(นครินทร์ ยาโน)
13 พ.ย.63 - บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ 20 ธุรกิจ เพื่อสังคมกลุ่มหัตถกรรมผ้าทอมือจากท้องถิ่นทั่วไทย แถลงข่าวเปิดงาน “ผ้าเปลี่ยนโลก SET Social Impact Fair 2020” ปีที่ 3 เพื่อสนับสนุนช่องทางจัดจำหน่ายส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพถึงผู้บริโภคใจกลางเมือง ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีสู่สังคม สืบสานภูมิปัญญา สร้างงานสร้างรายได้จากชุมชมสู่ชุมชน ได้ตั้งแต่วันนี้ -15 พฤศจิกายน 2563 ณ ลาน Center Hall ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์
(วิศาล สิปิยารักษ์)
นายวิศาล สิปิยารักษ์ รองกรรมการผู้อำนวยการสายบริหารพื้นที่เช่าและผู้เช่าสัมพันธ์ และ รองกรรมการผู้อำนวยการสายการตลาด บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จุดประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ ที่ต่อเนื่องสู่ปีที่ 3 เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจ Social Enterprise (SE) คือ กิจการเพื่อสังคม หรือธุรกิจที่มุ่งเน้นช่วยเหลือ และแก้ปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม โดยการใช้หลักการบริหารจัดการทางธุรกิจผนวกกับความรู้และนวัตกรรม มาสร้างสรรค์ความยั่งยืน ที่ในวันนี้จะเป็นการออกร้านของกลุ่มธุรกิจ SE ผ้าทอทำมือ ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าม่อฮ่อมฯลฯ ซึ่งการจัดงานนี้เปรียบเสมือนการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงของคนเมืองที่มากขึ้น และการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ระหว่างกลุ่มผู้ประกอบการและผู้บริโภค และยังเป็นการสืบสานภูมิปัญญาของไทยด้วย
(นพเก้า สุจริตกุล )
นางสาวนพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานสื่อสารองค์กรและพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การจัดงานผ้าเปลี่ยนโลกที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราได้เห็นและเรียนรู้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในแต่ละปีด้วย อย่างในปีนี้ที่ทุกธุรกิจต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แต่ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ก็ยังคอยสนับสนุนให้ทุกธุรกิจสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในปีนี้ก็มีการออกร้านที่เพิ่มขึ้นเป็น 20 ร้านธุรกิจ SE จากกลุ่มธุรกิจ SE ที่มีหลากหลายประเภทกว่า 90 ธุรกิจ ซึ่งแต่ละธุรกิจมีการเชื่อมโยงรายได้สู่ชุมชน ซึ่งเราอาจจะไม่เน้นจำนวนแต่จะเน้นการตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า อย่างการจัดงานในแต่ละปีก็จะมีการประเมินถึงการเข้าถึงของกลุ่มลูกค้าโดยวัดจากรายได้ โดยในปีแรกรายได้รวมอยู่ที่ 1 ล้านบาท ในปีที่ 2 ประมาณ 2 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 2 ปี ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ในปีที่ 3 อาจจะพิเศษ เพราะห้างสรรพสินค้าเอ็มบีเคนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยลงด้วย และคนหันไปช็อปออนไลน์มากขึ้น อาจจะต้องรอประเมินรายได้หลังจากจบงานว่าจะไปในทิศทางใด แต่ส่วนสำคัญคือการสร้างการจดจำงานให้กับลูกค้า ทั้งนี้คาดว่าในปีต่อไปอาจจะมีการขยายจำนวนวัน หรือจัดในสถานอื่นๆ ที่จะสร้างช่องทางการขายที่เพิ่มขึ้นด้วย เพื่อนำรายได้กลับไปช่วยเหลือสังคม ดูแลสิ่งแวดล้อม และสืบสานวัฒนธรรมผ้าพื้นถิ่นไทยต่อไป
ภายในงานยังมีการเสวนาผู้ประกอบการ SE สู่การสร้างรายได้แก่ชุมชน นครินทร์ ยาโน ผู้ก่อตั้งแบรนด์ ยาโน ที่ทำธุรกิจผ้าฝ้ายทอมือมากว่า 16 ปี กล่าวว่า เริ่มต้นจากตนเองที่ทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในปี 2548 ที่ได้หอบความสิ้นหวังกลับบ้านที่เชียงใหม่ และในขณะเดียวกันแม่ก็ได้ชี้ทางสว่างว่าเราสามารถสร้างความสุขและรายได้จากความรู้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มาจากชุมชนที่ทำฝ้ายทอมือ และขยายไปยังเรือนจำในจังหวัดตาก อุตรดิตถ์ สุโขทัย และแม่ฮ่องสอนรวมกว่า 200 คน โดยเรามีจุดเด่นที่ลวดลายผ้าปักมือที่มีจากความสร้างสรรค์ของนักออกแบบที่เราจะไม่จำกัดความคิด ทำได้อย่างเต็มที่ และเนื่องจากสินค้าที่จำหน่ายตีตลาดในสนามบินสุวรรณภูมิ คิง พาวเวอร์ เน้นการทำตลาดออฟไลน์ ทำให้ต้องปรับตัวหนักจึงต้องเริ่มเรียนรู้การทำตลาดออนไลน์ให้ลูกค้าได้เข้าถึงมากขึ้น เพราะยังมีคนในชุมชนที่รอรายได้จากการขาย ตอนนี้เราก็สร้างตลาดออนไลน์ผ่านทางพาร์ทเนอร์ ที่เก่งและสามารถหาลูกค้าได้เพิ่มขึ้น
