ในช่วงที่บ้านเมืองกำลังโฟกัสไปที่เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในมุมของเศรษฐกิจก็มีเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้น นั่นก็คือ การลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ อาร์เซ็ป (RCEP) ซึ่งถือเป็นสนธิสัญญาการค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม พร้อมด้วยคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้
โดยอิทธิพลทางการค้าของ RCEP ที่เกิดขึ้นจะครองสัดส่วนราว 31% ของจีดีพีโลก และขนาดตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนประชากรถึง 2,300 ล้านคน
ความร่วมมือในครั้งนี้ก็ถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าของประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม ซึ่งแต่ละประเทศจะได้รับประโยชน์ และเสียประโยชน์ที่แตกต่างกัน
จากมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ความตกลงในครั้งนี้จะเป็นแค่ส่วนเสริมข้อตกลงอาเซียน จะมี FTA กับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสินค้าไทยที่ได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลง RCEP นี้มีไม่มาก เพราะส่วนใหญ่เปิดเสรีการค้าไปแล้ว แต่การเคลื่อนย้ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่อยู่ในเครือข่ายห่วงโซ่การผลิตของนักลงทุนน่าจะทำให้ไทยได้อานิสงส์เพิ่มเติม
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า RCEP เป็นความตกลงที่เปิดกว้างที่สุดและมีมาตรฐานด้านต่างๆ สูงที่สุดเท่าที่ไทยเคยมีมา ทั้งในแง่ของเป้าหมายการลดภาษีสินค้าสูงที่สุดถึง 99% ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด นับว่าสร้างโอกาสให้สินค้าไทยทำตลาดได้มากขึ้นจากความตกลงเดิมที่มีอยู่ โดยปัจจุบันไทยส่งออกไปตลาดนี้มีมูลค่า 9.18 หมื่นล้านดอลลาร์ (ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2563) คิดเป็น 53.1% ของการส่งออกไทยไปตลาดโลก
นอกจากนี้ RCEP ยังเป็นความตกลงที่มีมาตรการฐานการเจรจาที่สูงกว่าความตกลงใดๆ ที่ไทยเคยมี อันจะช่วยยกระดับการผลิตและการส่งออกของไทยไปสู่มาตรฐานของความตกลงในรูปแบบพหุภาคีในระดับที่สูงขึ้น โดย RCEP มีการเจรจาครอบคลุมในเกือบทุกเรื่อง (ยกเว้นด้านแรงงาน สิ่งทอและประเด็นด้านรัฐวิสาหกิจ) ซึ่งการเกิดขึ้นของ RCEP ช่วยสร้างสมดุลการค้าและการลงทุนในสองฟากฝั่งของโลก โดยเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของชาติเอเชียที่มีจีนเป็นแกนนำความตกลงเพื่อให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทมากขึ้นในเวทีโลก คานอิทธิพลชาติตะวันตกที่มีต่อประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศในอาเซียน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า RCEP จะกลายเป็นกลุ่มการค้าที่มีห่วงโซ่การผลิตเหนียวแน่น เอื้อประโยชน์ต่อการผลิตและการค้าในซีกโลกตะวันออก ด้วยจุดเด่นของกฎแหล่งกำเนิดสินค้าที่เป็นหนึ่งเดียวกันและมีความยืดหยุ่นมากกว่าความตกลง FTA ระหว่างอาเซียนกับประเทศในกลุ่ม Plus 5
"ในระยะข้างหน้าไทยจะได้รับอานิสงส์ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้น โดยผลทางตรงจะมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้าระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก RCEP ขณะที่ผลทางอ้อมจะมาจากการที่ประเทศ Plus 5 จะลดกำแพงภาษีระหว่างกันเป็นครั้งแรก ซึ่งการเกิดขึ้นของ RCEP จะยิ่งทำให้ไทยยังคงเป็นตัวเลือกหลักของฐานการผลิตที่สำคัญในฝั่งเอเชีย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ไทยยังคงมีความได้เปรียบในด้านการผลิตและส่งออก อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์"
ทางด้านกระทรวงพาณิชย์นำโดย “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ระบุว่า แม้ว่ารัฐบาลไทยลงนามเข้าร่วม RCEP แล้วในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2563 ที่ผ่านมาแล้ว แต่ยังไม่ได้มีผลบังคับใช้ทันที เพราะต้องมีการให้สัตยาบันระหว่างสมาชิก 15 ประเทศก่อน
สำหรับกระบวนการขั้นตอนการให้สัตยาบันของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศจะกำหนดไว้ สำหรับประเทศไทยนั้นจะต้องไปขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบจึงจะดำเนินการแจ้งให้เลขาธิการอาร์เซ็ปรับทราบว่าเราให้สัตยาบันแล้ว ซึ่งจะต้องพิจารณาในที่ประชุมรัฐสภาในช่วงทันสมัยประชุมนี้ ซึ่งมีระยะเวลา 4 เดือน (พ.ย.2563-ก.พ.2564) ถ้าเสร็จทันจะรีบแจ้งให้สำนักเลขาธิการอาร์เซ็ปรับทราบ”.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |