"วราวุธ" รมว.ทส. ประกาศพร้อมสนับสนุนการท่องเที่ยววิถีใหม่ เป้าหมายสร้างเศรษฐกิจฐานราก และสร้างรูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ


เพิ่มเพื่อน    

 

นายวราวุธ  ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ ประกาศแนวทางการท่องเที่ยววิถีใหม่ที่ให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการและร่วมรับประโยชน์ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานราก และสร้างรูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ คาดเป็นหนทางฟื้นเศรษฐกิจหลังยุคโควิด พร้อมไปกับการอนุรักษ์

 

 

เช้าวันนี้ ที่โรงแรม เดอะสุโกศลกรุงเทพ  กรุงเทพมหานคร นายวราวุธ  ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความเห็นด้านการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการพัฒนาโครงการ Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development (GEF-7) พร้อมมอบแนวทางการทำงานด้านการอนุรักษ์กับการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหลังยุค COVID-19 งานประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จัดโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP ประเทศไทย) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ณ พร้อมผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 100 คนจาก 26 หน่วยงาน ทั้งจากส่วนราชการ และภาคธุกิจเอกชน ในแวดวงการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

 

“ทุกก้าวในการทำงานของผม ให้ความสำคัญกับประชาชนและการมีส่วนร่วม  การท่องเที่ยววิถีใหม่และยั่งยืน ชาวบ้านต้องได้ประโยชน์ จึงจะรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ ความร่วมมือในการบริหารจัดการจึงจะเกิดขึ้น การอนุรักษ์จึงจะเป็นจริง นี่คือสิ่งที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การนำของผม ต้องดำเนินการให้เป็นรูปธรรม” 

 

นางจุฬารัตน์ นิรัติศยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ว่า ตามที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. ได้จัดทำโครงการบูรณาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศระดับชุมชนในประเทศ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) เสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental Facility – GEF) รอบที่ 7 ภายใต้กรอบงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และได้รับความเห็นชอบจากมนตรีกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility Council) โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชุมชน และสร้างแหล่งเงินทุนที่ยั่งยืนสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและวิถีชีวิตในท้องถิ่น และลดภัยคุกคามจากการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ไม่ยั่งยืน ในการนี้ มีพื้นที่นำร่องในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงตั้งแต่แนวเทือกเขาตะนาวศรี พื้นที่ชุ่มน้ำเขาสามร้อยยอดที่มีความสำคัญในระดับโลก ไปจนถึงปากแม่น้ำปราณบุรีที่มีระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งยังมีโครงข่ายการคมนาคมที่สะดวกตั้งแต่แนวถนนเลียบชายฝั่งทะเลใต้ ตามโครงการไทยแลนด์ริเวียร่า ระบบรถไฟรางคู่ในอนาคต สนามบินนานาชาติ และเครือข่ายทางหลวงชนบท ที่สามารถเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวเข้าสู่พื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง

 

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอในการจัดการการท่องเที่ยว จำเป็นต้องทบทวนและปรับเปลี่ยนแนวทาง/วิธีการ (Ways) และ เครื่องมือ (Means) ในการบรรลุเป้าหมาย (Ends) โดยจะต้องช่วยกันนำเงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาเป็น “จุดเปลี่ยน” ในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไปสู่หมุดหมายใหม่ที่ดีกว่าในอนาคต หรือเป็นการท่องเที่ยวยั่งยืน Sustainable Tourism รวมทั้ง เป็นการท่องเที่ยวที่สร้างโอกาสและรายได้ให้กับเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นและชุมชน หรือ Local Economy ซึ่งจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งและเตรียมความพร้อมให้กับประเทศในการรับมือภาวะวิกฤตต่างๆ ต่อไปในอนาคต

 

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดทำรายละเอียดการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพและจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย  และเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการวิวัฒน์การท่องเที่ยวแนวใหม่ (New paradigm for tourism) ให้กับประเทศไทย การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ซึ่งให้ความสำคัญกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพผ่านกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศที่ได้มาตรฐานสากล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเน้นการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในระดับพื้นที่โดยการทำอารยสถาปัตย์ด้วยวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดั้งเดิม

 

การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย โดยการสร้างภาพลักษณ์ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพสูง เน้นรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศ ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"