"จุฬาฯ"มั่นใจวัคซีน"CU-COV19"ได้ผลไม่ต่างไฟเซอร์   คาดทดลอง2เฟสเริ่มเม.ย-ปีหน้า หาโด๊สฉีดที่เหมาะกับคนไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

18 พ.ย.63-"หมอเกียรติ"เผยวัคซีนโควิดของจุฬาฯ ที่ใช้ขื่อว่า "จุฬาฯ COV19" เริ่มทดลองในคนระยะแรกเดือนเม.ย.64 และจบเฟส 2 เดือนส.ค.เป้าหลักหาโด๊สฉีดที่เหมาะสมกับคนไทย คาดไม่มีการทดลองเฟส 3  มั่นใจได้ผลไม่ต่ำกว่า ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา   เพราะใช้เทคนิคmRNA  เหมือนกัน  หลังจากนั้น จะฉีดให้อีกหมื่นคน ถ้าปลอดภัย จะขยายไปเป็นระดับล้านคน ไม่กลัวเรื่องการกลายพันธุ์  เชื่อเทคโนโลยีที่มีในโลกสามารถจัดการได้ 
 


นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ. พัฒนาวัคซีนโควิด 19  คณะแพทยศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ"โควิดมาราโอน:ห่างกันไว้ แต่ไปด้วยกัน "ที่จัดขึ้นโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP ) เกี่ยวกับความคืบหน้าการผลิตวัคซีน  ของจุฬาว่า  ตัววัคซีนนั้นจะผลิตออกมาในเดือนม.ค.-ก.พ. 2564 ในชื่อการวิจัยว่า "จุฬา Cov 19" หลังจากนั้นจะเริ่มทดลองในมนุษย์ระยะที่ 1   และคาดว่าจะรู้ผลการทดลองในราวกลางเดือนมิ.ย.   และจะเริ่มทดลองระยะที่สอง ซึ่งกระบวนการทดลองในคน ทั้งสองระยะคาดว่าจะจบในเดือนสิงหาคม 2564    และอาจจะไม่มีการทดลองในระยะที่สาม  เป็นการข้ามขั้นตอนนี้ไปเลย  เนื่องจาก แนวทางการทดลองของเราเป็นเทคโนโลยีเดียว กับ ที่ทางบริษัท ไฟเซอร์ และโดเดอร์นาใช้ เทคนิค mRNA   รวมทั้ง ผลการทดสอบวัคซีนที่ จุฬาฯทำวิจัย ก็ได้ภูมิคุ้มกันระดับสูง ไม่ต่างจากสองบริษัท  ซึ่งปกติแล้ววัคซีนป้องกันโรคทางเดินหายใจจะมีประสิทธิถภาพระดับสูงๆ เป็นสิ่งที่ยากมาก เช่น วัคซีนไช้หวัดใหญ่บางปีได้ผลแค่ 30% แต่วัคซีนที่สองบริษัทผลิต ได้ผลระดับ 90% ขึ้นไป จึงค่อนข้างมีความมั่นใจในแนวทางวัคซีนที่วิจัยว่าจะให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน  

นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า สำหรับการทดลอง จะมีอาสาสมัคร 12 คนต่อกลุ่ม แบ่งเป็นกลุ่มอายุน้อย 18-55ปี และกลุ่มสูงอายุ 75ปีขึ้นไป รวมทั้งหมด 72 คน ระยะแรกการทดลองจะต้องหาโด๊สฉีดที่เหมาะสมกับคนไทย ซึ่งเราได้เรียนรู้จากสองบริษัท ว่าต้องฉีดวัคซีนเท่าไหร่  บริษัท ไฟเซอร์ ใช้ขนาดโด๊สประมาณ 20-30โมโครกรัม/โด๊ส  แต่โมเดอร์นาใช้ประมาณ 100 ไมโครกรัมต่อโด๊ส ซึ่งหากเราสามารถฉีดวัคซีนได้ในขนาดเดียวกับไฟเซอร์ ก็จะช่วยประหยัดวัคซีนไปได้ เช่น ถ้าเราผลิตวัคซีค 10 ล้านโด๊ส ก็จะสามารถฉีดให้คนไทยได้ประมาณ 30 ล้านคนเป็นต้น 


