'ปลูกป่า'ในสถานศึกษา พัฒนา 47 วิทยาลัยเกษตรแหล่งเรียนรู้ทฤษฎีใหม่


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

     วันนี้ ที่กระทรวงศึกษาธิการ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายภูมิสรรค์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรึกษาและประธานยุทธศาสตร์นโยบาย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานยุทธศาสตร์ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, ดร.ชาติชาย เกตุพรหม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด เปิดงานปลูกไม้ ปลูกชีวิต ปลุกจิตอนุรักษ์และพิธีปล่อยคาราวานแจกกล้าไม้ 47,000 กล้า เพื่อให้กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 4  ภาค คือ วิทยาลัยเกษตรฯ สังกัดภาคเหนือ วิทยาลัยเกษตรฯ สังกัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยเกษตรฯ สังกัดภาคกลาง และวิทยาลัยเกษตรฯ สังกัดภาคใต้ วิทยาลัยละ 1,000 กล้า   โดยร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์  ทั้งนี้ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ว่าจ้างวิสาหกิจชุมชนวนเกษตรเพื่อการพึ่งพากันเองบ้านห้วยหิน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา  เพาะชำกล้าไม้ที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปปลูกในพื้นที่สถานศึกษา

                ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวว่า คาราวานแจกกล้าไม้ 47,000 กล้า จะนำไปปลูกในพื้นที่วิทยาลัยเกษตรฯ 47 แห่ง  เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับแผ่นดินไทย และยกระดับให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางกระจายความรู้รักษาดิน น้ำ ป่า สร้างความเข้าใจ เกิดความตระหนักในความสำคัญ ร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ความหวังจะฟื้นฟูความสมบูรณ์ของป่าไม้ในไทยก็ไม่ไกลเกินเอื้อม เพราะนี่คือ ความมั่นคงทางอาหารที่จะส่งต่อให้คนรุ่นหลัง  สำหรับแนวคิด “ปลูกไม้ ปลูกชีวิต ปลุกจิตอนุรักษ์” มีนโยบายว่า วิทยาลัยเกษตรมีพื้นที่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ ให้เพิ่มพื้นที่สีเขียว 50  ไร่  ถ้ามีพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ อยากให้มีพื้นที่สีเขียวมากกว่า 100  ไร่ โดยจะให้นักเรียนอาชีวเกษตรรับไปดูแลคนละ 1 ต้น  ตั้งแต่การปลูกต้นไม้  รับผิดชอบต้นนี้ไปจนเรียนจบ ปวช. หรือ ปวส. เพื่อให้เติบโตควบคู่กันไป ภายใน 2 ปี ต้นไม้จะยืนต้น แตกกิ่งก้านใบต่อไป

 

 

                สำหรับกล้าไม้คุณภาพทั้งหมด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตรเพื่อการพึ่งพากันเองบ้านห้วยหิน ดำเนินการเพาะกล้าไม้  2 ประเภท  จำนวน 30 ชนิด ประเภทไม้ยืนต้นที่เป็นไม้ป่าอนุรักษ์ และไม้มีค่า เช่น ยางนา แดง พะยูง พะยอม มะค่าโมง มะค่าแต้  ตะเคียนทอง  ประดู่ป่า มะฮอกกานี รัง กระบก สำรอง มันปู  กฤษณา และกระบาก ประเภทไม้ป่าให้ผลและไม้ผลที่เพาะจากเมล็ด  ได้แก่ คอแลน หรือลิ้นจี่ป่า  มะพลับสวน  มะกอกน้ำ ขนุน ตะขบป่า กระท้อน มะม่วงป่า หว้า ชะมวง

                “ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริการทำเกษตรผสมผสาน ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง แต่คนยังไม่เจริญรอยตามเท่าที่ควร เมื่อเผชิญปัญหาโควิด-19 คนกลับมาให้ความสนใจมากขึ้น เพราะเป็นแนวทางพึ่งพาตัวเอง กระทรวงศึกษาธิการสืบสานพระราชปณิธานนี้สู่สถานศึกษา รวมถึงส่งเสริมให้ทุกวิทยาลัยใช้พื้นที่ 1 ไร่ ทำเกษตรประณีต เพื่อสร้างรายได้ 5 หมื่น ถึง 1 แสนบาทต่อเดือน และเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ อีกทั้งเชื่อมโยงมีการแนะนำการจัดการพื้นที่ตามทฤษฎีใหม่ วางแผนปลูกพืชผัก เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้มีรายได้ทุกวัน ตลอดปี ช่วยแก้จน แก้ปัญหาคนตกงาน เรามีตัวอย่างวิทยาลัยเกษตรฯ ลำพูน มีรายได้ 1.3 ล้านบาทต่อปีจากเกษตรทฤษฎีใหม่        สถาบันการศึกษาทั้ง 47 แห่ง จะเป็นต้นแบบที่ดีตามแนวทฤษฎีใหม่เพื่อให้เด็กๆ และชุมชนใกล้เคียงเดินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทในหลวง “ดร. คุณหญิงกัลยา กล่าว

                ด้าน  นายภูมิสรรค์ เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ประธานยุทธศาสตร์ มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ กล่าวว่า ทางมูลนิธิฯ  ร่วมกับผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนวนเกษตรเพื่อการพึ่งพากันเองบ้านห้วยหิน เพาะกล้าไม้คุณภาพผ่านการอนุบาลอย่างดี ต้นกล้ามีขนาด 30 เซนติเมตร  มีความแข็งแรง รวมทั้งหมด 30 ชนิดพันธุ์  จากนโยบาย ศธ. แจกจ่ายกล้าไม้แล้วกว่าล้านกล้า  หลังจากส่งมอบกล้าแก่สถานศึกษาวิทยาลัยเกษตรฯ แล้ว จะขยายสู่การศึกษาพิเศษ เช่น ราชประนุเคราะห์และศึกษาสงเคราะห์ ก่อนจะมอบให้แก่สถานศึกษาในสังกัด สพฐ. ต่อไป เพื่อกระจายให้ครอบคลุม ขณะนี้มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ โครงการหลวง และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีศูนย์พรรณไม้โครงสร้าง ร่วมกันเพาะกล้าไม้อย่างต่อเนื่อง     กล้าไม้นี้อัตรารอด 80% จากการศึกษาวิจัย ทำให้การปลูกไม้ประสบผลสำเร็จมากขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"