เธอสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นผู้หญิงและผิวสีคนแรกของสหรัฐฯ ที่สามารถคว้าตำแหน่งรองประธานาธิบดีได้
"ดิฉันเป็นคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ และดิฉันก็มั่นใจว่าจะไม่ใช่ผู้หญิงและคนผิวสีคนสุดท้ายที่จะอยู่ในตำแหน่งนี้" กมลา เทวี แฮร์ริสประกาศหลังจากคะแนน Electoral College ของโจ ไบเดนวิ่งพ้น 270 แล้วอย่างชัดเจน
ทำให้โจ ไบเดนได้เป็น "ว่าที่ประธานาธิบดี" และกมลาเป็น "ว่าที่รองประธานาธิบดี" ที่สร้างประวัติศาสตร์การเมืองอเมริกาอีกมิติหนึ่ง คือมีคนออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งมากที่สุด อาจจะเกิน 150 ล้านหรือเกิน 65% ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ
จับตากมลาไว้ให้ดี เพราะเธอจะไม่หยุดแค่นี้
ไบเดนอายุมาก ปีนี้ 77 เป็นประธานาธิบดีอายุมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของสหรัฐฯ ทำให้บทบาทของกมลาวัย 56 โดดเด่นขึ้นมาทันที
หากไบเดนมีปัญหาสุขภาพหรือเกิดปัญหาใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถบริหารประเทศได้ กมลาก็จะขึ้นมารักษาการตำแหน่งแทนทันทีตามรัฐธรรมนูญ
และแม้ว่าไบเดนจะอยู่ครบ 4 ปี ก็มีความเป็นไปได้สูงว่ากมลาจะวางแพลนไว้ว่าเมื่อหมดสมัยเป็นรองประธานาธิบดีแล้ว เธออาจจะเสนอตัวเป็นตัวแทนพรรคเพื่อแข่งขันชิงตำแหน่งประธานาธิบดี
บทบาทจากนี้ไปจะได้เห็นเธอพยายามสร้างฐานเสียงของตัวเอง
ในฐานะรองประธานาธิบดี กมลาจึงไม่ใช่เพียง "ไม้ประดับ" แต่มีความคึกคักในหลายๆ เรื่องที่หาเสียงเอาไว้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเรื่องความเท่าเทียมเรื่องคนผิวสี, สิทธิมนุษยชน, การศึกษา, เยาวชน และแม้กระทั่งบางส่วนของนโยบายต่างประเทศเกี่ยวกับเอเชีย เพราะความที่เธอมีเชื้อสายอินเดีย
กมลาเป็นนักการเมืองชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันและเอเชียคนแรกที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้หาเสียงเคียงคู่กับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งคนสำคัญของพรรค
เป็นสตรีคนที่ 3 ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้ท้าชิงตำแหน่งนี้ถัดจาก เจรัลดีน เฟอร์เรโร (ปี 1984) และแซราห์ เพลิน (ปี 2008)
เธอสร้างชื่อเสียงด้วยการเป็นอัยการสูงสุดของรัฐแคลิฟอร์เนียที่เคร่งครัดและต่อสู้เพื่อคนเสียเปรียบ
ต่อมาได้เป็นวุฒิสมาชิกจากรัฐนี้เมื่อปี 2017
เธอเกิดที่เมืองโอ๊กแลนด์ แคลิฟอร์เนีย เป็นลูกสาวนายโดนัลด์ เจ. แฮร์ริส นักเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดชาวจาเมกา-อเมริกัน กับนางชยมาลา โฆปาลัน นักชีวการแพทย์ชาวอินเดีย-อเมริกัน
ในช่วงเป็นสมาชิกวุฒิสภา เธอมีผลงานน่าสนใจหลายด้าน เช่น
สนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ
ยกเลิก "สถานะยาเสพติดของกัญชา" ในระดับประเทศ
ช่วยเหลือให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสารได้รับสถานะพลเมืองสหรัฐฯ
ห้ามใช้อาวุธสังหาร
และการปฏิรูปการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้า เป็นต้น
ความที่เธอมีเชื้อสายเอเชีย ความเข้าใจของกมลาต่อความเป็นไปในเอเชียย่อมจะมีสูงกว่านักการเมืองของอเมริกาหลายคน
และการที่เธอจะช่วยเสริมงานด้านต่างประเทศของไบเดนด้วย ก็ยิ่งจะทำให้เธอเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญในการสร้างความเข้าใจกับนโยบายของสหรัฐฯ ต่อเอเชียในวันข้างหน้า
กมลาพูดถึงความสำคัญของคุณแม่ต่อวิธีคิดและความมุ่งมั่นของเธออย่างชื่นชมเสมอ
คุณแม่เสียชีวิตไปเมื่อปี 2009 แต่เธอได้รับความอบอุ่นและแรงบันดาลใจจากคุณแม่อย่างเปี่ยมล้น
"คุณแม่ดิฉันคือเหตุผลสำหรับทุกอย่าง"
น้องสาวของกมลาเคยส่งข้อความขึ้นทวิตเตอร์ของเธอว่า
"คุณจะไม่รู้จักกมลา แฮร์ริสเพียงพอโดยที่ไม่รู้จักแม่ของเราทั้งสอง..."
ตอนที่คุณแม่อพยพจากอินเดีย (จากเมืองเชนไนหรือเดิมเรียกว่ามัดราส) ไปอเมริกาตอนอายุ 19 หลังจบจากมหาวิทยาลัยเดลฮีไปต่อที่ University of California, Berkeley และจบด้วยปริญญาเอกทางโภชนาการและรักษาโรคมะเร็ง
คุณแม่สร้างผลงานในฐานะนักวิจัยด้านมะเร็งเต้านมจนเป็นที่รู้จักไปทั่ววงการ
พิธีกรทีวีเคยถามกมลาว่า ถ้าคุณแม่ยังมีชีวิตตอนที่เธอสมัครเป็นรองประธานาธิบดี คุณแม่จะพูดกับเธอว่าอย่างไร
"ดิฉันไม่สงสัยเลยว่าคุณแม่จะบอกดิฉันว่า...สู้ๆ ลูก เอาชนะให้ได้"
หญิงแกร่งหญิงเก่งคนนี้กำลังจะเขย่าการเมืองสหรัฐฯ!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |