ทราบหรือไม่ การที่คุณทำงานหนักหรือเครียดเกินไปจะทำให้คุณมีภัยเงียบที่ร้ายกาจตามมาโดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัว ซึ่งภัยเงียบเหล่านั้นก็คือ โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรม โรคเครียด โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นต้น
คุณหมอจากโรงพยาบาลรามคำแหงระบุว่า เครียดลงกระเพาะก็เป็นอีกโรคยอดนิยมของคนวัยทำงาน หรือมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย ซึ่งโรคเครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา (ไม่มีแผลที่กระเพาะอาหาร) แต่เป็นการสั่งการของสมอง ยิ่งเครียดก็ยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะเกิดการบิดตัว และหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ ทำให้เมือกในกระเพาะอาหารเสียสมดุลและเกิดการระคายเคืองในช่องท้องได้
"เวลาเครียดลงกระเพาะเมื่อไหร่ บางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หายใจเร็ว ขนลุก อยากอาหารมากกว่าปกติ คลื่นไส้ รู้สึกหงุดหงิด หรือนอนไม่หลับ ถ้าใครมีอาการดังกล่าวนอกจากปวดท้องเวลาเครียดล่ะก็ สันนิษฐานได้เลย ว่าคุณเข้าสู่ลัทธิเครียดลงกระเพาะไปครึ่งก้าวแล้ว" คุณหมอกล่าว และกล่าวต่อว่า
แต่ข่าวดีของโรคนี้ก็คือ โรคเครียดลงกระเพาะสามารถรักษาให้หายขาดได้ วิธีการก็พื้นๆ เลย ตามที่เราเคยได้ยินกันมาตลอด ทั้งการกินอาหารให้เป็นเวลาครบ 3 มื้อ เลี่ยงอาหารรสจัด ย่อยยาก อาหารหมักดอง ของมัน ของทอด ไม่สูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ต่างๆ
ทั้งนี้เรื่องการควบคุมการกินถือเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ความจริงส่วนที่ทำยากที่สุดในการรักษาโรคนี้ คือการรับมือกับความเครียด ซึ่งการผ่อนคลายความเครียดในแต่ละคนก็อาจแตกต่างกันไป บางคนก็เล่นเกม บางคนออกกำลังกาย บางคนก็ท่องเที่ยว บางคนเล่นกับสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงการช็อปปิ้งก็สามารถช่วยลดความเครียดได้ด้วย แต่การช็อปปิ้งต้องระวังนิด บางทีช็อปเสร็จเห็นยอดบัตรเครดิตสิ้นเดือนอาจเครียดกว่าเก่าได้ด้วย
"ซึ่งหากควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้ ไม่ว่าจะเป็นการทานอาหาร และการควบคุมความเครียดที่บอกไปข้างบนทั้งหมด ก็จะสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นหรือหายขาดจากโรคเครียดลงกระเพาะได้เลยโดยไม่ต้องมาหาหมอเลยด้วยซ้ำ แต่หากลองปฏิบัติตัวตามที่แนะนำแล้วยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์" คุณหมอกล่าวสรุป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |