เกิดปมประเด็นคำถามให้ชวนน่าคิด เวทีการชุมนุมราษฎรเมื่อวันอาทิตย์ 22 พ.ย. ที่ถนนอุทยาน (อักษะ) แนวร่วมผู้ชุมนุมในนาม ราษฎร จากที่ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยนักเรียน นิสิตนักศึกษา 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการชุมนุมวันดังกล่าว แนวร่วมขบวนการนิสิตนักศึกษาถูกฉาบไปด้วยคนเสื้อแดงที่เข้ามาร่วมชุมนุมอย่างหนาตา ถนนอักษะในอดีตก็เป็นพื้นที่มั่นสุดท้ายก่อนรัฐประหาร 22 พ.ค.2557
การจัดกิจกรรมวันดังกล่าว แนวร่วมราษฎรศาลายาระบุว่า เป็นการจัดกิจกรรมรำลึกถึงคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเมื่อปี 2557 ภายในงานจึงเต็มไปด้วยกลิ่นอายรำลึกประวัติศาสตร์เลือด การต่อสู้ของคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ สมัยการชุมนุมคนเสื้อแดง พร้อมกับข้อความ หยุดคุกคาม เข่นฆ่าประชาชน ประณามการกระทำรุนแรงจากฝ่ายรัฐ มีกิจกรรมแห่โลงศพ วางดอกไม้จันทน์ เพื่อรำลึกถึงคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเมื่อปี 2557
สำหรับการชุมนุมใหญ่แบบเบิ้มๆ มีบิ๊กเซอร์ไพรส์อีกครั้ง คราวนี้ย้ายหมุดหมายจากสถานที่ราชการ พื้นที่ห้างร้านเอกชน มาปักหมุด ‘สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์’ วันที่ 25 พ.ย. โดยจะตั้งขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แล้วเคลื่อนขบวนไปยังสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ สถานที่ชุมนุมราษฎรจะไปแสดงออกทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์
ยังไม่แน่ชัดว่าระหว่างการทำกิจกรรม ก่อนการเคลื่อนขบวนจะมีการเปลี่ยนจุดหมายไปยังสถานที่อื่นใดอีกหรือไม่ เพราะในอาณาบริเวณจากจุดที่นัดหมายมีสถานที่สำคัญเชิงสัญลักษณ์อยู่จำนวนมาก
แนวร่วมราษฎรในระยะหลังถูกกระแสด้านลบพุ่งเข้าใส่ขบวนจำนวนมาก
ในแง่การนำถูกตั้งคำถาม มีการช่วงชิง และแกนนำบางคนมีแนวทางที่ชัดเจน บางคนยืนกรานสนับสนุนข้อเรียกร้อง ทิศทางการเคลื่อนไหวในมิติเฉพาะที่เกี่ยวกับการเมือง การขับไล่รัฐบาลประยุทธ์ การจัดทำรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น
ปักธงไม่ขอเลยป้าย ดังจะเห็นว่าแกนนำบางคนที่มาร่วมชุมนุมมักจะมาในรูปแบบผู้สังเกตการณ์ แต่จะไม่ขอเอี่ยวหรือจับไมค์ปราศรัยในประเด็นละเอียดอ่อน ขณะที่แนวร่วมในขบวนอีกพวกก็ยืนยันปักหมุดชัดเจนในประเด็นละเอียดอ่อน ขมวดปมมาเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาทั้งหลายทั้งปวง
การจัดการชุมนุม ปัญหากลุ่มฟันเฟืองอาชีวะ และการ์ดอาสากลุ่มราษฎร ที่ต่างมีแนวทางการทำงานอยู่ในภาวะที่ต่างคนต่างทำ เคยมีกระแสข่าวออกมาเป็นระยะๆ ฟันเฟืองอาชีวะจะขอลดบทบาท จนประกาศจะไม่ไปร่วมกับการชุมนุมในครั้งต่อๆ ไป
ที่สำคัญคือ แนวร่วมที่เคยมาร่วมชุมนุมนิสิตนักศึกษา ก็ได้เห็นรูปแบบกิจกรรม การจัดงานแต่ละครั้งที่ยังไม่เห็นจุดหมายแห่งการขับเคลื่อนที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงหรือปฏิรูปอย่างที่คณะแกนนำวาดฝันเอาไว้ การชุมนุมแต่ละครั้งส่วนใหญ่เป็นแค่นัดหมายมาทำกิจกรรม แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ อ่านแถลงการณ์ รอการนัดหมายครั้งต่อไป วนเวียนอยู่ในลักษณะนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การนัดชุมนุมแต่ละครั้ง แนวร่วมนิสิตนักศึกษาเริ่มลดน้อยลง ถูกแทนที่ด้วยกลุ่มคนเห็นต่าง ไม่เอารัฐบาลประยุทธ์ อย่างคนเสื้อแดงเข้ามาร่วมผสมโรง หลายเวทีราษฎรกล่าวชื่นชม เชิดชูวีรกรรมเสื้อแดงในอดีต โดยเฉพาะการถูกกระทำในอดีต โดนล้อมปราบ ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต ล้วนเป็นผลพวงจากการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างแท้จริง อันเป็นหมุดหมายที่ใกล้เคียงกับราษฎร
เหตุการณ์รัฐประหารที่ไม่ว่าจะเกิดก่อนหรือหลังประหาร แนวร่วมเสื้อแดงก็ล้วนได้รับผลกระทบ แกนนำหนีหาย ล้มตาย แนวร่วมอีกหลายคนมีคดีความติดตัว บวกกับภาพรุนแรงในอดีตที่ถูกฉายซ้ำ ถูกโยนมาให้เป็นฝีมือเสื้อแดงและกองกำลังติดอาวุธที่ร่วมสนับสนุน
ขณะเดียวกัน แกนนำราษฎร ทนายอานนท์ นำภา โพสต์เฟซบุ๊ก ‘ทหารจะช่วยฉีกรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อให้ราษฎรสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับคนเท่ากัน เชิญมึงทำรัฐประหาร ประเทศนี้พร้อมแล้วที่จะทิ้งอะไรไว้ข้างหลัง เพื่อให้ได้เดินไปข้างหน้า!!!’
แพนกวิ้น-พริษฐ์ ชิวารักษ์ โพสต์เฟซบุ๊ก
‘ถ้าวันใดวันหนึ่งเกิดการรัฐประหาร ขอให้รถทุกคันจอดปิดทุกแยก นี่คือการต้านรัฐประหารอย่างสันติและได้ผลมากที่สุด’
ไมค์-ภาณุพงศ์ จาดนอก ก็โพสต์เฟซบุ๊กลักษณะเดียวกัน
‘หากเกิดรัฐประหาร ขอให้ทุกคนทำ #CarMob จอดรถทิ้งบนถนน ขัดขวางการเคลื่อนกำลังพลของเจ้าหน้าที่ แล้วเราจะทำประเทศไทยให้ดีกว่าเดิม #ต่อต้านรัฐประหาร’
ก่อนการชุมนุม 25 พ.ย. ในโลกโซเชียลฝ่ายราษฎรมีการปลุกปั่น ปลุกระดม จับโยงเหตุการณ์หนึ่งมาเชื่อมโยงอีกเหตุการณ์หนึ่ง ตั้งสมมุติฐานนำไปสู่การทำรัฐประหาร ขณะที่แกนนำราษฎรก็ทำเป็นรับลูกตาม
ปลุกผีรัฐประหาร สร้างภาพให้น่ากลัว เพื่อหวังดึงพลังคนเสื้อแดง อันเป็นอีกแนวร่วมสำคัญ ให้ออกมาต่อต้าน แสดงพลัง ลงถนนสู้รบไปพร้อมกับราษฎรให้ได้มากที่สุด
ส่วนจะเป็นผลหรือไม่ 25 พ.ย.นี้ มีคำตอบ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |