สว.วันชัย ปลอบเครือข่ายไอลอว์ อย่าวิตกกังวลเกินไป ปชช.ยังมีส่วนร่วมแก้รธน.


เพิ่มเพื่อน    

19 พ.ย.63 - นายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กดังนี้

ผ่านไปแล้วกับการตั้งส.ส.ร.เพื่อมาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ ตรงไหนที่เห็นว่าไม่ดี มีข้อบกพร่องต้องแก้ไขก็จะได้เริ่มกันต่อไป เป็นอำนาจของประชาชนผ่านส.ส.ร.ที่จะมาทำเรื่องนี้ แต่ยังมีขั้นตอนทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินการก่อนอีกพอสมควร เช่น กรรมาธิการที่ตั้งโดยรัฐสภาจะต้องไปทำการศึกษาหาข้อยุติ ถกแถลงความเห็นและการแปรญัตติของสมาชิกรัฐสภา ทำให้กระบวนการและวิธีการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาให้ดีที่สุด เป็นที่พอใจของประชาชนให้มากที่สุด คงใช้เวลาสัก 60-90 วัน เมื่อผ่านวาระ 2 และวาระ 3 แล้ว ก็คงเป็นขั้นตอนการลงประชามติ และเมื่อผ่านความเห็นจากประชาชนแล้วก็นำขึ้นทูลเกล้าฯ เมื่อโปรดเกล้าฯลงมา จากนั้นจึงจะเป็นขั้นตอนเลือกส.ส.ร. นี่แหละคือตัวแทนของประชาชนที่จะมาทำกันต่อไป ข้อโต้แย้งเรื่องรัฐธรรมนูญก็น่าจะจบไปได้ด้วยกระบวนการดังกล่าว

แม้ร่างของไอลอว์(ilaw)จะตกไปก็ไม่น่าจะมีอะไรที่ภาคประชาชนจะวิตกกังวลเกินไป เพราะในขั้นตอนของกรรมาธิการก็ดี หรือขั้นตอนการยกร่างในชั้นส.ส.ร.ก็ดี หรือชั้นในการทำประชามติก็ดี ภาคประชาชนยังมีสิทธิ์เสนอประเด็นการแก้ไขได้อีกหลายขั้นตอนเยอะแยะมากมาย และเชื่อว่าแต่ละชั้นทุกขั้นตอนต้องฟังเสียงของประชาชนเป็นสำคัญ เสียงของไอลอว์(ilaw)ก็จะมีบทบาทในการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยอย่างยิ่ง  อย่าไปคิดว่าสมาชิกรัฐสภาเทข้อเรียกร้องของภาคประชาชน ได้สองร่างนี้ก็ถือว่าได้กันทุกฝ่ายแล้ว ประเทศนี้ต้องประนีประนอมกันบ้าง

เรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็ไปได้แล้วเปลาะหนึ่ง ส่วนเรื่องอื่นๆซึ่งเป็นประเด็นเป็นปัญหาข้อเรียกร้องก็ต้องว่ากันต่อไป ใครจะอยู่หรือจะไปก็น่าจะเป็นเรื่องของแต่ละคนแต่ละอำนาจหน้าที่ แต่เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญได้เดินมาแล้วถึงจุดนี้ ส่วนตัวผมในฐานะสมาชิกรัฐสภาคนหนึ่ง ได้ผลักดันต่อเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้มาอย่างเต็มที่และก็ได้ผลอย่างที่ปรากฏ เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันหาทางออกให้กับประเทศ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"