วริศรุตา ไม้สังข์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ HEARTIST ผ้าทอจากการบำบัดของเด็กพิเศษ กล่าวว่า การเกิดขึ้นของแบรนด์มาจากแรงบันดาลใจที่ได้ไปทำงานร่วมกับกลุ่มแม่ที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษ โดยมีแม่ที่ใช้การทอผ้าบำบัดลูกเพื่อให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น ที่ใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน หลังจากทอเสร็จก็จะเก็บไว้เพื่อรอนำไปประมูลทุกสิ้นปี แต่นั้นทำให้เราเห็นว่าควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้สังคมได้เห็นความสวยของผ้า และสร้างรายได้ให้กับเขา แต่จุดยืนของเราคือ ไม่ขายความน่าสงสารแน่นอน จะไม่มีการบังคับเด็กให้ทอ เพราะเราเน้นการบำบัดเพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดีขึ้น มีสังคมและฝึกการโต้ตอบ ซึ่งขณะนี้มีเด็กพิเศษที่อยู่ในการบำบักด้วยการทอ 30 คน ตั้งแต่อายุ 11-23 ปี ทำให้ลวดลายที่อยู่บนผลิตภัณฑ์ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ กระเป๋า จะมีมีเพียงลายเดียวชิ้นเดียว ซึ่งจะช่วยสน้างให้เด็กพิเศษได้รู้สึกมีคุณค่า มีงานทำ และสามารถอยู่ในสังคมได้ ซึ่งในปัจจุบันเราก็มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาด เพราะโควิด-19 ทำให้เราต้องหาทางรอด จึงเริ่มเข้าโครงการต่างกับแบรนด์ต่างๆ เปรียบเสมือนการขายของไปในตัว ทำให้มีลูกค้าเพิ่มขึ้น อย่างการออกร้านในงานครั้งนี้ก็จะเพิ่มลูกค้าในเมืองมากขึ้นด้วย
(วริศรุตา ไม้สังข์ และเสื้อที่มีลวดลายการทอจากเด็กพิเศษ)
อรุณกร จิระเดชประไพ ผู้ก่อตั้ง Local Alot Director ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนในช่วงวิกฤติโควิด-19 กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของเราเพื่อช่วยชุมชนในช่วงโควิด-19 เพราะการท่องเที่ยวในชุมชนอาจจะไม่ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวไทย แต่นักท่องเที่ยวต่างชาติชื่นชอบ ดังนั้นเมื่อโควิด-19 นักท่องเที่ยวก็หายไป 100% จึงมีแนวคิดในการนำสินค้าชุมชนกว่า 40 ชุมชน มาขายทางออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ในช่วงเริ่มต้นเพียง 45 วัน ก็มีรายได้เข้ามาประมาณ 4 ล้านบาท ปัจจุบันก็เป็นระยะเวลา 7 เดือน ตั้งเป้าไว้ว่าสิ้นปีจะต้องมีรายได้ประมาณ 7 ล้านบาท เพราะสิ่งที่ทำสะท้อนให้เห็นความเข้มแข็ง และต้องเดินทางพัฒนาสินค้าชุมชนทั้งอาหาร เสื้อผ้า หรืออื่นๆ ให้มีไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่เข้าถึงลูกค้าในกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น และยังเห็นว่ามีคนพร้อมสนับสนุนสินค้าชุมชนเยอะมาก
(อรุณกร จิระเดชประไพ ออกร้านจำหน่ายสินค้าจากชุมชน ทั้งกระเป๋า หมวกและอาหาร)
สำหรับร้านค้าภายในงานทั้ง 20 ร้าน ประกอบด้วย อินดี้ อีโค่ (IndyEko) ,ฮาร์ททิส (HEARTIST) ,อาร์ต สตอรี่ (Art Story) ,ยาโน (Yano) ,โฟล์คชาร์ม (FolkCharm) ,ฟอร์โอลด์ดี้ (ForOldy) ,ลลิน บาย ดับเบิ้ล พี (Larinn by double P) ,โลเคิล อลอท (LocalAlot) ,คราฟท์เดอคัวร์ (craft de quarr) ,เอสซี แกรนด์ (SC Grand) ,ฮักอีรี่ (HUG Eri) ,วีที ไทย (VT Thai) และ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีสมุทปราการ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด เป็นต้น พร้อมกิจกรรม workshop ที่น่าสนใจ อาทิ สาธิตการย้อมผ้าสีจากธรรมชาติ การทอล์คโชว์เรื่อง นิทานกับลายผ้าพร้อมช้อปอย่างเพลิดเพลินไปกับวงดนตรีที่จะมาขับกล่อมตลอดทั้งวัน พิเศษยิ่งช้อปยิ่งคุ้ม สมาชิกเอ็ม บี เค แอปพลิเคชันซื้อสินค้าภายในงานสามารถนำยอดใช้จ่ายไปสะสมคะแนน MBK Points
อย่างไรก็ตามผู้สนใจสามารถ ร่วมงาน ผ้าเปลี่ยนโลก SET Social Impact Fair 2020 ได้ตั้งแต่วันนี้ -15 พฤศจิกายน 2563 ณ ลาน Center Hall ชั้น G ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |