3 พ.ค.61 - ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) นายศรีสุวรรณ จรรยา พร้อมด้วยสมบัติ สมแสง เกษตรกรจังหวัดพิษณุโลก และตัวแทนผู้เสียรวม 50 คนจากทั่วประเทศ เข้ายื่นหนังสือต่ออธิบดีดีเอสไอโดยมี พ.ต.จรัล แสงหิรัญ รองผู้อำนวยการกองคดีพิเศษ หลังถูกบริษัท พีพี. เท็นกรุ๊ป จำกัด โฆษณาชักชวนให้เกษตรกรจำนวนมากให้เข้าร่วมโครงการเพาะปลูกมันเทศญี่ปุ่นเพื่อผลิตยอดพันธุ์ขายให้กับทางบริษัท ซึ่งกำหนดให้มีตัวแทนเกษตรกรหรือผู้นำกลุ่มขึ้นมาเพื่อชักชวนสมาชิกเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการ โดยมีค่าตอบแทนให้ผู้นำและลูกทีม โดยอ้างว่าเป็นการช่วยปลดหนี้ให้เกษตรกรเพื่อเป็นสิ่งล่อใจทำให้เกษตรกรเชื่อถือและทยอยเข้าร่วมโครงการหลายร้อยคน โดยเป็นเกษตรกรในพื้นที่มากกว่า 25 จังหวัด อาทิ จ.นครราชสีมา พิษณุโลก ชัยภูมิ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ มหาสารคาม เลย อุดรธานี หนองคาย สกลนคร เชียงใหม่ ลพบุรี ขอนแก่น อุทัยธานี สุพรรณบุรี สุโขทัย สระบุรี กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ สระแก้ว นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ปราจีนบุรี พิจิตร และร้อยเอ็ด
นอกจากนี้ น.ส.พบพร พิภพโยพิณกุล ผู้จัดการของบริษัทฯ และนายธนกฤต ผันสำโรง ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมการตลาด ได้ลงพื้นที่เพื่อชักชวน และทำการจัดอบรมให้ความรู้การปลูกมันเทศญี่ปุ่น เพื่อเอายอดพันธุ์ส่งขายให้กับบริษัทฯ โดยจะต้องจะทำหนังสือข้อตกลงซื้อยอดพันธุ์กับทางบริษัทฯเท่านั้นในราคายอดละ 10 บาท อย่างไรก็ตามเมื่อแตกยอดเก็บเกี่ยวก็สามารถตัดยอดส่งบริษัทฯได้ โดยบริษัทอ้างว่าจะรับซื้อคืนทุกยอดหากมีความสมบูรณ์และมีความยาว 30 เซนติเมตร และจะรับซื้อตามที่ตกลงราคากันไว้ยอดละ 4.50 บาท และจะนำรถไปรับผลผลิตของเกษตรกรถึงแปลง
อย่างไรก็ตามเมื่อเกษตรกรเพาะปลูกตามที่บริษัทต้องการ ทางบริษัทฯกลับแจ้งว่าให้เกษตรกรนำผลผลิตมาส่งเองยังบริษัทฯ โดยจะจ่ายค่าเดินทางให้ ซึ่งเมื่อเกษตรกรนำผลผลิตมาส่งบริษัทฯ แต่กลับไม่ได้ค่าเดินทางตามที่อ้างไว้ตั้งแต่แรก อีกทั้งเมื่อไปสอบถามบริษัทฯก็กลับแจ้งว่าผลผลิตเกษตรกรเน่าเสียหายความยาวยอดไม่ถึงเกณฑ์กว่า 50เปอร์เซ็นต์ จึงไม่สามารถจ่ายค่ายอดให้เกษตรกรได้ ทำให้ต้องตัดจำนวนยอดหรือจำนวนนำส่งออก และค่าน้ำมันจะให้เพียงกิโลเมตรละ 1 บาท จึงทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก เมื่อเกษตรกรรวมตัวเรียกร้องให้บริษัทฯชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว แต่บริษัทฯชี้แจงว่าจะโอนให้ภายหลัง โดยกำหนดนัดวันให้ แต่เมื่อถึงเวลากลับไม่โอนเงินให้ และไม่รับสายโทรศัพท์เมื่อเกษตรกรโทรถาม
นายสมบัติ กล่าวว่า บริษัทดังกล่าวได้มีการชักชวนเกษตรกรในพื้นที่ซึ่งต้องการปลูกมันเทศญี่ปุ่นด้วยการสร้างแรงจูงใจว่าหากปลูกประมาณ 40-50 ไร่ ก็จะมีการดาวน์รถยนต์ให้พร้อมส่งค่างวดรถยนต์ให้ด้วยเช่น ตนจึงเป็นคนช่วยประสานเกษตรกรในจังหวัดกับบริษัทดังกล่าว และช่วยหายอดปลูกเพิ่มให้กับบริษัทด้วย โดยตนและกลุ่มเกษตรกรมีการปลูกรวมกัน 30 กว่าไร่ ทำให้บริษัทพาตนไปดาวน์รถยนต์และใช้ชื่อตนเป็นคนซื้อ จากนั้นมีการส่งยอดปลูกได้ประมาณ 2 รอบ พบว่าการเงินเริ่มไม่มั่นคง เพราะส่งยอดปลูกให้กับบริษัทแล้วแต่ได้รับเงินช้า กระทั่งไม่มีเงินส่งค่างวดรถยนต์เลยต้องไปกู้เงินจากคนรู้จักมาส่งก่อนเบื้องต้น ล่าสุดจ่ายค่างวดรถยนต์มาเป็นเวลา 6เดือนแล้ว
"ต่อมา บริษัทดังกล่าวบอกว่าจะนำรถยนต์ไปมอบให้กับตัวแทนคนอื่นต่อ ซึ่งผมก็ยอมรับได้แต่ขอเงินที่ส่งค่ารถยนต์ทั้งหมดที่ผ่านมาคืนทั้งหมดประมาณ 150,000 บาท โดยตอนแรกบริษัทก็รับปากจะคืนให้ จนมาช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัทนัดขอรถยนต์คืนเพื่อนำไปให้ตัวแทนท่านอื่นและจะเอากลับคืนไปฟรีๆเพราะอ้างว่าผมไม่ส่งต่อเอง จนกระทั่งขณะนี้ไม่มีการติดต่อกลับมาแต่อย่างใด ผมเห็นความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง เช่น เกษตรกรบางคนได้เงินช้าบ้าง ขาดทุนบ้างหรือได้เพียงแค่เงินต้นทุนคืนเท่านั้น"นายสมบัติกล่าว
นายนภดล พูลศรีแก้วอุดม ชาว อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา หนี่งในผุ้เสียหายที่เข้าร่วมลงทุนปลูกมันเทศญี่ปุ่น กล่าวว่าตนได้ร่วมโครงการปลูกมันเทศญี่ป่น โดยปลูกจำนวน 1 ไร่และต้องชื้อยอดมันจากทางบริษัทจำนวน 4,000 ยอด และต้องชื้อยอดจากทางบริษัทจัดหาให้ราคายอดละ 10 บาทและใช้เวลาปลูก 45 วันสามารถตัดยอดได้ ซึ่งทางบริษัทจะรับชื้อคึนยอดละ 4.50 บาท การลงทุนในครั้งนี้ได้ลงทุนไป 80,000 บาท เมือยอดมันครบกำหนด 45 วัน ได้ทำการตัดยอดมันไปขายให้กับทางบริษัท รวมเป็นเงินที่นำยอดมันไปขายจำนวน 160,000 บาท แต่ทางบริษัทจ่ายค่ายอดมันในงวดแรกแค่ 30,000 บาท ที่เหลือจะจ่ายให้ภายหลัง เมื่อไปทวงถามเงินที่ค้าง กลับได้รับการบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |