15 พ.ย.63-ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เครือข่ายประชาชนผู้เป็นเจ้าของแร่ (PPM) จัดเสวนาหัวข้อ “แด่นักสู้ผู้จากไป ประชาธิปไตยแบบไหน ที่จะไม่ลอยนวลพ้นผิด” โดยนางอังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า การที่เราต้องลุกขึ้นมาเหมือนกับการพันธนาการที่ไม่กล้ามองอนาคต การก้าวพ้นภาระเพื่อออกมาลุกขึ้นยืนปกป้องคนอื่นไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผ่านมามีคนสูญหายมากมาย แต่ประเทศไทยไม่มีการบังคับคดีเรื่องการสูญหาย และการค้นหาความจริง ที่ผ่านมาชาวบ้านทำได้เพียงแค่สร้างอนุสาวรีย์เพื่อเตือนใจ และประจานรัฐบาล การสูญหายไม่มีผู้เสียหาย เพราะผู้เสียหายนั้นหายไปแล้ว ทั้งนี้ ตนไม่เชื่อมั่นว่าภายใต้รัฐบาลที่ไม่เป็นประชาธิปไตยจะสามารถออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้ เพราะสมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) พยายามแสดงความจริงใจผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองผู้สูญหาย แต่เมื่อเช้าสนช.กลับล่าช้า และมีการหยิบร่างกฎหมายนี้ออกไป
นางอังคนา กล่าวว่า การบังคับสูญหายต้องเป็นกฎหมายที่ไม่หมดอายุความ แต่ที่ผ่านมาการออกกฎหมายมาก็เพื่อคุ้มครองผู้กระทำความผิด เอื้อต่อการงดเว้นโทษ ทำให้ผู้กระทำผิดยังคงเกิดขึ้น กฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนนี้ต้องให้ญาติ และเหยื่อจำเป็นต้องมีส่วนร่วม และรัฐบาลต้องรับฟัง เมื่อคนกระทำความผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ จึงไม่ง่ายเลยในการดำเนินคดี และไม่มีการคุ้มครองพยานแต่กลับมีการคุกคาม เราจะปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้หรือ ไม่ว่ารัฐบาลเผด็จการหรือรัฐบาลประชาธิปไตยล้วนแต่มีการละเมิดสิทธิ แต่กลไกรัฐบาลประชาธิปไตยการตรวจสอบจะเข้มแข็งกว่า ใครจะด่ารัฐบาลหรือด่านายกฯ ทางนายกฯต้องรับฟังไม่ใช่ออกมาโต้ตอบ
"ในขณะนี้มีกระบวนการลดทอนความน่าเชื่อถือคนที่ท้าทายอำนาจรัฐ ทำให้ถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี เป็นทนายโจร เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ล้มล้างสถาบัน ต่อต้ายการพัฒนา หากคนเหล่านี้ถูกทำให้สูญหายก็จะไม่มีใครออกมาปกป้อง เพราะสังคมเชื่อว่าเป็นคนไม่ดี ไปถามพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ว่าใครบ้างคือนักปกป้องสิทธิฯ เพราะกระทรวงยุติธรรมยังเถียงไม่จบว่าคนนี้สีดำ คนนี้สีเทา และคนนี้สีขาว รัฐบาลกลับไม่รู้ สิ่งที่รัฐบาลพยายามแก้ไขคือทำตัวเลขผู้สูญหายน้อยลง แต่ไม่ทำให้ความจริงเปิดเผยและนำคนผิดมาลงโทษ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 60 นายกฯตั้งกรรมการปกป้องสิทธิฯ ถามว่าทำอะไรบ้างจนหมดวาระและตั้งชุดใหม่ขึ้นมา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญเราจำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญ แต่การเมืองเป็นแบบนี้ เราต้องทำหน้าที่ของเรา เพราะเราคือพยานการละเมิดสิทธิฯที่เกิดขึ้น เพื่อมอบสังคมให้คนรุ่นใหม่ที่พูดได้โดยไม่กลัว และรัฐต้องดูแลทุกคนให้มีความปลอดภัยเท่ากัน"
น.ส.จุฑาทิพย์ ศิริขันธ์ แกนนำกลุ่มเยาวชนปลดแอก กล่าวว่า ที่ผ่านมาสังคมไทยมีปัญหาเรื่องความเท่าเทียมกัน กลุ่มคนรุ่นใหม่จึงออกมาเรียกร้องว่าคนต้องเท่าเทียมกันผ่านการเคลื่อนไหวต่างๆ โดยการเรียกร้องปฏิรูปสถาบัน หรือการจัดงบประมาณเกี่ยวกับสถาบันที่เกิดความจำเป็น ซึ่งแตกต่างจากคนทั่วไปที่ไม่ได้รับสิทธิต่างๆ แถมบางคนยังถูกทำร้าย และสูญหาย ทั้งนี้ พวกเราต้องการเรียกร้องการพูดคุยและประชาธิปไตย เพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันได้ แตกต่างจากผู้มีอำนาจที่ออกมาพูดว่าอยากให้มีการประนีประนอมแต่ความอยุติธรรม และสิทธิทนุษยชนประนีประนอมไม่ได้ ดังนั้นข้อเรียกร้องของเยาวชนคนรุ่นใหม่จึงถูกต้อง
“ไม่ว่าเราจะทำอะไร ทุกอย่างคือการเมือง ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เด็กเรียกร้องเคลื่อนไหวเพื่อให้การเมืองดีขึ้น เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการ สิทธิการเข้าถึง การขนส่ง การเดินทางสาธารณะ แต่รัฐกลับปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน โดยเฉพาะนำรถเมล์มาสกัดกั้นทดแทนกำลังเจ้าหน้าที่รัฐ มีเจ้าหน้าที่มาเช็คประวัติข้อมูลนักศึกษา เราต้องการสร้างสังคมที่พูดคุยกันได้ และพื้นที่ปลอดภัย เราต้องเติบโตไปในอนาคต ตอนนี้สังคมยังบิดเบี้ยวไม่หยุด ข้อเรียกร้องเราต้องเกิดผลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง สายธารการเปลี่ยนแปลงกำลังไหลเข้ามาที่ผู้มีอำนาจเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ในอนาคตเราอยากเห็นประเทศไปได้ไกลกว่านี้ ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมายและรัฐธรรมนูญ”
นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า กล่าวตอนหนึ่งว่า เรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในประวัติศาสตร์ และคุณูปการของบุคคลเหล่านี้ไม่ได้รับการพูดถึงหรือถูกยกย่อง เป็นเพราะเราเพิกเฉยกับความอยุติธรรมที่เกิดขึ้น เรื่องแบบนี้จึงเกิดขึ้นซ้ำๆ หลายกรณีที่ผู้กระทำผิดไม่เคยถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นด้านกลับของสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งบอกได้ว่าประชาชนไม่ได้มีความหมายไร้ค่าในสายตาชนชั้นนำ ประชาชนจึงไม่ได้รับการปกป้อง ตนจึงเสนอสิ่งที่ต้องทำ 3 ประเด็น คือ 1.ต่อสู้เชิงประเด็นให้เป็นวาระเชิงสังคมมากขึ้น 2.ต่อสู้เชิงระบบ ซึ่งการต่อสู้เพื่อให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจ เจ้าของทรัพยากรอย่างแท้จริง เป็นเรื่องจำเป็น โดยที่ทุกส่วนต้องเกี่ยวโยงกัน ไม่ว่าการมีรัฐธรรมนูญใหม่ที่ต้องเป็นของประชาชน การปฏิรูประบบราชการ กระบวนการยุติธรรม รวมถึงการสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อให้คนมีความมั่นคงในชีวิต และ3.ต่อสู้เชิงวัฒนธรรม ที่ต้องปลูกฝังค่านิยมพลเมืองร่วมกันว่าการเมืองไม่ใช่เรื่องสกปรก แต่เป็นเรื่องของเราทุกคน
"การสร้างวาทกรรมการเมืองเป็นเรื่องสกปรก เพื่อให้คนไม่สนใจการเมือง เมื่อคนไม่สนใจการเมืองอำนาจก็เป็นของผู้มีอำนาจ ซึ่งคอยสร้างคำพูดว่าให้มีชีวิตอย่างพอเพียง เพื่อที่ตัวเองจะรักษาโครงสร้างอำนาจ ทั้งนี้ การต่อสู้เชิงวัฒนธรรมทำได้ทุกที่ อย่าให้วัฒนธรรมอนุรักษ์นิยม อำนาจนิยม คืบเข้ามาอีก เราจึงต้องช่วยกันทุกมิติ"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |