ครั้งแรกของปอร์เช่ ภายใต้ชื่อโครงการ “Porsche Unseen” ด้วยการนำเสนอกรณี ศึกษางานออกแบบตั้งแต่ปี 2005 จนถึง 2019 ซึ่งทั้งหมดได้ถูกเก็บไว้เป็นความลับจนถึงปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตรถสปอร์ตชั้นนำของโลกแห่งนี้ กำลังจัดแสดงวิสัยทัศน์ที่น่าสนใจ ผ่านรถยนต์ที่แตกต่างกันถึง 15 รูปแบบ โดยกรณีศึกษาดังกล่าว ครอบคลุมกลุ่ม “Spin-offs“, “Little rebels“, “Hyper cars“ และ “What’s next?” จากทิศทางการพัฒนาข้างต้นเป็นไปตามแบบแผนของปอร์เช่ในการนำเสนอผลงานขั้นตอนการออกเเบบเชิงลึกเริ่มต้น ตั้งแต่ภาพร่างชุดแรกจนถึงแบบจำลองที่สมบูรณ์ พร้อมนำไปใช้ผลิตเป็นรถยนต์จริง
Oliver Blume ประธานกรรมการบริหารของ Porsche AG เปิดเผยว่า กรณีศึกษา Visionary concept นับเป็นรากฐานที่ส่งผลต่อความสำเร็จที่กำลังจะตามมา สิ่งนี้คือศูนย์รวมแหล่งภูมิปัญญาความคิดสำหรับงานออกเเบบ ของปอร์เช่ในอนาคต และเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมอันแข็งแกร่งของเรากับเทคโนโลยีที่ในอนาคตข้างหน้า ผลงานการออกแบบที่ไม่เคยเผยแพร่ที่ใดมาก่อนกำลังจะได้รับการจัดแสดงผ่าน Porsche Newsroom ในลักษณะ ของบทความต่อเนื่องในส่วนของสื่อ 911:Magazine web TV ยังจัดสรรเวลาหลายตอน เพื่อถ่ายทอดผลงาน ที่ถูกคัดเลือก และผ่านการทดสอบจนแปรสภาพจากกรณีศึกษาเป็นผลิตภัณฑ์ยานยนต์ในรุ่นปัจจุบัน นำเสนอโดย Michael Mauer หัวหน้าทีมออกแบบของปอร์เช่ สำหรับแฟนพันธ์แท้ เตรียมตัวตื่นตะลึงกับหนังสือ “Porsche Unseen” ซึ่งวางจำหน่ายแล้ววันนี้ โดยสำนักพิมพ์ Delius Klasing publishing house นักอ่านผู้สนใจ เก็บสะสมจะได้สัมผัส อย่างใกล้ชิดกับเบื้องหลังความเป็นมา Style Porsche หลังจากนั้นจะมีการคัดเลือกผลงานบางส่วน รวบรวม นำมาจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเป็นการย้อนลำรึกถึงอีกครั้ง ณ พิพิธภัณฑ์ Porsche Museum ในปี 2021
กระบวนการออกแบบ จากภาพร่างจนถึงรถต้นแบบที่สามารถวิ่งได้จริง ขั้นตอนการออกแบบเริ่มต้นด้วยการร่าง ตามด้วยการสร้างโมเดล 3 มิติเพื่อให้เห็นเป็นรูปทรงที่จับต้องได้ต่อด้วยการ ใส่ไอเดียเพื่อพัฒนาในจุดต่างๆ แบบจำลองขนาดเล็กสัดส่วน 1:3 จะถูกผลิตขึ้น จากนั้นจะขยายเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วน 1:1 เท่าขนาดจริง “เราเริ่มต้นทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกเสมือน แต่คุณต้องมีประสบการณ์พิเศษที่จะสร้างสรรค์ให้มันกลายเป็น แบบจำลองบนโลกของความจริง เพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้งถึงแม้ว่าตัวรถที่ออกมานั้นจะมีขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หรือมีรูปร่างที่น่าประหลาดก็ตาม” Michael Mauer รองประธานผู้ดูแลส่วนงาน Style Porsche ให้คำอธิบาย ในอีกแง่มุมของกระบวนการพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งต้นแบบสำหรับการผลิตจริง แบบจำลองมากมาย จะถูกสร้างขึ้น ด้วยสไตล์ที่แตกต่างกัน แต่เมื่อมองกลับกันวิสัยทัศน์ของโครงการนี้ จะมุ่งเน้นไปที่แบบจำลองหนึ่งเดียวที่เป็นตัวเอก รับบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์รวมขององค์ความรู้ทั้งหมด
“เจตนารมณ์ของปอร์เช่ ต้องการให้มีสตูดิโอออกแบบเพียงแห่งเดียว ตั้งอยู่อย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานเพื่อการพัฒนาอื่นๆ” Michael Mauer เสริม “Weissach คือหัวใจหลักของเราแทนที่การเปิด Design Studio อันทันสมัยในที่ห่างไกล อย่างมหานครขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือหรือทวีปเอเชีย เพราะเราอยากให้บรรดาดีไซเนอร์ของเราจากทั่วโลก มุ่งหน้ามาทำงานกับปอร์เช่ที่ Weissach เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้น ได้รังสรรค์ผลงานการออกแบบรถสปอร์ตรุ่นใหม่ล่าสุด รวมทั้งยานพาหนะที่แสดงถึงวิสัยทัศน์ต่างๆ จากศูนย์กลางของแบรนด์นั่นเอง นักออกแบบมากกว่า 120 ชีวิต ไม่ว่าจะเป็น ผู้เชี่ยวชาญการดีไซน์ภายในห้องโดยสาร, ตัวถังภายนอก, งานสีและการใช้วัสดุต่างๆ, นักสร้างแบบจำลองรวมไปถึง วิศวกร ล้วนแล้วแต่ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันใน Porsche Design Studio
Porsche 919 Street (2017; 1:1 clay model) ได้รับการพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ใช้ในรถแข่งปอร์เช่ 919 Hybrid ปรับแต่งเพื่อให้นักแข่งรถมือสมัครเล่นสามารถสัมผัสได้ถึงสมรรถนะอันเหนือชั้นของรถสนามในรุ่น LMP1 ภายใต้ ตัวถังคาร์บอนโมโนคอร์ก และขุมพลังไฮบริด 900 แรงม้า เพื่อการประลองความเร็วโดยเฉพาะ ส่งผลให้ ปอร์เช่ 919 คว้าชัยชนะบนสนาม Le Mans มาครอบครองได้หลายสมัย มิติตัวถังและระยะฐานล้อนั้นเท่ากับรถแข่งจริงทุกประการ ห้องโดยสารที่มีระเบียบ เรียบง่าย ช่องรับอากาศหม้อน้ำด้านบนของเครื่องยนต์ที่วางกลางตัวรถ ลวดลายกราฟิกสี แดงสดใสและครีบดักอากาศด้านท้ายรถ ทั้งหมดนี้คือความโดดเด่นของ Porsche Vision Spyder (2019; 1:1 hard model) สปอร์ตคอมแพค ที่สะท้อนตัวตนของปอร์เช่ 550-1500 RS Spyder รุ่นปี 1954 นอกจากนี้รถต้นแบบคันดังกล่าว ยังเป็นศูนย์รวมไอเดียมากมายที่แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ในงานพัฒนาของปอร์เช่ที่ต่อยอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อาทิ ชุดโรลบาร์ที่มีรูปทรงล้ำสมัย
Porsche vision “Renndienst” (2018; 1:1 hard model) เป็นหนึ่งในผลงานการออกแบบสไตล์อิสระ ที่ตีความถึงแนวทาง การสร้างสรรค์ยานพาหนะที่เอื้อประโยชน์ในเชิงพื้นที่ใช้สอยสำหรับผู้โดยสารทั้ง 6 ตำแหน่ง ทีมงานนักออกเเบบ ได้ออกแบบรถยนต์ “space shuttle“ ล้ำอนาคตด้วยรูปทรงที่น่าประทับใจ ผลงานข้างต้นเป็นอีกหนึ่งหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่า DNA ในงานดีไซน์ของปอร์เช่นั้นสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมลงตัวได้เป็นอย่างดีแม้แต่กับรูปแบบ ของรถยนต์ที่ไม่เคยปรากฏในแบรนด์มาก่อน ภายในห้องโดยสารเต็มไปด้วยความสะดวกสบายและพื้นที่โดยสาร ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับทุกตำแหน่งที่นั่ง ผู้ขับขี่ประจำการบนเบาะนั่งสำหรับบังคับควบคุมบริเวณกึ่งกลางตัวรถ ระบบ ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าติดตั้ง ภายใต้พื้นตัวถังส่งผลต่อความปลอดโปร่งและพื้นที่ภายในที่มีให้อย่างมากมายเกินคาดส่ง มอบประสบการณ์การเดินทาง ผสานความโดดเด่นจากงานดีไซน์สไตล์ปอร์เช่ที่เหนือระดับ สามารถสั่งซื้อหนังสือ “Porsche Unseen” ได้แล้ววันนี้ผ่านตัวแทนจำหน่าย หมายเลข ISBN 978-3-667-11980-3 ภายในเล่มพบกับรายละเอียดของผลงานการออกแบบต่างๆ มากกว่า 328 หน้า รวมทั้งภาพถ่ายที่สวยงามโดย Stefan Bogner และข้อมูลที่น่าสนใจมากมายจาก Jan Karl Baedeker หนังสือได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Delius Klasing Verlag นอกจากนี้ยังวางจำหน่ายที่ร้านขายของที่ระลึกในพิพิธภัณฑ์ Porsche Museum
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |