17 พ.ย.63 - เวลา 15.30 น. ที่ประชุมร่วมรัฐสภา ได้เข้าสู่การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับไอลอว์ โดยนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้เชิญผู้แทนผู้ริเริ่มเสนอกฏหมาย เข้าสุ่ห้องประชุม โดยนายจอน อึ๊งภากรณ์ ผู้แทนของผู้ริเริ่มเสนอกฏหมาย กล่าวว่า ก่อนอื่นขอเรียนให้ทราบว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ร่างของไอลอว์ ตามที่ชอบเรียกกัน แต่เป็นร่างของประชาชนกว่าหนึ่งแสนคน ที่ร่วมกันลงชื่อภายในระยะเวลา 1 เดือนเท่านั้น โดยได้รับการรับรองทั้งหมด 9.8 หมื่นรายชื่อ ทำไมประชาชนจำนวนมากจึงกระตือรือร้นในร่างฉบับนี้ เพราะมาจากการปรึกษาหารือในหมู่ประชาชนที่ต้องการเห็นประเทศไทยเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และพวกเขา่เห็นปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ปัญหาใหญ่ คือ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกแบบเพื่อให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงอำนาจอยู่หลังจากการเลือกตั้งสส.
นายจอน กล่าวอีกว่า หลังจากที่คสช. ถืออำนาจมาห้าปีกว่าก็ยังมีการออกแบบรัฐธรรมนูญ ซึ่งเห็นได้ชัดในปัจจุบัน ว่าคนคสช.เป็นรัฐมนตรีหลายคน อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญนี้เขียนไว้เหมือนกับรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ถือเป็นการโกหก น่าจะเป็นโมฆะ เพราะประชาชนไม่มีกำหนดตั้งรัฐบาลและเลือกเป็นนายก เพราะมีองค์ประกอบส่วนอื่นที่ไม่ใช่มาจากประชาชนมากำหนด
นายจอน กล่าวต่อว่า ตอนแรกต้องการรณรงค์เรื่องรัฐธรรมนูญ ถอนพิษของเผด็จการออก แล้วเปิดโอกาสให้มีสสร. ที่จะร่างรัฐธรรมนูญต่อไป เราคุยกันไม่นาน และใช้เวลาไม่นานในการร่าง แต่ก็เกิดเหตุการณ์ประชาชนจำนวนมากออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยบนท้องถนน ทำให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไป คนรุ่นใหม่ทนไม่ได้ รอไม่ได้ เพราะอยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยโดยเร็ว ดังนั้น เราจึงนำร่างรัฐธรรมนูญของเรามาตั้งโต๊ะ ปรากฎว่ามีคนมาลงชื่อจำนวนมาก
“ผมจึงหวังว่าสมาชิกรัฐสภาจะให้ความสำคัญกับร่างฉบับของประชาชน ไม่ใช่ปฏิเสธตั้งแต่วาระแรก แต่ควรจะให้ข้อดีๆของร่างฉบับนี้เข้าไปพิจารณาร่วมกับร่างของพรรคการเมืองต่างๆ ที่สำคัญ ขณะนี้ถ้าประเทศไทยจะพ้นวิกฤติ ถ้าประเทศไทยจะมีพัฒนาการใกล้เคียงกับอารยประเทศได้ เราจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอย่างเร็วที่สุด และเชื่อว่าสมาชิกทั้งหลายทราบดีว่าประเทศไทยมีปัญหากับรัฐธรรมนูญ ถึงได้มีร่างแก้ไขมากมายจากสภานี้” นายจอน กล่าว
ด้าน นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้แทนผู้ริเริ่มเสนอกฎหมาย กล่าวว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของเรานั้น เรามีความฝัน 5 ข้อ ประกอบด้วย 1.เราฝันว่าจะมีการปกครองที่ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรีและผู้นำประเทศได้ อย่างน้อยด้วยการเลือกทางอ้อมผ่านสมาชิกรัฐสภาที่มาจากประชาชน 2.เราฝันว่าจะได้อยู่ในประเทศที่รัฐบาลโปร่งใสและถูกตรวจสอบได้ โดยมีองค์กรเข้ามาตรวจสอบโดยตรง ซึ่งมีที่มาเป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร 3.เราฝันว่าจะอยู่ในประเทศที่ประชาชนกำหนดอนาคตของตัวเอง ผู้สมัครเลือกตั้งต้องแถลงนโยบายว่าจะพาประเทศไปทางไหนและให้ประชาชนเลือก 4.เราฝันว่าจะอยู่ในประเทศที่กระบวนการยุติธรรมเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการยกเว้นความผิดให้กับใคร และ 5.เราฝันว่าจะอยู่ในกติกาสูงสุดที่รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่เขียนขึ้นโดยประชาชน โดยคนที่จะมาทำจะยึดโยงจากประชาชนทุกคนภายใต้บรรยากาศที่ปลอดภัย
"ความฝันเหล่านี้ของพวกเรายากเกินไปหรือไม่ครับ ข้อเสนอเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานมากซึ่งประเทศไทยก็เคยเป็นเช่นนั้นมาก่อน เชื่อว่าสมาชิกรัฐสภาต่างมีความฝันเหล่านี้เช่นกัน ไม่ใช่ข้อเรียกร้องสุดโต่ง รัฐธรรมนูญ 2560 เป็นอุปสรรคขัดขวางของพวกเราจึงต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ" นายยิ่งชีพ กล่าว
นายยิ่งชีพ กล่าวว่า การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะต้องดำเนินการโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 100% โดยสามารถหยิบทุกปัญหาในสังคมที่มีความขัดแย้งกัน โดยเฉพาะปัญหาที่อึดอัดจนต้องลงบนถนนมาพูดคุยกันในกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นทางออกเดียวที่จะทำให้เราได้กติกาใหม่ที่อยู่ร่วมกันได้และเป็นกติกาที่ใช้กันยาวๆ
"เราเพียงเรียกร้องให้แก้ไขความผิดปกติของระบอบการเมืองปัจจุบันให้กลับเป็นระบบการเมืองที่ปกติธรรมดาเท่านั้นเอง หากรัฐสภาลงมติรับหลักการก็จะเป็นโอกาสที่ดีในการพัฒนาประชาธิปไตยและทำให้ข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนถนนได้มีพื้นที่พูดคุยอย่างมีเหตุผล หากรัฐสภาไม่รับไว้พิจารณาในขั้นตอนต่อไป สมาชิกรัฐสภาจะต้องอธิบายต่อประชาชนนับแสนคนรวมทั้งประชาชนอีกหลายคนที่รอฟังคำอธิบายต่อไป" นายยิ่งชีพ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |