เช็กพลังม็อบคู่ขนานรัฐสภา ร้อนระอุศึก “รัฐธรรมนูญ”


เพิ่มเพื่อน    

 

    การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ 7 ฉบับ ที่มีขึ้นวันที่ 17-18 พ.ย.นี้ น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมืองที่หลายฝ่ายมองว่าอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่เปราะบาง เนื่องจากการชุมนุมของแนวร่วมกลุ่มราษฎร ประกาศกร้าวระดมพลรวมตัวกันเพื่อกดดันสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแบบค้างคืน

            นับแต่การชุมนุม MOB FES ที่มีกลุ่มต่างๆ ร่วมทำกิจกรรมต่างแสดงจุดยืนผลักดันสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์ หรือที่เรียกกันว่า รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แกนนำ-แกนนอน ต่างเชิญชวนผู้เข้าร่วมทำกิจกรรมที่ถนนราชดำเนินกลาง บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปปักหลักที่รัฐสภา เพื่อต่อสู้ให้ได้มาตามข้อเรียกร้อง 1 ใน 3 ข้อสำคัญ

            แม้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จะประเมินว่าจำนวนผู้เข้าร่วมลดลงทุกครั้ง และย้ายการแสดงออกกลับไปในโซเชียลมีเดีย แต่ก็ไม่อาจฟันธงว่าผู้ชุมนุมที่หน้ารัฐสภาจะมีจำนวนน้อยลงเหมือนที่ผ่านมาหรือไม่ เพราะเมื่อถึงจังหวะที่เข้าด้ายเข้าเข็ม กลุ่มผู้ชุมนุมมักจะมาแสดงพลังลงสู่ถนนเพิ่มขึ้นทุกครั้ง

            ในภาพรวมของการเคลื่อนไหวของพรรคการเมืองก่อนการประชุมรัฐสภา ฝ่ายค้าน โดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้พิจารณาต่อท่าทีในการลงมติต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ญัตติ ฝ่ายค้านมีฉันทานุมัติไปในทางเดียวกัน จะขอรวมญัตติร่างรัฐธรรมนูญของไอลอว์ เข้าร่วมด้วยในการพิจารณาต่อที่ประชุมร่วมสภาฯ พรรคร่วมฝ่ายค้านจะให้การสนับสนุนทั้ง 7 ญัตติ

“จากนี้จะให้แต่ละพรรคไปหารือที่ประชุมพรรคเพื่อกำหนดเป็นมติ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและบวกกับสถานการณ์อันตึงเครียด สมาชิกรัฐสภาควรต้องฟังเสียงของประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์ ก็เป็นร่างที่เสนอมาจากประชาชน ไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย ไม่ได้เป็นการขอเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งสามารถกระทำได้ตามอำนาจของสภาฯ” นายสมพงษ์ระบุ

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) โดย น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคพลังประชารัฐ แถลงภายหลังการประชุมว่า มติพรรคพลังประชารัฐยืนยันตามมติวิปรัฐบาล คือ รับหลักการในร่างที่ 1 ของนายสมพงษ์ อมรวิฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและคณะเป็นผู้เสนอ และร่างที่ 2 ของนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาลและคณะเป็นผู้เสนอ ส่วนร่างที่ 3-6 งดออกเสียง เพราะเนื้อหาครอบคลุมเหมือนกับร่างที่ 1 และ 2 แล้ว

“สำหรับร่างที่ 7 ของกลุ่มไอลอว์ จะขอฟังจากสมาชิกทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาล และ ส.ว. ก่อนจะตัดสินใจในการลงมติอีกครั้ง” โฆษกพรรคพลังประชารัฐระบุ

            ปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งปัจจัยนั้น คงไม่ได้เกิดจาก “ดีล” พิเศษทางการเมือง แต่น่าจะเป็นการขับเคลื่อนกิจกรรมของกลุ่มราษฎรที่มีจุดร่วมในเรื่องรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับเครือข่ายอื่นๆ โดยเฉพาะประชาชนในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากโครงสร้างอำนาจรัฐ โครงการรัฐ ที่ประกาศผลักดันร่างไอลอว์เช่นกัน

ล่าสุดยังมี “เครือข่าย People Go ที่จะไปสมทบปักหลักหน้ารัฐสภาเพื่อรอคอยจนกว่ารัฐสภาจะมีมติรับร่างประชาชน โดยเมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา มีตัวแทนเครือข่ายที่ร่วมแถลงประกอบด้วย นายนิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทนเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ น.ส.สุภาภรณ์ มาลัยลอย ตัวแทนเครือข่ายนักกฎหมายเพื่อสิทธิ น.ส.ชัชฎาภรณ์ ชินบุตร ตัวแทนเครือข่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชน เครือข่ายสลัม 4 ภาค นายจำนงค์ หนูพันธ์ เครือข่ายเพื่อสังคมเป็นธรรม หรือพีมูฟ น.ส.จุฑามาศ ศรีหัตถผดุงกิจ เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม

“การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องมาจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ประกอบด้วยผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจ รวมถึงผู้ที่มีความเห็นต่างทางการเมือง โดยปราศจกการแทรกแซงใดๆ จากรัฐบาล โดยที่สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องประกอบด้วยสมาชิสภาร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องมีอำนาจในการร่างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกหมวดทุกมาตราให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตย

สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องคำนึงถึงและมีช่องทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ รวมถึงต้องมีความโปร่งใสตรวจสอบได้และทำให้ทุกสถาบันในสังคมไทยไม่มีอำนาจอยู่เหนือรัฐธรรมนูญอีกต่อไป ด้วยแนวทางนี้เท่านั้นที่จะทำให้สังคมไทยกลับคืนสู่สันติสุข และทำให้สังคมและการเมืองไทยตอบสนองต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนให้วัฒนาถาวรสืบไป”

People GO ถือเป็นกลุ่มที่มีมวลชนจำนวนมาก ทั้งในเมืองและต่างจังหวัดที่เคยปักหลักชุมนุมกลางกรุงเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหามาแล้ว

            ยังไม่นับกลุ่มนักเรียนเลว กลุ่มเครือข่ายนักศึกษา อาชีวะ กลุ่มความหลากหลายทางเพศ ฯลฯ ที่ประกาศจุดยืนว่าจะมาเคลื่อนไหวหน้ารัฐสภาแบบสามัคคีชุมนุม

            ในฝ่ายตรงกันข้ามก็มีความเคลื่อนไหวเข้มข้นไม่แพ้กัน เช่น นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม หัวหน้ากลุ่มไทยภักดี ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก นัดรวมพลออกมาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื้อความระบุว่า นัดหมายรวมพลออกมาคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เวลา 09.00 น. บริเวณหน้ารัฐสภา ในวันเดียวกันแต่ต่างเวลา

            อย่างที่มีการวิเคราะห์ว่า การชุมนุมของเครือข่ายกลุ่ม “ราษฎร” แม้จะยึดหลักสันติและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับกลุ่มที่ออกมาปกป้องสถาบัน แต่ที่ผ่านมาม็อบที่ไม่มีแกนนำ และใช้ “แกนนอน” เป็นตัวขับเคลื่อนนั้น ทำให้ “การ์ด” มีบทบาทนำ ทำหน้าที่ในการจัดระเบียบ และเป็นด่านหน้าในการกดดันไปถึงจุดเป้าหมาย ขณะเดียวกันก็กลายเป็น “จุดอ่อน” ที่ฝ่ายรัฐนำไปโจมตีอยู่หลายครั้ง

            แต่ก็ปฏิเสธได้ยากว่า การชุมนุมจำเป็นต้องมี รปภ. จำนวนมากเพื่อรักษาความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุม ในเวลาที่เร่งรัดการรับสมัคร “การ์ดอาสา” จึงไม่ได้มีการฝึกอบรม แต่เป็นการประสานงานเบื้องต้น รับคำสั่งตอนอยู่หน้างาน โดยปัจจุบัน ปิยรัฐ จงเทพ หรือ “โตโต้” หัวหน้ามวลชนอาสา ในฐานะ ผบ. WeVo ที่ตอนนี้มีกำลังในการดูแลประมาณ 4 กองร้อย ต้องรับหน้าที่บริหารจัดการด้วยตัวเอง โดยในนี้มี “การ์ดอาชีวะ” ขาแรงที่พร้อมบวกเมื่อมีสถานการณ์ปะทะอยู่ในมือ

                ยังไม่นับกลุ่มไทยภักดี และแนวร่วมต้านม็อบราษฎร ที่ไม่ต้องการให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญแตะต้องหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเนื้อหาการโจมตีเบื้องหลัง “ไอลอว์” ที่มีต่างชาติหนุนหลัง ล้วนแข็งกร้าวไปด้วยการชูแนวคิด “รักชาติ รักสถาบัน”

ภาพรวมสถานการณ์คู่ขนานระหว่างการประชุมรัฐสภาจึงมีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุขี้นได้ หากสองฝ่ายควบคุมอารมณ์ของการ์ดและมวลชนไว้ไม่อยู่!!.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"