ปรับตัวสู่ดิจิทัลดิสรัปชัน


เพิ่มเพื่อน    

    การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรม เพราะที่ผ่านมานั้นการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลของภาคอุตสาหกรรมกำลังดำเนินไปด้วยดี เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้คนตะหนักถึงความสำคัญเรื่องการปรับตัว ความยืดหยุ่น และการสร้างประสิทธิภาพให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ การลดต้นทุน ขณะที่ยังต้องสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นควบคู่กันไป แต่หลังจากที่เกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้กลายเป็นปัจจัยหลักในการเร่งสู่ระบบดิจิทัลให้เร็วมากขึ้น 

                ทั้งนี้ ฌอง ปาสคาล ตริคัวร์ ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric) ได้ระบุว่า การปฏิบัติตามกฎระยะห่างทางสังคม ในช่วงที่วิกฤติหลายอุตสาหกรรมต้องประสบกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ไซต์งานได้ ซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ดังนั้นการนำเทคโนโลยี AR(Augmented Reality) มาช่วยดำเนินงาน ทำให้อุตสาหกรรมสามารถดำเนินต่อไปได้ และทำให้ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบและวินิจฉัยปัญหาของเครื่องได้จากระยะไกล ส่วนระบบ VR (Virtual Reality) จะช่วยให้ผู้ดำเนินงานสามารถจัดฝึกอบรมได้แบบเสมือนจริง และเยี่ยมชมไซต์งานได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่ไซต์งานด้วยตัวเอง

            ดังนั้น ประสิทธิภาพนับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเสมอมา โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติก็ยิ่งมีความเกี่ยวพันกันมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมกำลังมองหาวิธีใหม่ๆ ในการลดต้นทุนการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล คือการสร้างประสิทธิภาพและการบรรลุถึงประสิทธิภาพ โดยสามารถทำได้จากการผสานรวมสี่แกนเข้าด้วยกัน

                แกนแรกคือการรวมพลังงานและระบบออโตเมชั่น เพื่อบรรลุรากฐานหลักของประสิทธิภาพใน 2 ประการ คือ พลังงาน และกระบวนการ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยควบคุมการใช้ทรัพยากรและการปล่อยคาร์บอน

                แกนที่สอง คือ การผสานรวมจุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในทุกจุดที่มีการวางระบบตั้งแต่ส่วนผลิตในโรงงานตลอดทั้งสายงาน ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างชัดเจนในแบบเรียลไทม์

                แกนที่สาม คือการผสานรวมวงจรการทำงานทั้งหมดตั้งแต่การออกแบบและการสร้าง ไปจนถึงการดำเนินงานและการบำรุงรักษา เพื่อขจัดความไม่ต่อเนื่อง ความไร้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนจากต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้สามารถประสานงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น รวมถึงการบูรณาการข้อมูลทั้งหมดตลอดช่วงวงจรการทำงาน

                แกนที่สี่ คือการเปลี่ยนการบริหารงานแบบเดิมจากที่แยกส่วนจัดการในส่วนของบริษัท โรงงานแต่ละแห่ง และไซต์งานแต่ละไซต์ ไปสู่แบบ Unified Operation Center หรือศูนย์การดำเนินงานแบบรวม เพื่อให้มีมุมมองในภาพใหญ่ในด้านการใช้พลังงานและทรัพยากร เรื่องนี้จะช่วยให้สามารถสร้างมาตรฐานที่สมบูรณ์ของอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด รวมถึงการใช้งานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพของทุกบริษัทในระดับโลก

                วิกฤติครั้งนี้ทำให้เราตระหนักว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามขั้นพื้นฐาน ทั้งโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามหลักของสังคม ให้ต้องมุ่งเน้นไปยังการเร่งสร้างแรงผลักดันต่อเนื่องในสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อการเดินทางสู่ความยั่งยืน

                เพราะโควิดไม่ได้เปลี่ยนปัจจัยพื้นฐาน แต่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในเรื่องของความคล่องตัวและการปรับตัว ในสภาวะเศรษฐกิจที่มีความกดดันในโลกที่เปราะบางคือเสียงเรียกร้องถึงความใส่ใจ ความมีประสิทธิภาพและความยั่งยืนการตระหนักถึงความจำเป็นเหล่านี้ รวมถึงความเชื่อมั่น ความร่วมมือและการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

            ดังนั้น นับจากนี้ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชน ต้องเร่งรีบที่จะปรับตัวเองให้ก้าวทันกับโลกที่กำลังก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีใครหยุด ทุกคนขยับตัวยอมรับที่จะใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ พร้อมที่จะปรับเปลี่ยน หากยังคงย่ำอยู่กลับที่เดิม ไม่ปรับเปลี่ยนก็เท่ากับเราถดถอย และสุดท้ายก็คงไม่สามารถอยู่กับโลกที่มีแต่ดิจิทัล ดิสรัปชัน (Digital Disruption) อยู่ตลอดเวลา.

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"