12 พ.ย. 63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊กไลฟ์ peace talk วานนี้ ว่า ห้วงเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจน์ บรรดาส.ส.โดยเฉพาะพรรคแกนนำของรัฐบาล ต่างไม่ได้เอาใจใส่การแถลงนโยบายก่อนปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่มีวาระเร่งด่วนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ใช้วิธีการยื้อเวลา โดยบอกว่าไปศึกษาปัญหาเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งระยะเวลาหนึ่งและมีมติเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องแก้ไขมาตรา 256 ยกเว้น หมวด 1 หมวด 2 โดยให้มี ส.ส.ร.
หลังจากนั้นทั้งพรรครัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านต่างเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของตัวเอง ที่เหมือนกันและมีความแตกต่างอยู่ในร่างคือการแก้ไขมาตรา 256 เพื่อให้เกิด ส.ส.ร. โดยร่างของรัฐบาล ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งจำนวนหนึ่งและก็สรรหาหรือแต่งตั้งจำนวนหนึ่ง ส่วนของพรรคฝ่ายค้านนั้นให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร. 100 % นอกจากการมีประเด็นแก้ไขรายมาตราในซีกพรรคฝ่ายค้านอีก 4 ประเด็น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องการตัดอำนาจของส.ว.ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี
นายจตุพร กล่าวว่า ขณะเดียวกันมีร่างของประชาชนโดยไอลอว์ที่จะนำเข้าสู่สภาวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ในขณะที่มีการอภิปราย ก่อนปิดสมัยประชุมวันสุดท้าย หลังจากที่การอภิปรายร่างของรัฐบาลและร่างของฝ่ายค้านเป็นที่ยุติแล้ว โดยหลักการปฏิบัติ ส.ส. ต้องลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ หรือ งดออกเสียง แต่กลับมีการเล่นแร่แปรธาตุไปตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาว่าจะโหวตอย่างไร เนื้อหาเป็นอย่างไร ทั้งที่รู้กันดีว่า เมื่อ สมาชิกรัฐสภา จะอภิปรายเรื่องอะไร สามารถส่งผ่าน Social Media หรือ ร่างที่พิมพ์เป็นกระดาษ ซึ่งจะแจกก่อนเข้าประชุม หรือ หากส่งไปที่บ้านก็จะมีเวลาอ่านก่อน 3 วันเป็นอย่างน้อยทุกครั้ง
"ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาทั้งส.ส.และส.ว. จะต้องไปศึกษาว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่หรือจะใช้สิทธิ์ในการอภิปรายกันอย่างไร แต่ตนเพิ่งเคยเห็นครั้งนี้หลังจากการอภิปรายจบจะมีคนอ้างว่าฟังไม่รู้เรื่องขึ้นมา ต้องตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อศึกษาว่าจะโหวตกันอย่างไร ดังนั้นนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สร้างกันขึ้นมา ต่อมาเรื่องที่จะต้องยึดถือเป็นหลักกัน คือ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ออกแถลงคล้ายกันทั้ง 3 พรรคและหัวข้อหนึ่งที่เหมือนกันคือสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ"
ประธานนปช. กล่าวว่าขณะนี้นายกรัฐมนตรีในวันที่ยื่นญัตติขอความเห็น เปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อขอความเห็นต่อสมาชิกรัฐสภากรณีเกิดวิกฤติการชุมนุม ก็พูดชัดเจนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จในวาระที่ 3 ในเดือนธันวาคม อีกครั้งในวันที่แถลงนโยบายก็พูดไปแล้ว ดังนั้นวันที่ 17 -18 พฤศจิกายนนี้ ทุกอย่างเสร็จสิ้นบริบูรณ์ ส่วนความเห็นของส.ส.ร.จะเป็นอย่างไรนั้นก็จะไปพิจารณากันต่อในวาระที่ 2 แต่ตนเชื่อว่ากระเเสเสียงส่วนใหญ่ต้องการ ส.ส.ร.มาจากการเลือกตั้งร้อยเปอร์เซ็นต์
แต่ปรากฏว่ามีการเลี่ยงบาลีกันอีกครั้ง เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา บรรดา ส.ว.และ ส.ส. พรรคแกนหลักรัฐบาล ได้ทำหนังสือเสนอต่อประธานรัฐสภา เสนอญัตติตามข้อบังคับของรัฐสภาข้อที่ 31 ให้รัฐสภา มีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่ และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 210 วงเล็บ 2 โดยระบุใจความสำคัญว่า ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ 2560 ไม่มีบทบัญญัติใด ให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับไป ตามนั้นตามหลักกฎหมายมหาชนไม่มีกฎหมายไม่มีอํานาจ รัฐบาลจึงไม่มีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่มีอำนาจเฉพาะ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 256 คือมีอำนาจให้แก้ไขเพิ่มเติมเท่านั้น
ทั้งนี้ตนเห็นว่ามาตราที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไข รัฐธรรมนูญคือมาตรา 255 ผูกพันมาตรา 256 และมองว่าคนที่เป็นผู้นำประเทศพูดไว้อย่างไรจะต้องทำตามนั้นเพราะก่อนพูดเราเป็นนาย แต่หลังพูดคําพูดเป็นนายเรา แต่ปรากฎว่า ส.ว. จำนวน 47 คน และสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ 25 คน ที่ยกมือสนับสนุนพลเอกประยุทธ์เป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้ปฏิบัติตามที่พลเอกประยุทธ์ได้ประกาศในที่ประชุมรัฐสภา ดังนั้นการไปยื่นตีความให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้นมีความย้อนแย้งกันเอง
นายจตุพร กล่าวด้วยว่า อะไรก็ตามถ้าไม่ซื่อสัตย์กับประชาชน และหากยังเดินกันอย่างนี้ ไม่ออกเตือนกัน มันกลายเป็นว่าอำนาจจะต้องเป็นของข้าเป็นนิจนิรันดร์นั้นเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญปี 60 เป็นวิบากกรรมของชาติ เราเดินตามรอยที่เขาออกแบบให้เกิดปัญหาตลอดทาง ที่ตนบอกว่าแบบมันถูกออกเพื่อให้ถูกฉีก แต่ไม่รู้ว่าเราจะฝืนชะตากรรมนี้กันได้นานอีกเท่าไหร่ แต่พฤติกรรมแบบนี้จะสร้างเงื่อนไข พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่าทรยศหักหลังพังทุกราย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |