PTT - GPSC ร่วมมือรุกตลาดพลังงานหมุนเวียนต่างประเทศเต็มสูบ


เพิ่มเพื่อน    

 

19 พ.ย. 63   นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท. ได้มีมติอนุมัติการซื้อหุ้นบริษัท โกลบอล รีนิวเอเบิล เพาเวอร์ จำกัด หรือ GRP (บริษัทย่อยที่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC ถือหุ้น 100%) จาก GPSC จำนวนประมาณ 4.655 ล้านหุ้น คิดเป็น 50% ของทุนจดทะเบียน โดยดำเนินการผ่านบริษัทย่อยของ ปตท. คือ บริษัท ปตท. โกลบอล แมนเนจเม้นท์ จำกัด หรือ PTTGM  มูลค่ารายการรวมทั้งสิ้นประมาณ 693 ล้านบาท โดยการร่วมทุนดังกล่าวเป็นอีกก้าวของการยกระดับความร่วมมือตามกลยุทธ์ Powering Thailand’s Transformation  ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้เสีย และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างบริษัทในกลุ่ม ปตท. รวมถึงสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของกลุ่ม ปตท. ในการเป็นผู้นำในด้านธุรกิจพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาด อีกทั้งเพื่อให้กลุ่ม ปตท. บรรลุเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็น 8,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 และเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนของกลุ่ม ปตท. ในอนาคต นับเป็นการรวบรวมบุคลากรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านพลังงานหมุนเวียน จากทั้ง ปตท. และ GPSC มาดำเนินงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ รวมไปถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืนร่วมกันต่อไป  

นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท  โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (GPSC) กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นเป้าหมายในการขับเคลื่อนธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน ที่จะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ และโอกาสในการขยายโครงการใหม่ๆ ในระดับสากล รวมทั้งส่งผลให้ GPSC สามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเงินทุนเพื่อใช้ลงทุนในโครงการต่าง ๆ ตามเป้าหมายการเติบโตของบริษัท ที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหลัก และพลังงานหมุนเวียนทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้ง GPSC ยังคงเป็นแกนนำนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่ยั่งยืนของของกลุ่ม ปตท. โดยปัจจุบัน GRP ลงทุนในธุรกิจผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และดำเนินธุรกิจบริหารและการบำรุงโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์ม (Solar Farm) จำนวน  9 โครงการ ตั้งอยู่ในพื้นที่ จังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร และ ขอนแก่น มีกำลังการผลิต 39.5 เมกะวัตต์ โดยมีสัญญาการซื้อขายไฟเป็นระยะเวลา 25 ปี แบ่งเป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า หรือ Adder ในอัตรา 8 บาทต่อหน่วย (สำหรับช่วง 10 ปีแรกของสัญญา) ในสัดส่วน 3.6 เมกะวัตต์ และ สัญญาในรูปแบบ Feed-in Tariff หรือ FiT อัตรา 5.66 บาทต่อหน่วย ในสัดส่วน 35.9 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าทั้งหมดมีการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ไปแล้วตั้งแต่ปี 2557 – 2558
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"