หนุนสถานศึกษาทุกระดับ เป็นมิตรกับผู้พิการ


เพิ่มเพื่อน    

วงเสวนาเนื่องในวันคนพิการแห่งชาติ ทวงคืน “พื้นผิวต่างสัมผัส” ให้ผู้พิการ ผอ.สถาบันคนตาบอด ชี้หากทำ Braille Block โดยไม่ดูแลจะเกิดโทษมากกว่าคุณ ด้านอาจารย์ภูมิสถาปัตยกรรม ม.ธรรมศาสตร์ ระบุ มหาวิทยาลัยที่ออกแบบสถานที่เป็นมิตรกับคนพิการ จะช่วยให้ผลการเรียนของนักศึกษาพิการดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 

โครงงานกฎหมาย วิชาหลักวิชาชีพนักกฎหมาย น.461 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ “ธรรมศาสตร์ + เบรลล์บล็อก = จุดเริ่มต้นของความเท่าเทียม” เนื่องในวันคนพิการแห่งชาติ 14 พ.ย. 2563 โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มธ. เปิดเผยว่า แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการจำนวนมากแต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่าสิทธิของคนพิการไม่ค่อยเกิดขึ้น การออกแบบต่างๆ จึงไม่ได้คำนึงถึงคนพิการ โดยเฉพาะทางเท้าที่แม้จะมีการทำพื้นผิวต่างสัมผัส (Braille Block) แต่ก็ไม่เกิดประโยชน์ มากไปกว่านั้นคือให้โทษแก่คนพิการเพราะไม่เคยมีการทดสอบด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย

ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้กำหนดหลักการ Inclusive Society หรือ Society for All คือการสร้างสังคมที่เอื้อสำหรับทุกคน โดยมีหัวใจอยู่ที่การเข้าถึง (access) กล่าวคือจะทำอย่างไรที่จะให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งต่างๆ ได้โดยสะดวก ซึ่งแน่นอนว่าผู้พิการถือเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญ เพราะเมื่อใดแล้วที่คนพิการสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆ ได้ นั่นเท่ากับว่าเกิด access for all ขึ้นจริง

“ในต่างประเทศนั้นหลายผลิตภัณฑ์มักมีการนำหลักการ for all มาเป็นจุดขาย เช่น iPhone ที่ออกแบบให้คนพิการสามารถใช้งานได้ หรือโรงแรม ที่มีอารยสถาปัตย์เอื้อให้ทุกคนใช้ประโยชน์ ดังนั้นจึงสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เตรียมจะจัดทำพื้นผิวต่างสัมผัสอย่างครอบคลุมเพื่อให้เป็นมหาวิทยาลัยสำหรับทุกคน ซึ่งสิ่งนี้ก็จะเป็นจุดขายได้ด้วย” ศ.วิริยะ กล่าว

นายกิติพงศ์ สุทธิ ผู้อำนวยการสถาบันคนตาบอดแห่งชาติเพื่อการวิจัยและพัฒนา กล่าวว่า การทำพื้นผิวต่างสัมผัสพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้พิการทางสายตาได้ แต่ประเทศไทยกลับไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้ เราจึงพบพ่อค้าแม่ค้าตั้งแผงขายของทับเส้นทาง รวมถึงพื้นผิวทางเท้าที่ชำรุด ไม่มีการซ่อมแซม จนทำให้ผู้พิการแยกไม่ออกว่าอะไรคือพื้นผิวต่างสัมผัส อะไรคือพื้นผิวทางเท้าที่ไม่สมบูรณ์

“หากมีการจัดการพื้นผิวต่างสัมผัสที่ดี ควบคุมดูแลให้ใช้งานได้จริง คุณภาพชีวิตของผู้พิการทางสายตาก็จะดีขึ้นมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับเป็นไปอย่างตรงข้าม นั่นทำให้เราถึงกับต้องออกมาคัดค้านการติดตั้งพื้นผิวต่างสัมผัสในช่วงหนึ่ง เพราะจะนำมาสู่อันตรายมากกว่าความปลอดภัย” นายกิติพงศ์ กล่าว

รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา และอาจารย์สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ มธ. กล่าวว่า มธ.จะเริ่มทำพื้นผิวต่างสัมผัสที่ศูนย์รังสิตก่อน ซึ่งจะเป็นการทดสอบและเรียนรู้ในลักษณะของ Guiding Block ว่าจะได้ผลดีหรือไม่ ขณะที่ท่าพระจันทร์จะทำแบบ Warning Block พร้อมกับที่ได้มีการตั้งศูนย์ศึกษาและออกแบบด้าน Universal Design เพื่อค้นคว้าและนำเสียงสะท้อนของนักศึกษามาปรับปรุง ทั้งหมดเพื่อนำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยของทุกคน

นอกจากเรื่องโครงสร้างและการออกแบบแล้ว ประเด็นการศึกษาก็สัมพันธ์โดยตรงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ โดยประเทศไทยมีผู้พิการอยู่ 3 ล้านคน ในจำนวนนี้เข้าถึงการศึกษาเพียงแค่ชั้นประถม 1.2 ล้านคน เข้าถึงชั้นมัธยม 1.6 แสนคน และมีเพียง 2.1 หมื่นคนเท่านั้นที่สำเร็จชั้นอุดมศึกษา นั่นสะท้อนอย่างชัดเจนว่าการศึกษาของผู้พิการในประเทศไทยยังไม่ดี จึงมีผู้พิการจำนวนมากที่เสียโอกาสที่จะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ 

“สาเหตุที่ทำให้การศึกษาของผู้พิการไม่ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่เอื้อให้เข้าถึงการศึกษา เช่น การไม่มีทางเท้า การไม่มีทางลาด การไม่มีลิฟต์ โดยในอดีตธรรมศาสตร์ได้ประเมินอาคารว่าเป็นมิตรกับผู้พิการหรือไม่ ผลคือทุกอาคารสอบตกหมด จากนั้นจึงมีการจัดงบประมาณเพื่อปรับปรุงสถานที่ในทุกปี เมื่อสถานที่เป็นมิตรในทุกมิตินักศึกษาพิการก็เข้าถึงการศึกษาได้ดีขึ้น สุดท้ายผลการเรียนก็ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ฉะนั้นคิดว่าสถานศึกษาทุกระดับจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย” รศ.ดร.ชุมเขต กล่าว

นายศุภณัฐ ลี้ภัยสมบูรณ์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มธ. ซึ่งเป็นผู้พิการทางการมองเห็น กล่าวว่า อยากให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งปรับปรุงอาคารและโครงสร้างต่างๆ ให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้พิการเหมือนกับที่ มธ.ทำ เช่น เลือกใช้ลิฟต์ที่มีอักษรเบรลล์ จัดทำทางต่างสัมผัส ปรับสภาพห้องเรียนให้มีทางลาดสำหรับวีลแชร์ ปรับสภาพหอพัก รวมถึงมีไฟล์สื่อการเรียนการสอนที่สามารถใช้โปรแกรมช่วยอ่านได้

“ผู้พิการมีความไม่สะดวกเรื่องการเดินทาง การสัญจร บางคนจำเป็นต้องมาอยู่หอพักใกล้สถานศึกษาแต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าเช่าราคาแพง ฉะนั้นจึงอยากเสนอให้มหาวิทยาลัย ภาครัฐ หรือภาคเอกชน ให้ความสำคัญกับสวัสดิการเรื่องนี้ เช่น การช่วยสนับสนุนค่าเช่าหอพัก ลดราคาหอพักสำหรับผู้พิการ ลดราคาค่ารถไฟฟ้า ซึ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาก” นายศุภณัฐ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"