คดีเงินกู้ของอดีตพรรคอนาคตใหม่ กลับมาถูกพูดถึงอย่างหนาหู หลังจากมีกระแส กกต.มีมติดำเนินคดีอาญา ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรค กับพวก ที่เป็นอดีตกรรมการบริหารพรรคอีก 15 ราย ในคดีการปล่อยกู้เงินแก่พรรคอนาคตใหม่ 191.2 ล้านบาท สืบเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ‘ยุบพรรค’ เมื่อ 21 ก.พ.2563 ที่ผ่านมา
เป็นเวลาเนิ่นนาน ที่คดีนี้เงียบหายไปจากหน้าสื่อ กระทั่งกลับมาอีกครั้งเมื่อมีการ ‘กระทุ้ง’ กกต.ให้ชี้แจง กระทั่ง กกต.มีมติดำเนินคดีอาญาดังกล่าว
ร้อนถึงอดีตกรรมการ ‘พรรคสีส้ม’ ต้องรีบแถลงข่าวด่วนอ้างข้อพิรุธ-ความไม่ชอบมาพากลในการดำเนินคดีของ กกต.
ขณะที่ นายธนาธร และนายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ก็แถลงข่าวพร้อมสู้คดีอาญาพรรคอนาคตใหม่กู้เงิน พร้อมประกาศท้าทายว่าภาพยนตร์ยุบพรรคจะไม่จบเหมือนเดิม
"การสู้เท่านั้นถึงจะยุตินิติสงครามได้ หากผู้กำกับภาพยนตร์ยุบพรรคยังคิดเหมือนเดิมว่าทุกอย่างจะจบนั้นท่านคิดผิดและไฟจะลามทุ่งกว่าเดิม" นายปิยบุตรกล่าว
อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงดังกล่าวไม่ต่างอะไรกับแผ่นเสียงตกร่อง?
ประเด็นที่น่าสนใจที่นำไปสู่การดำเนินคดีอาญาแก่ ‘ธนาธร-พวก’ ในคดีนี้ หนีไม่พ้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่บรรยายพฤติการณ์ไว้ละเอียดยิบ โดยเฉพาะ 2 เงื่อนปมสำคัญ
ประการแรก รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนว่า มุ่งให้ประชาชนมีเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง โดยปราศจากการครอบงำ หรือชี้นำจากคณะบุคคลใด เพื่อป้องกันมิให้พรรคการเมืองกลายเป็นธุรกิจการเมือง หรืออาศัยความได้เปรียบมา ‘บงการพรรค’ โดยสอดรับกับมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ ที่ห้ามมิให้บุคคลบริจาคเงินแก่พรรคเกิน 10 ล้านบาท/คน/ปี
แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ธนาธรมีการปล่อยกู้เงินแก่พรรคอนาคตใหม่ 2 ครั้ง รวมวงเงิน 191.2 ล้านบาท ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว ธนาธรได้บริจาคเงินให้แก่พรรคอนาคตใหม่ 8.5 ล้านบาท เท่ากับว่าเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ ซึ่งบริจาคเงินเกิน 10 ล้านบาท
ประการต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญตีความด้วยว่า การปล่อยกู้เงินดังกล่าว คือเป็นการให้ ‘ประโยชน์อื่นใด’ แก่พรรค จึงเข้าข่ายตามมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ โดยธนาธรที่ปล่อยกู้เงิน 2 ครั้ง 191.2 ล้านบาทนั้น มีการคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เท่ากัน ครั้งแรก คิดดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี ครั้งที่สองคิด 2% ต่อปี ทั้งที่การชดใช้เงินครั้งแรกยังไม่แล้วเสร็จ ถือว่าเป็นการ ‘เอื้อประโยชน์’ ให้เป็นกรณีพิเศษ ไม่เป็นไปตามปกติ
และอีกประการ ด้วยข้อเท็จจริงทั้ง 2 ประเด็นข้างต้น คือ ธนาธรปล่อยกู้ พร้อมกับบริจาคเงินเข้าพรรคไปด้วยในช่วงเวลาเดียวกัน และมีการลดดอกเบี้ยเป็นกรณีพิเศษ ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า การที่ธนาธรเป็นหัวหน้าพรรค ให้พรรคอนาคตใหม่กู้ยืมเงินจำนวนมาก กรรมการบริหารพรรคควรรู้ว่าการเป็นหนี้จำนวนมากย่อมก่อให้เกิดการครอบงำ ก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการเงิน มาเป็นผู้ ‘บงการพรรค’ แต่เพียงผู้เดียว ส่งผลให้พรรคการเมืองกลายเป็น ‘ธุรกิจการเมือง’ จึงมีความผิด และถูกยุบพรรคดังกล่าว
นอกเหนือจากข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว หลายคนอาจยังไม่ทราบว่า ธนาธรไม่ใช่แค่การปล่อยกู้เงินเข้าพรรค 191.2 ล้านบาทเท่านั้น นับตั้งแต่ก่อตั้งพรรคจนถึงวันที่พรรคถูกยุบ พบว่า ตระกูล ‘จึงรุ่งเรืองกิจ’ สายธนาธร มีการบริจาคเงินกว่า 55.9 ล้านบาท จากยอดรวมทั้งหมด 145 ล้านบาทเศษ หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดเงินบริจาคทั้งหมดในพรรค?
ดังนั้น ฉากต่อไปของธนาธร กับอดีตกรรมการบริหารพรรค 15 คน ยังมีเงื่อนปมการต้องชดใช้เงิน ‘ส่วนเกิน’ คืนสู่กองทุนพรรคการเมืองด้วยหรือไม่ โดยประเด็นนี้เสียงภายใน กกต.ยังแตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายสำนักงาน กกต. เห็นว่า ควรยึดเงินดังกล่าวเข้ากองทุนฯ ได้ ส่วนคณะที่ปรึกษากฎหมาย กกต. เห็นว่า เมื่อศาลสั่งยุบพรรคไปแล้ว จึงไม่เหลือพรรคอนาคตใหม่ที่จะให้ กกต.ไปยึดเงินคืนกองทุนฯ ได้ ตรงนี้คงต้องรอความชัดเจนจาก กกต.อีกครั้ง
รวมทั้งยังมีการดำเนินคดีอาญา ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง และ กกต.ได้แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีแก่นายธนาธร ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลากหลายมาตรา หากมีความผิดก็จะที่มีโทษจำคุก รวมๆ 10-20 ปี และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งรวมๆ อีกกว่า 20 ปี จึงต้องติดตามว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้เวลาสอบสวนนานเพียงใด คดีจะขึ้นสู่ศาลเมื่อใด และศาลจะมีคำพิพากษาอย่างไร
สุดท้ายของคดีนี้จะออกมาเป็นอย่างไร แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลังจากนี้ชีวิตของ "ธนาธร" ที่มีคนวิพากษ์วิจารณ์ว่าอยู่เบื้องหลังเด็กและเยาวชน หรือมวลชน 3 นิ้ว คงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |