16 พ.ย.63 - ที่พรรคเพื่อไทย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ร่วมประชุมเพื่อหารือถึงทิศทางการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง7ฉบับ ที่จะนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมร่วมรัฐสภาฯระหว่างวันที่17-18พ.ย.
นายสมพงษ์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านได้พิจารณาต่อท่าทีในการลงมติต่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ญัตติ ฝ่ายค้านมีฉันทานุมัติไปในทางเดียวกัน จะขอรวมญัตติร่างรัฐธรรมนูญของไอลอว์ เข้าร่วมด้วยในการพิจารณาต่อที่ประชุมร่วมสภาฯ พรรคร่วมฝ่ายค้านจะให้การสนับสนุน ทั้ง 7ญัตติ จากนี้จะให้แต่ละพรรคไปหารือที่ประชุมพรรคเพื่อกำหนดเป็นมติ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญและบวกกับสถานการณ์อันตึงเครียด สมาชิกรัฐสภาควรต้องฟังเสียงของประชาชน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอลอว์ ก็เป็นร่างที่เสนอมาจากประชาชน ไม่ได้ขัดต่อกฎหมาย ไม่ได้เป็นการขอเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งสามารถกระทำได้ตามอำนาจของสภาฯ
ขณะที่ นายชัยธวัธ กล่าวว่า การประชุมร่วมของรัฐสภาฯพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่ 17-18 พ.ย. จะเป็นวันที่กำหนดอนาคตการเมืองไทยว่า จะมีการลงมติที่จะเอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านประชาประชาธิปไตยเป็นไปโดยสันติหรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาในวันดังกล่าว ยังต้องรอดูท่าทีส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และสมาชิกวุฒิสภา(สว.)ว่าจะตัดสินใจอย่างไร เรายังเชื่อว่า การตัดสินใจของพล.อ.ประยุทธ์ เป็นส่วนสำคัญในการพิสูจน์ความจริงใจ มีส่วนสำคัญในการกำหนดสถานการณ์ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมทั้ง7ญัตติ ควรผ่านทั้ง7ฉบับ ถ้าผ่านเพียง1-2ฉบับ โดยรับหลักการเพียงมาตรา256 อย่างเดียว เป็นการลูบหน้าปะจมูกทางการเมืองเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะทำให้สถานการณ์ตึงเครียดคลี่คลาย
ส่วน นายชูศักดิ์ กล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านมีความเห็นตรงกันว่าควรสนับสนุนร่างของประชาชนฉบับนี้ด้วยเหตุผล 4 ประการ คือ 1.การนำเสนอกฎหมายโดยประชาชน เป็นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการใช้สิทธิตามอำนาจอธิปไตยที่เสนอกฎหมายผ่านรัฐสภา 2.ประชาชนมีความตั้งใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะมองเห็นปัญหาในรัฐธรรมนูญ ความเห็นของประชาชนก็สอดคล้องกับความเห็นของพรรคร่วมรัฐบาล และพรรคร่วมฝ่ายค้านที่มองเห็นปัญหาเช่นเดียวกัน 3.หลักการร่างของประชาชนที่เหมือนกับหลักการของรัฐบาล และฝ่ายค้าน คือ เห็นว่าควรมีส.ส.ร. ขึ้นมาแก้รัฐธรรมนูญ และ 4.ร่างของประชาชนนี้ไม่ได้ขัดกับบทบัญญัติของกฎหมายใดเลย
นายชูศักดิ์กล่าวว่า พรรคร่วมฝ่ายค้านจะยื่นร่างพรบ.ออกเสียงประชามติพ.ศ….ประกบกับร่างของรัฐบาล โดยในวันที่ 18 พ.ย. ฝ่ายค้านจะยื่นร่างพ.ร.บ.ประชามติของพรรคฝ่ายค้านนี้ต่อรัฐสภา เนื้อหามีสาระสำคัญที่ต่างออกไปคือ 1.ฉบับฝ่ายค้านยกเรื่องของการรณรงค์ให้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ให้สิทธิประชาชน ภาคเอกชนและพรรคการเมืองในการรณรงค์อย่างทั่วถึง 2.ควรอนุญาตให้มีการออกเสียงล่วงหน้า และต่างพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสออกมาออกเสียงให้ได้มากที่สุด
เมื่อถามว่ามีบางฝ่ายมองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นขัดกับมาตรา 49 และอาจเลยเถิดไปถึงการนิรโทษกรรมให้นายทักษิณ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯกลับประเทศ นายชูศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องประเด็นขัดกับมาตรา 49 เป็นประเด็นเก่าที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยหยิบยกมาใช้นานแล้ว แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตรา 256 (8) ได้ระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้วเรื่องอำนาจของสภาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่มีการแก้ไขกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ไม่มีใครไปยกเลิกกฎหมายทั้งปวง มิเช่นนั้นจะทำให้เกิดสุญญากาศ การที่บอกว่าจะเป็นการนิรโทษกรรมให้ใครนั้นเป็นการใส่สีตีความ และเป็นความเท็จทั้งสิ้น
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |