด้วย
นายมะโน กล่าวต่ออีกว่า ไทยถือเป็นประเทศที่สำคัญด้านโลจิสติกส์ ที่จะนำไปสู่การเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ด้วยปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเชื่อมต่อกับประเทศอื่น เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ที่จะต้องส่งต่อผ่านมายัง จังหวัดหนองคาย ก่อนเชื่อมไปยังท่าเรือแหลมฉบัง สอดรับกับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานมหาศาล ในการสร้างถนน รถไฟทางคู่เส้นทางต่างๆ และการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) จึงนับว่ารัฐบาลได้ดำเนินการสร้างโอกาส และรายได้ของไทย รวมถึงโลจิสติกส์ของไทย จะกลายเป็นรายได้หลักของประเทศ แทนด้านการท่องเที่ยวในอนาคต
ทั้งนี้ ล่าสุด วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้เปิด “หลักสูตรผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของอุตสาหกรรมผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน รุ่นที่ 1 (บลส.1)” ซึ่งเป็นการสัมมนาหลักสูตรระดับสูง ทางด้านบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจากระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ทั้งยังช่วยสร้างโอกาสในการเรียนรู้ทฤษฎีเชิงประยุกต์ในการออกแบบ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน เพื่อการแข่งขันและยั่งยืน อีกทั้ง จะสร้างโอกาสในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการบริหารงานโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
สำหรับจุดประสงค์หลักของการจัดหลักสูตรดังกล่าวนั้น เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะด้าน สำหรับด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ให้ร่วมสมัยกับสถานการณ์ปรกติใหม่ (New Normal) และวิธีปฏิบัติระดับสากล รวมถึงนำความรู้ ประสบการณ์ เทคนิคและวิทยาการของวิทยากรผู้บรรยาย คณาจารย์และผู้บริหารที่เข้ารับการอบรม มาเป็นบูรณาการให้แก่นักศึกษา และสถาบันการศึกษา อีกทั้งยังเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ตลอดทั้งสานสัมพันธ์ผู้บริหารภาครัฐ ผู้ประกอบการเอกชน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวงการอุตสาหกรรม ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตามโดยหลักสูตรดังกล่าว รับรุ่นละ 80 คน ซึ่งในขณะนี้สนใจสมัครแล้ว 20 กว่าคน และมีการติดต่อสอบถามมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ในอนาคตจะมีการต่อยอดหลักสูตร และมีแผนเปิดหลักสูตรที่เป็นวิชาชีพโลจิสติกส์ เพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ ป้อนไปยังตลาดแรงงานโลจิสติกส์ เนื่องจากเป็นตลาดแรงงานระดับสูง และเป็นที่ต้องการมาก ครอบคลุมทั้งการขนส่งทางบก ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |