พปชร. มีมติรับร่างแก้ไข รธน. ฉบับ 'รัฐบาล-ฝ่ายค้าน' เปิดทางตั้ง สสร.


เพิ่มเพื่อน    

16 พ.ย.63 - เวลา 15.00 น. ที่ทำการพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) มีการประชุมพรรคพลังประชารัฐ โดยมีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคและประธานวิปรัฐบาล  ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อกำหนดท่าทีของพรรคต่อการประชุมร่วมรัฐสภา ในระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย. เพื่อพิจารณาลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระที่1 ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ก่อนรับหลัก รัฐสภาทั้ง 6 ฉบับ พิจารณาเสร็จแล้ว

โดย น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. โฆษกพรรคพลังประชารัฐ แถลงภายหลังการประชุมว่า มติพรรคพลังประชารัฐยืนยันตามมติวิปรัฐบาล คือ รับหลักการในร่างที่ 1 ของนายสมพงษ์ อมรวิฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและคณะเป็นผู้เสนอ และร่างที่ 2 ของนายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาลและคณะเป็นผู้เสนอ ส่วนร่างที่ 3-6 งดออกเสียง เพราะเนื้อหาครอบคลุมเหมือนกับร่างที่ 1 และ 2 แล้ว สำหรับร่างที่ 7 ของกลุ่มไอลอว์ จะขอฟังจากสมาชิกทั้ง ส.ส.ฝ่ายค้าน ส.ส.รัฐบาล และ ส.ว. ก่อนจะตัดสินใจในการลงมติอีกครั้ง

โฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวยืนยันว่า เราเปิดกว้างให้สมาชิกแสดงความคิดเห็นโดยยึดหลักของความถูกต้อง และต้องดูจากความต้องการของประชาชนทั้งประเทศมากกว่าความเห็นของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 

เมื่อถามถึง แรงกดดันของกลุ่มผู้ชุมนุมจะมีผลต่อการลงมติหรือไม่ น.ส.พัชรินทร์  กล่าวว่า เราต้องทำหน้าที่ตามกระบวนการของรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  ซึ่งต้องพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตามหลักการ ยึดเหตุผลและความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยพรรคพลังประชารัฐ เราย้ำจุดยืนว่า เราจริงใจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ต้องไม่แตะ หมวด 1 หมวด 2

ด้านนายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า ในการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 17-18 พ.ย.นี้ โดยแบ่งเวลาการพิจารณา โดยวันที่ 17 พ.ย. นี้ จะเริ่มต้นพิจารณา 09.30 น. พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการ ทั้ง 6 ฉบับ โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมงจากนั้นจะพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์ โดยจะไม่มีการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ร่าฃก่อนหน้านี้เพราะมีการอภิปรายไปก่อนหน้านี้แล้วในวันที่ 23-24 ก.ย.ที่ผ่านมา ทั้งนี้สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยวุฒิสภาจะใช้เวลา 5 ชั่วโมงครึ่ง ส.ส.ฝ่ายค้าน-รัฐบาลใช้เวลารวมกัน 5 ชั่วโมง ขณะที่ผู้ชี้แจงของไอลอว์ใช้เวลา 1 ชั่วโมงโดยจะใช้เวลาพิจารณาทั้งหมดรวมเวลาของประธานสภาด้วย 17 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นในวันที่ 17 จะใช้เวลาพิจารณา 13-14 ชั่วโมง ขณะที่วันที่ 18 จะใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นการอภิปรายต่อเนื่องประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นโหวตลงมติใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงโดยให้ส.ส.และส.ว.ยืนขึ้นแสดงตนโหวต 1 คน ลงมติ 7 ฉบับในคราวเดียว ซึ่งเชื่อว่าจะเสร็จสิ้นภายในช่วงเย็นวันที่ 18 พ.ย.นี้

นายวิรัช กล่าวต่อว่า ขอยืนยันว่าส.ส.ฝ่ายรัฐบาลไม่ได้อู้หรือยื้อในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหากมีการลงมติในวันที่ 23-24 ก.ย.ที่ผ่านมา ก็คาดว่าจะไม่ผ่านแน่นอน แต่ภายหลังได้มีการตั้งรายงานของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ก็สามารถมีการทำความเข้าใจ ชี้แจงเหตุผลและอะไรที่เป็นจุดอ่อนก็นำไปพิจารณาในวาระ 2-3 ต่อไปดังนั้นจึงเชื่อว่าในการลงมติร่างที่ 1 ของพรรคร่วมฝ่ายค้านและร่างที่ 2 ของพรรคร่วมรัฐบาลก็จะลงมติรับหลักการ ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ 3-6 ก็งดออกเสียง ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของไอลอว์ก็ขอฟังการชี้แจงก่อน ทั้งนี้ยืนยันว่าการทำหน้าที่ของส.ส.และส.ว.ไม่รู้สึกกดดันต่อผู้ชุมนุมทั้งฝ่ายหนุนและฝ่ายค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะสมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะพรรคพลังประชารัฐพร้อมทำหน้าที่ด้วยเหตุด้วยผล 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"