‘คมนาคม’ จ่อชง ครม.ไฟเขียวตั้ง ‘สถาบันรางฯ’ รองรับเมกะโปรเจ็กต์


เพิ่มเพื่อน    

 

23 พ.ย. 2563 รายงานข่าวจากกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เสนอการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง ไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแล้ว แต่ยังไม่มีการบรรจุในวาระ ครม. เนื่องจากต้องรอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง, สำนักงบประมาณ (สบน.), คณะกรรมการกฤษฎีกา, อัยการสูงสุด และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตอบความเห็นกลับมาแล้ว จากนั้นจะสามารถบรรจุในวาระการประชุม ครม. ซึ่งคาดว่า ที่ประชุม ครม.จะพิจารณาเห็นชอบการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางได้ภายในเดือนนี้

สำหรับการจัดตั้งสถาบันรางฯ ดังกล่าวนั้น ก่อนหน้านี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบให้นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เร่งรัดเสนอเรื่องการจัดตั้งสถาบันรางฯ ให้ที่ประชุม ครม.พิจารณา เนื่องจากสถาบันรางฯ จะเป็นสถาบันที่จะรับผิดชอบเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง จึงเร่งรัดให้ ขร. และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เดินหน้าจัดตั้งสถาบันรางฯ เพื่อรับผิดชอบเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง รวมถึงรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ไทย-จีนในอนาคตด้วย ทั้งนี้ สถาบันรางฯ จะมีลักษณะคล้ายกับวิทยาลัย โดยจะเปิดรับบุคลากร นักเรียน นักศึกษา และสายอาชีวะศึกษา มาศึกษาการทำงานด้านระบบราง โดยจะไม่ซ้ำซ้อนกับ ขร.
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ภายใต้การนำของนายศักดิ์สยาม ที่ต้องการตอบสนองนโยบายรัฐบาล ด้วยการเร่งพัฒนาระบบรางให้ครอบคลุมทุกมิติ รวมทั้งนโยบาย Thai First ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเทคโนโลยีด้านระบบรางของไทย เพื่อเดินหน้าสู่การพัฒนาประเทศไทยให้มีความมั่นคง พร้อมทั้งมุ่งมั่นจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รองรับการเดินทางได้อย่างไร้รอยต่อ โดยเฉพาะระบบการขนส่งทางราง ให้เป็นระบบหลักของประเทศ ซึ่งปัจจุบัน ระบบราง ยังไม่มีหน่วยงานหลักที่สนับสนุน ด้านองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบรางของประเทศ ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี องค์ความรู้ และผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานสูง และสูญเสียเงินให้กับต่างชาติเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับและการพัฒนาระบบรางให้มีศักยภาพมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว เพื่อส่งเสริมสนับสนุนด้านระบบราง เป็นดั่งมันสมองที่รวบรวมองค์ความรู้ ศึกษาวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่ประสบความสำเร็จ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานการจัดตั้งสถาบันรางฯ มี 6 ด้านที่สำคัญ คือ 1.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยและประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบรางในการวางแผนวิจัยด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง 2.บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้งานวิจัยเป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งานทั้งภายในและต่างประเทศ 3.ร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นตัวกลางในการรับ แลกเปลี่ยน และร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม

4.วิจัย พัฒนาระบบการทดสอบและทดลองเพื่อรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพสำหรับการประกอบการขอใบอนุญาตประกอบการ 5.พัฒนาบุคลากรด้านระบบรางและจัดให้มีศูนย์ฝึกอบรมด้านระบบราง เพื่อรองรับการออกใบอนุญาตให้กับบุคลากรด้านการขนส่งทางราง และ 6.รวบรวมและจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ งานวิจัยเทคโนโลยีระบบราง นวัตกรรม สำหรับเพิ่มศักยภาพบุคลากรและพัฒนาอุตสาหกรรมรางของประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตเมื่อมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางแล้ว จะทำให้ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญระบบรางมากขึ้น มีองค์ความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้คนไทยมีความสามารถในการออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน ประกอบ และซ่อมบำรุงระบบราง เกิดงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมระบบรางของไทยเทียบชั้นมาตรฐานระดับสากล อันนำไปสู่การใช้วัสดุภายในประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบรางไทย เกิดการจ้างงาน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะนำพาประเทศไทยไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืนต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"