อดีตนายพลส้มหวานเตือนสติ'3นิ้ว'การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงถอนรากถอนโคนไม่เคยเกิดขึ้นหลังสงครามเย็น


เพิ่มเพื่อน    

17 พ.ย.63- พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ และอดีตรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่าสถานการณ์ปฏิวัติหรือเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนาดใหญ่ จากการวิจัยของนักทฤษฎีด้านความขัดแย้ง มักจะมาใน ๕ รูปแบบคือ

๑. แพ้สงคราม ดูได้จากการเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการทหาร ฟาสซิสต์หรือนาซีช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ รวมถึงการเปลี่ยนเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ของรัสเซีย และการเปลี่ยนเป็นระบอบชิงไห่ และคอมมิวนิสต์จีน ก็หลังแพ้สงครามทั้ง ๒ รอบ พวกเมืองขึ้นแบบเมียนมาร์หรืออินโดจีนก็แบบเดียวกัน รวมถึงสงครามในสมัยโบราณต่าง ๆ ที่กลายเป็นเมืองขึ้น แต่ระบอบอาจยังคงอยู่

๒. การลุกขึ้นของกบฎผีบุญทั้งหลาย เช่นโจรโพกผ้าเหลืองในจีนยุคก่อน หรือพวกบาร์บาเรียนชาวเยอรมันที่มีต่อโรมัน เป็นต้น การลุกขึ้นสู้นี้มีการติดอาวุธ มีชนะในประวัติศาสตร์ไม่มากนักเช่นโค่นต้าหมิงได้ดังกล่าวเป็นต้น ส่วนกบฎไต้เผิงจะกล่าวต่อไป

๓. การล่มจมของบ้านเมืองจากเหตุใหญ่ ๆ ในสมัยโบราณก็เกิดจากเป็นนครรัฐรวมศูนย์จนระบบน้ำ ชลประทานรองรับไม่ได้ก็แตกสลายไป ภัยธรรมชาติรุนแรงเช่นชายฝั่งเปลี่ยนไป เส้นทางน้ำเปลี่ยนไป ภัยแล้งติดต่อกันหลายปี อันนี้พบในปฏิวัติฝรั่งเศส และ ร่วมปัญหากับการปฏิวัติรัสเซียที่ทั้งสองที่คนอด ไม่มีกิน ในปฏิวัติฝรั่งเศสมีซ้ำเติมเรื่องภาระหนี้สินขนาดใหญ่จากการไปรบในอเมริกา จนรัฐมนตรีคลังทำอะไรไม่ได้ พวกชนชั้นสูงก็ไม่ยอมเสียสละด้วยเช่นกัน ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกรวมถึงไทยด้วย การเปลี่ยนแปลงการปกครองจึงเกิดขึ้นได้ หรือคิดว่าจำเป็นต้องเกิดก็ตามที สรุปแล้วข้อนี้ทั้งหมดคือเรื่องเศรษฐกิจและปากท้องที่ถึงขนาดอยู่ไม่ได้ จะอดตายกันแล้ว จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

๔. กองทัพหันไปสนับสนุนพวกปฏิวัติ ตัวอย่างนี้ค่อนข้างมาก เช่นการปฏิวัติชิงไห่ ถ้าไม่ได้หยวน ซื่อข่าย แปรพักตร์ (ซึ่งแน่ละเขาดูกระแสว่าต้าชิงไปรอดยากด้วยแหละ) ก็คงยากที่จะเอาชนะต้าชิงได้(กบฎไต้เผิง) อีกตัวอย่างคือการปฏิวัติในโปรตุเกสเป็นประชาธิปไตย รวมถึงในช่วงจบสงครามเย็นที่ผู้ปกครองหลายคนในยุโรปตะวันออกไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ ในบางกรณีอย่างโรมาเนียก็ยิงเสียชีวิตไปหลายหมื่นคนจนทหารเองทนไม่ไหวต้องหันมาไล่จับเชา เชสกู และภรรยาแทน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากกระแสสหภาพโซเวียตเลิกปกครองประเทศบริวารด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นยุคหลังม่านเหล็กจริง ๆ ชาวฮังการีและโปแลนด์โดนปราบกันไปไม่น้อย ในประเทศเนปาล จากการขัดแย้งกันภายในอย่างรุนแรง ทำให้กบฎลัทธิเหมาขึ้นมามีอำนาจได้ ส่วนหนึ่งก็เพราะทหารเช่นกัน แม้ว่าจนป่านนี้ผ่านมาสิบปีแล้วยังชิงอำนาจกันไม่จบ ก็เพราะกองกำลังติดอาวุธต่าง ๆ เหล่านี้เช่นกันเหมือนยุคขุนศึกในจีนนั่นเอง

๕. การแทรกแซงของมหาอำนาจ ซึ่งมีทั้งบวกและลบ คือเป็นทั้งเปลี่ยนตัว เปลี่ยนระบอบ หรือรักษาระบอบไว้ กรณีของไทยสมัยต้นอยุธยาราชวงศ์สุพรรณภูมิก็เอาชนะราชวงศ์อู่ทองได้เด็ดขาดก็มาจากการสนับสนุนของ ต้าหมิง กบฎไต้เผิงซึ่งเป็นผีบุญชาวคริสต์เสนอนโยบายความเสมอภาค และเสรีภาพ เป็นที่ถูกใจของชาวฮั่น ชาย หญิงเป็นขุนนางได้เท่าเทียมกัน ดูแล้วมหาอำนาจน่าจะสนับสนุนและมีการคุยกับอังกฤษไว้แล้ว แต่สุดท้ายอังกฤษกลับร่วมมือกับต้าชิงหันมาปราบกบฎแลกกับผลประโยชน์ โอกาสการเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐที่มีความเสมอภาคสูงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์จีนก็ยุติไป สำหรับในยุคใหม่นี้การปฏิวัติที่สำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อก็คือการปฏิวัติอิหร่าน แม้ว่าโดยรวมคนจะเกลียดพระเจ้าชาห์ และพระองค์เองก็จัดการอะไรได้แย่มาก พวกฝ่ายเสรีนิยมและซ้ายก็หันไปสนับสนุนรัฐอิสลามที่เป็นขวาจัดก็เพราะความเชื่อทางศาสนาซึ่งขัดกับแนวทางของรัฐสมัยนั้นที่นิยมตะวันตกออกหน้าออกตาจนมีปัญหาภายในประเทศ แต่สุดท้ายผลแตกหักก็เกิดจากการเดินทางลี้ภัยออกไปโดยการแนะนำของสหรัฐฯ ซึ่งคล้ายกับกรณีของฟิลิปปินส์ ของนายเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ก็ลักษณะเดียวกัน ในกรณีสหภาพโซเวียตเดิม เมื่อเข้มแข็งก็ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงด้วยการส่งกำลังเข้าไปบดขยี้ แต่หลังจากแพ้มูจาฮีดีนที่สหรัฐฯสนับสนุนอาวุธให้กลับไปแล้ว บวกกับการผลิตที่ล้มเหลว ขาดแคลนอาหารเพราะเงินใช้ไปในการสงครามมาก การแทรกแซงประเทศบริวารก็ไม่เกิดขึ้นอีก การแยกตัวหรือการปฏิวัติในประเทศบริวารจึงเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น

เงื่อนไขการปฏิวัติทั้ง ๕ ประการ บางครั้งมาเดี่ยว ๆ แต่ส่วนมากร่วมกัน ประกอบกับการที่ประชาชนไม่ต้องการให้ปกครอง และผู้ปกครองไม่มีความสามารถในการปกครองแล้ว เวลานั้นจะเกิดการปฏิวัติขึ้น

ในทางตรงกันข้าม หากผู้ปกครองเอาใจใส่ รับฟังปัญหา พยายามป้องกันเงื่อนไขต่าง ๆ ไม่ให้ขยายตัวไร้การจัดการ การปฏิวัติก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้

ลำพังการปฏิวัติโดยไม่มีกองกำลังของตนเอง หรือกองกำลังที่แปรพักตร์มาร่วมนั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้ จริงอยู่ คิวบาโดยฟิเดล คาสโตร และ เช กูวารา ใช้กำลังแค่ ๘๐ กว่าคนยึดประเทศได้ก็จริง แต่นั่นก็เพราะยังไงก็เป็นกองกำลังติดอาวุธ

ในยุคปัจจุบันหลังสงครามเย็นเงื่อนไขการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงอย่างถอนราก ถอนโคน ไม่เคยเกิดขึ้นอีกเลย นอกจากการเกิดสงครามเช่นในตะวันออกกลางหรืออาฟริกาเหนือ กลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธทั้งหลายก็ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติและสหประชาชาติ การจัดตั้งรัฐบาลจึงเกิดขึ้นไม่ได้

อาหรับสปริง สุดท้ายกลุ่มผู้มีอำนาจเดิมก็กลับมาแม้จะเปลี่ยนตัวผู้นำไปแล้วก็ตาม

ดังนั้นการปฏิรูปจึงเป็นแนวทางที่เป็นไปได้มากที่สุดเมื่อประเมินจากสิ่งแวดล้อมและขีดความสามารถต่าง ๆของรัฐในโลกปัจจุบันนี้ ซึ่งแตกต่างจากศตวรรษที่ ๒๐ ค่อนข้างมาก

การปฏิรูปที่มีผลจริงคือมีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างทางการเมืองในมิติต่าง ๆ ที่ทะยอยนำเสนอไปแล้ว ไม่ศึกษา การเปลี่ยนก็เป็นไปไม่ได้ การปฏิรูปที่จะเป็นไปได้คือความเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นทางออกร่วมกันของคนส่วนใหญ่โดยชนชั้นนำและชนชั้นกลางต้องเข้ามาร่วมอย่างแข็งขันด้วยจึงจะประสบความสำเร็จครับ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"