"ถ้าทดสอลเฟส 1 เฟส 2 เสร็จแล้วผลออกมาปลอดภัย รู้โด๊สคนไทยควรฉีดที่เท่าไหร่ ถ้าปรากฎว่ามีภูมิสูงเท่ากับของไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา เราก็หวังว่าจะไม่ต้องทดลองระยเที่ 3  อาจขยายผลโครงการไปทดลองฉีดให้กับคนเป็นหมื่นไปเลย แล้่วดูความปลอดภัย ถ้าปลอดภัย ก็อาจขยายเป็นฉีดให้เป็นล้านคน  เพราทั้งโลกตอนนี้ การขึ้นทะเบียนวัคซีน หรือยา ถือว่าอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ปกติจะต้องรอดูผลความปลอดภัยอย่างน้อย ปีหนึ่งหรือปีครึ่ง แต่ต้อนนี้มันไม่ทันแล้ว  แต่ถ้าฉีด 2เข็ม สองเดือน ถ้าปลอดภัย ก็คงต้องให้ผ่าน" นพ.เกียรติกล่าว
     
 ในแง่ประสิทธิภาพของวัคซีนว่าจะสามารถครอบคลุมเชื้อที่โควิดที่กลายพันธุ์ได้หรือไม่  นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า เป็นที่รู้กันว่าในช่วง 10-11 เดือนมานี้ โควิด มีการกลายพันธุ์มาตลอด แต่มันไม่ดุร้ายขึ้น แต่ทำให้การแพร่กระจายติดเชื้อง่ายขึ้น  แต่เชื่อว่าเทคโนโลยีที่มีในโลกนี้จะรับมือได้  แต่ละปีผ่านไป จะมีการดื้อวัคซีน เช่น เดียวกัย วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่ต้องพัฒนาวัคซีนทุกปี เพราะเชื้อมีการกลายพันธุ์ตลอด  เช่นเดียวกับโควิด คงไม่ยากเท่าไหร่  แต่สิ่งที่เราต้องติดตามคือ วัคซีนสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้นานแค่ไหน ปีหนึ่ง หรือสองปี เช่น วัคซีนตับอักเสบบี ฉีด 3เข็ม ป้องกันได้ 30ปี  


"ปกติแล้ว คนเรามีวัคซีนภูมิคุ้มกันธรรมชาติ เราต้องมีการตอบโต้ กับเชื้อโรคใหม่ ตลอดเวลา ถ้าฉีดแล้วภูมิสูงตลอดผิดธรรมชาติแล้ว  ในคนที่เคยเป็นโควิดแล้ว  ใน1-2 สัปดาห์ ภูมิคุ้มกันต้องตก แต่ว่าร่างกายมันมีหน่วยความจำ อยู่ถ้าเจอเชื้อ เหมือนทหาร ก็จะลุกขึ้นมาต่อต้านข้าศึก ซึ่งผมคิดว่าวัคซีนทุกยี่ห้อ ในที่สุดภูมิต้องตก แต่จะตกมากน้อยแค่ไหน  1 เดือน 6 เดือน หรือ 1ปี เป็นสิ่งที่เรายังไม่รู้ ต้องติดตามดูข้อมูลต่อไปเป็นปี"  นพ.เกียรติกล่าว 


ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ  กล่าวว่า  ถ้าเราได้วัคซีนมาแล้ว ซึ่งไทยมีการจองเบื้องต้น ก็คาดว่าจะฉีดให้คนไทยได้ประมาณ  50% ในปี 64 ส่วนจะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ขึ้นกับราคาวัคซีน และการจัดหาวัคซีนว่าหาได้มากน้อยแค่ไหน  อย่างไรก็ตาม สำหรับการวิจัยของสองบริษัท ที่วิจัยได้ผลกว่า 90% เป็นเรื่้องที่ยังไม่ควรดีใจ เพราะสถานการณ์โควิดตอนนี้ ยังเหมือนกับการวิ่งมาราโอน อย่างน้อยต้องรอดูอีก 6เดือน ว่าภูมิคุ้มกันเหลือเท่าไหร่ ถ้าเหลือ 60% แล้วอีก1ปีจะเหลือเท่าไหร่ เป็นเรื่องที่ต้องติดตามดู สำหรับประเทศไทย เราต้องพยายามพึ่งพาตัวเอง การรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีก็เพื่อให้เราสามารถสร้างความมั่นคงทางวัคซีนได้ ซึ่งช่วงโควิดระบาดใหม่ๆ เราขาดแคลนทั้งหน้ากากอนามัยและชุด PPE  นับเป็นบทเรียนสำคัญให้เราต้องสร้างศักยภาพด้านวัคซีน เพราะในอนาคตถ้ามีโรคระบดาดใหญ่เกิดขึ้นอีก เหตุการณ์เดียวกับโควิด วนมาอีก เราก็จะต้องสามารถรับมือได้ดีกว่าที่ผ่านมา  
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"