แฟ้มภาพ
"มีชัย"ทำหนังสือถึง "พรเพชร" ไม่มีความเห็นปมร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยปปช.หลังสู้แพ้ในชั้นกมธ. แต่สะกิดเตือนขัดรัฐธรรมนูญ ขณะที่ "รสนา" โพสต์จี้ 26 สนช.แสดงสปิริตส่งศาลรธน.วินิจฉัย
10 ม.ค. 61 - มีรายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 มกราคม นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ได้ลงนามในหนังสือด่วนที่สุด ที่ (รธน) 002/2561 ถึงประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เรื่องร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. … ใจความตอนหนึ่งระบุว่า กรธ.ประชุมปรึกษาหารือกันเมื่อวันที่ 4 ม.ค.แล้วเห็นว่า ผู้แทนกรธ. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้ชี้แจงแถลงเหตุผลและข้อห่วงกังวลของกรธ. เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา 185 แห่งร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ชัดเจนแล้วว่า ในระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ รวมทั้งในชั้นการพิจารณาของสนช. ในวาระที่ 2 และ3 แต่สนช. มีมติเสียงข้างมากว่าบทบัญญัติดังกล่าวไม่มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยอ้างอิงคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 1/2560 ดังนั้น กรธ.จึงไม่มีความเห็นเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม กรธ.ยังคงมีความห่วงกังวลอย่างมากว่าบทบัญญัติดังกล่าวอาจมีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 1/2560 นั้นไม่ครอบคลุมถึงการยกเว้นลักษณะต้องห้ามในบทหลักตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่การที่จะวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของศาลรัฐธรรมนูญ กรธ.จึงไม่โต้แย้ง โดยเป็นดุลยพินิจของสนช. ที่จะพิจารณาดำเนินการตามควรแก่กรณีต่อไป
ด้าน นางรสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว. ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า “ขอให้สนช.แสดงสปิริตส่งพรป.ปปช.ให้ศาล รธน.วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย” โดยระบุว่า "ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.)ไม่ติดใจตั้งกรรมการร่วม3ฝ่ายเพื่อพิจารณาว่ามาตรา178ในพรป.ปปช.ขัดรธน.2560 หรือไม่ กรณีสนช.เสียงข้างมากโหวตให้มีการยกเว้นทั้งคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคณะกรรมการปปช.ชุดปัจจุบันให้อยู่ต่อไปจนครบวาระ ทั้งที่มีกรรมการที่ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญชัดเจน
อย่างไรก็ดี ประธานกรธ.บอกว่าเป็นหน้าที่ของสนช.ที่จะส่งพรป.ปปช.ให้ศาลรธน.วินิจฉัย ว่าการยกเว้นลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญนั้นขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งก่อนกรณีคณะกรรมการผู้ตรวจการแผ่นดิน ศาลรธน.วินิจฉัยว่าไม่ขัดธรรมนูญก็เป็นกรณีของการขาดคุณสมบัติเท่านั้น แต่ไม่มีลักษณะต้องห้าม เหมือนกรรมการปปช.ดังนั้นกรณีการยกเว้นทั้งคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามให้กรรมการปปช. จะทำได้หรือไม่นั้น ก็ควรให้ศาลรธน.เป็นผู้วินิจฉัย
ผู้ที่มีสิทธิส่งให้ศาลรธน.วินิจฉัย ก็มีเพียงสมาชิกสนช.เท่านั้นที่จะทำได้ จึงขอเรียกร้องสปิริตสมาชิกสนช.26คน ที่โหวตไม่เห็นด้วยกับพรป.ปปช. และสมาชิกสนช.ที่งดออกเสียงอีก29 คน ร่วมกันส่งเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยให้เป็นที่ยุติก่อนที่จะมีการนำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เพื่อป้องกันมิให้กฎหมายที่มีข้อสงสัยความด่างพร้อยว่าจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ได้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมให้เป็นที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท
สมาชิกสนช.จึงควรดำเนินการให้กฎหมายฉบับนี้หมดข้อสงสัย หมดข้อกังวล เพื่อไม่เป็นภาระที่ไม่สมควรต่อองค์พระมหากษัตริย์ในการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |