อนาคตพลังงาน อนาคตเศรษฐกิจไทย


เพิ่มเพื่อน    

            หลังคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)  ซึ่งมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รับทราบการดำเนินงานของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติ แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช ที่กำลังจะสิ้นอายุสัมปทาน ในปี 2565-2566 พร้อมทั้งไฟเขียวให้ออกประกาศเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมประมูล ในวันที่ 24 เมษายน 2561 ตามทีโออาร์การเปิดประมูลระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract : PSC)

                สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขหลักในการประมูล คือ ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้องผลิตก๊าซธรรมชาติปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลข G1/61 และต้องผลิตก๊าซธรรมชาติในปริมาณการผลิตขั้นต่ำ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี ในแปลงสำรวจหมายเลข G2/61 

                นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอราคาก๊าซธรรมชาติที่ไม่สูงไปกว่าราคาเฉลี่ยของราคาก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน ตามสูตรราคาที่กำหนดในเงื่อนไขการประมูล ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้แก่รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50% และเสนอผลประโยชน์พิเศษต่างๆ เช่น โบนัสการลงนาม โบนัสการผลิต และผลประโยชน์พิเศษอื่นๆ และผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเสนอสัดส่วนการจ้างพนักงานไทยไม่ต่ำกว่า 80% ในสิ้นปีที่ 1 และไม่ต่ำกว่า 90% ในสิ้นปีที่ 5 ของการดำเนินงาน

                และการรอคอยที่หลายฝ่ายลุ้นกันว่าจะเปิดประมูลได้หรือไม่ได้ ก็โล่งใจกันไปเป็นแถวๆ เพราะเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในฐานะเจ้าของโปรเจ็กต์ ได้ออกประกาศเชิญชวนผู้ที่สนใจประมูลยื่นขอสิทธิ์สำรวจและผลิตปิโตรเลียมแปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และ G2/61 (บงกช) ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมาก นายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า หลังจากประกาศเชิญชวนได้มีเอกชนให้ความสนใจเข้ามารับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประมูลที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จำนวน 5 บริษัท ประกอบด้วย

                1.บริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม จำกัด นำโดย Mr.Naser Al Hajrl, Senior Vice President Operation, 2.โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ จำกัด นำโดย Mr.Pascal Laroche, Country Chair and General Manager, 3.บริษัท Mitsui Oil Exploration Co., Ltd. นำโดย Mr.Minoru Fukuda กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการทั่วไป สำนักงานกรุงเทพฯ และอีก 2 รายสุดท้ายก็เจ้าเก่ารายเดิม คือ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด นำโดย นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นำโดย นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่

                งานนี้ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยังได้ย้ำว่าหลังจากนี้เมื่อบริษัทผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมประมูลแล้ว กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติก็จะเปิดให้เสนอข้อมูลทางเทคนิค และชี้แจงหลักเกณฑ์อีกครั้งหนึ่ง โดยเบื้องต้นให้น้ำหนักคะแนนราคาก๊าซธรรมชาติที่จะขายให้ภาครัฐในสัดส่วน 65% ซึ่งจะมีสูตรราคาเป็นค่าคงที่ รายใดให้ราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะประมูล เพราะเราไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของรัฐ 

                "แต่คำนึงถึงค่าไฟฟ้าที่มีผลต่อประชาชน หากราคาก๊าซถูกลง 1 บาทต่อล้านบีทียู จะทำให้ค่าเอฟทีลดลง 0.5 สตางค์ต่อหน่วย คิดเป็นน้ำหนักคะแนนสัดส่วนราคาก๊าซต่อส่วนแบ่งกำไร 2.5 ต่อ 1 และคะแนนอีก 25% เป็นเรื่องส่วนแบ่งกำไรที่รัฐได้ไม่น้อยกว่า 50%”

            คงต้องรอลุ้นกันต่อไปว่า โครงการประมูลแหล่งปิโตรเลียมจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี หรือว่ามีอุปสรรคมาขัดขวางให้โครงการต้องหยุดกลางคัน เช่นเดียวกับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้หรือไม่ เพราะขณะนี้ก็ยังมีกลุ่มที่คัดค้าน ไม่เห็นด้วยออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างต่อเนื่อง         อย่างไรก็ตาม การเปิดประมูลปิโตรเลียมที่เดินหน้ามาได้ถึงระดับนี้ก็ต้องยกนิ้วให้กับบรรดาข้าราชการที่ช่วยกันผลักดัน และที่ขาดไม่ได้คือหัวเรือใหญ่ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่เข้ามาช่วยผลักดันกันอย่างเต็มที่  

            ซึ่งเมื่อผลักดันเรื่องปิโตรเลียมสามารถเดินหน้าไปได้แล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่และเทพา ที่ถูกพับกลับไปเริ่มต้นใหม่ให้เดินหน้าต่อไปได้ เพราะพลังงานไฟฟ้าก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญต้องการเติบโตของเศรษฐกิจเช่นกัน. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"