16 พ.ย.63 - ที่อาคารแปซิฟิก ถ.สุขุมวิท นายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง หัวหน้าพรรครวมพลังประชาชาติไทย แถลงประกาศจุดยืนว่า ส.ส.พรรครวมพลังประชาชาติไทย จำนวน 5 คน จะลงมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และกลุ่มไอลอว์ เสนอให้มีหมวด 15/1 เกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร. เนื่องจากมองว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 มีข้อดีหลายส่วน เช่น สวัสดิภาพสวัสดิการของชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลจัดการศึกษาขั้นต่ำ การกำหนดหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการปฏิรูปหลายส่วนของประเทศ การไม่ให้นักการเมืองทุจริต กลับเข้ามาสู่การเมืองอีก มีการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มข้น มีการการปฏิรูปการเมือง การศึกษา กระบวนการยุติธรรม ขณะที่มาตราที่เป็นปัญหาก็มีเพียงไม่กี่มาตรา เช่น การให้ ส.ว.ร่วมด้วยนายกรัฐมนตรีหรือระบบเลือกตั้ง รวมถึงในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีการเสนอ ระบุไว้ว่าจะไม่มีการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 จึงมองว่าไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องยกร่างจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 มาจากการทำประชามติโดยประชาชน ดังนั้นหากจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็ควรจะทำประชามติสอบถามประชาชนก่อน เพื่อสอดคล้องตามหลักการประชาธิปไตย แม้กฎหมายรัฐธรรมนูญจะไม่ได้บังคับว่าต้องดำเนินการก็ตาม และฝากไปถึงสมาชิกรัฐสภาที่จะร่วมพิจารณาลงมติ ในฐานะที่เป็น 1 ใน 3 อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ขอให้ทำหน้าที่อยู่บนหลักนิติรัฐนิติธรรม ไม่ใช่ดำเนินการตามกระแสหรือแรงกดดันจากผู้ชุมนุม
ส่วนประเด็นอื่นๆ นอกเหนือจากการตั้ง ส.ส.ร.เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า พรรครวมพลังประชาชาติไทยยังไม่กำหนดท่าทีที่ชัดเจนในประเด็นอื่นๆ โดยยินดีจะรับฟังหลักการและเหตุผลจากการอภิปราย อย่างการกำหนดให้ ส.ว.ร่วมลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ถ้าพูดตามหลักทฤษฎีอาจเข้าข่ายขัดต่อหลักการประชาธิปไตย เพราะ ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่เข้าใจเจตนารมณ์เพื่อสร้างเสถียรภาพในระยะเปลี่ยนผ่าน แต่หากอนาคตต้องการเห็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ พรรคก็ไม่ได้คัดค้านหัวชนฝา แต่มองว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มไอลอว์ ที่ยกเลิกการปฏิรูปประเทศ ทั้งที่เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งยวด
ด้านนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมพลังประชาชาติไทย กล่าวว่า แม้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มไอลอว์ จะมีผู้ร่วมลงชื่อหลักแสนคน แต่เมื่อเทียบรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งผ่านการทำประชามติจากประชาชนหลายล้านคน ถือว่ามีความยึดโยงประชาชนมากกว่า จึงยืนยันจุดยืนคัดค้านการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และ ส.ส.ทั้ง 5 คน ยืนหยัดที่จะทำหน้าที่ตัวแทนประชาชน ยึดหลักนิติรัฐนิติธรรม ไม่เอนเอียงไปตามกระแสสังคม แต่ขอพิจารณาและลงมติบนผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |