เปิดแนวคิด “ดาริกา ลัทธพิพัฒน์” นักบริหารการศึกษาและพัฒนาคนอย่างยั่งยืน


เพิ่มเพื่อน    


    สถาบันการศึกษาเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่มีความสำคัญ เพราะมีหน้าที่ในการขัดเกลาพฤติกรรมมนุษย์ ทั้งในเรื่องของการพัฒนากระบวนการคิด องค์ความรู้ การปลูกฝังค่านิยมที่ดีงามทั้งเรื่องของขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ที่ต้องปลูกฝังและอนุรักษ์ไว้รุ่นสู่รุ่น เพื่อจะเติบโตไปเป็นประชากรที่มีคุณภาพของสังคมหรือประเทศนั้นๆ แต่ในยามที่ประชากรมีจำนวนลดลง รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแตกต่างจากคนรุ่นเก่าที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเรียนถึงระดับอุดมศึกษา ทำให้เกิดเป็นโจทย์ที่ท้าทายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องว่า จะทำอย่างไรที่จะยังสามารถพัฒนาเยาวชนของชาติให้เติบโตไปอย่างมีคุณภาพ เพื่อจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต


    นับเป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่ “แพรว-ดาริกา ลัทธพิพัฒน์” ใช้เวลาและทุ่มเททำงานพัฒนาวงการการศึกษาไทย ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือการศึกษาระดับปฐมวัย โดยปัจจุบัน ดาริกา นอกจากจะดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์แล้ว ยังมีตำแหน่งควบคู่กันอีกตำแหน่งหนึ่งคือ ประธานกรรมการบริหารโรงเรียนนานาชาติ เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ ที่ก่อตั้งมาเป็นเวลาเกือบ 3 ปีอีกด้วย
    การบริหารสถาบันการศึกษาสองแห่งไปพร้อมๆ กัน และเป็นสถานศึกษาที่มีผู้เรียนคนละระดับกัน จะว่าไปแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่สำหรับเธอมีหลักในการทำงานคือ การตั้งโจทย์ให้ชัดเจนว่า องค์กรหรือสถาบันต้องการอะไร ผลลัพธ์ที่ต้องการคืออะไร เพื่อที่จะขับเคลื่อนการทำงานของทั้งสององค์กรต่อไปได้ และเธอยังให้ความสำคัญกับผู้ร่วมงานทุกคน ว่ามีความเข้าใจโจทย์และมองเห็นในผลลัพธ์เดียวกัน โดยจะไม่เข้าไปกำหนดในรายละเอียดของการทำงาน หากแต่เน้นให้ผู้ร่วมงานทำงานเป็นทีมเวิร์ก ด้วยการร่วมกันคิด ตั้งวัตถุประสงค์ และวิธีการทำงานจากโจทย์และผลลัพธ์ที่ต้องการ


    “การเป็นผู้บริหารสถาบันการศึกษา เป็นการทำงานร่วมกับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละศาสตร์สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียน จึงจำเป็นต้องฟังให้มากว่าผู้ร่วมงานของเราจะนำเสนออะไร ต้องการขับเคลื่อนอะไร ไม่เอาตัวเองเข้าไปเป็นศูนย์กลางมากนัก แต่ทั้งนี้เราก็ต้องคอยควบคุมให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบที่เราต้องการ เพราะเรารู้ว่าเราต้องการให้องค์กรหรือสถาบันการศึกษาของเรามีเส้นทางอย่างไร และต้องการเห็นผลลัพธ์อะไร”
    สำหรับจุดเริ่มต้นทำงาน เธอเล่าว่า ได้ทำงานวงการการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ก่อนจะมีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับการทำงานในวงการการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนที่โรงเรียนนานาชาติของผู้ใกล้ชิด ด้วยความสนใจในเรื่องของการพัฒนาคน จึงมีความคิดที่จะพัฒนาคนในรุ่นเยาว์ จึงนำโรงเรียนเวลลิงตัน คอลเลจ เข้ามาเปิดที่กรุงเทพฯ เมื่อเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา “การบริหารโรงเรียนสำหรับเด็ก และการบริหารงานในระดับมหาวิทยาลัย ไม่ได้มีเป้าหมายแตกต่างกันมาก เพราะต่างก็มุ่งที่จะพัฒนาคน หากต่างกันเพียงแค่ช่วงวัยของผู้เรียน ทำให้เนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนตลอดจนการวัดผล มีรูปแบบและวิธีการที่แตกต่างกันไป สำหรับในระดับโรงเรียน การพัฒนาหลักสูตรเพื่อตอบสนองการพัฒนาคนนั้นจะไม่ซับซ้อน แต่จะต้องทำให้เด็กในแต่ละช่วงวัยมีพัฒนาการที่ดีที่สุดในช่วงเวลาการเรียนรู้ของเขา และเตรียมความพร้อมเพื่อไปสู่การประสบความสำเร็จในแบบของตัวเองในอนาคตต่อไป”


    ขณะที่ การเลือกเปิดโรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ เพราะเป็นโรงเรียนที่ยึดหลักสูตรตามโรงเรียนเวลลิงตัน คอลเลจ ในสหราชอาณาจักร ที่มีรูปแบบการวัดผลที่หลากหลาย ไม่ได้ยึดติดอยู่แค่การสอบ ซึ่งจะเป็นการช่วยเปิดโลกทัศน์ให้นักเรียนค้นพบตัวเองผ่านกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งการคัดสรรบุคลากรที่เน้นบุคลากรคุณภาพจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้เวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ มีความพร้อมที่จะดูแลและส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    ดาริกากล่าวเสริมว่า โรงเรียนนานาชาติเวลลิงตัน คอลเลจ กรุงเทพฯ เปิดทำการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 นับเป็นเวลาเกือบ 3 ปี มีอัตราการเติบโตของจำนวนนักเรียนเป็นที่น่าพอใจ เป็นไปตามแผนบริหารงานที่วางไว้ แม้จะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 แต่ทางโรงเรียนก็ได้ออกมาตรการในหลายเรื่องเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ควบคู่ไปกับการพัฒนาทีมบุคลากรครู และวิธีการสอนที่มีคุณภาพอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อจะสามารถตอบสนองความต้องการเรียนรู้ของนักเรียนในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นทางวิชาการ กีฬา ศิลปะ และอื่นๆ โดยทั้งหมดนี้ก็จะนำไปสู่การตอบโจทย์เป้าหมายที่สำคัญ คือ การพัฒนาคนแบบยั่งยืน ด้วยการพัฒนาและเสริมสร้างทักษะในทุกๆ ด้านตั้งแต่ยังเล็ก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"