ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมืองอีกเรื่อง กรณี 48 ส.ว. และ 25 ส.ส. พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ร่วมลงชื่อยื่นญัตติต่อประธานรัฐสภาเพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ว่าเนื้อหาขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ บิ๊กตู่- พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม กล่าวว่า "เรื่องนี้ไม่ขอไปก้าวล่วงกระบวนการ เพราะเป็นดุลยพินิจของสมาชิกรัฐสภา ผมไปสั่งใครไม่ได้ ทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเอง เป็นวิถีทางการเมือง เป็นเรื่องที่ต้องเคารพกระบวนการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในภายภาคหน้า" ท่าทีแบบนี้ของผู้นำก็เท่ากับไฟเขียวให้ ส.ส.พรรค พปชร. ร่วมลงชื่อกับ ส.ว.ด้วยนั่นแหละ ที่พิลึกก็คือ 21 ส.ส.พปชร.ที่ลงชื่อกับ ส.ว. ก็เคยร่วมลงชื่อสนับสนุนแก้ไข รธน.ฉบับพรรคร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งย้อนแย้งกับหลักการตัวเอง ...0
ประเด็นสำคัญของผู้เสนอญัตติคือ นายสมชาย แสวงการ ส.ว. และ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พปชร. เห็นว่าร่างแก้ไข รธน. 3 ฉบับ ไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจรัฐสภาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือให้มีการตั้ง ส.ส.ร. ฟังดูก็มีเหตุผล แต่ทำไม วิปรัฐบาล ถึงเสนอร่างแก้ไขให้มีการตั้ง ส.ส.ร. แล้วก็มาส่งตีความภายหลัง เหมือนกับเป็นการตีสองหน้าซื้อเวลาไปอีก ส่วนที่ นายไพบูลย์ กับ นายสมชาย ชี้แจงว่าเพื่อความชัดเจน ทำให้ทุกอย่างราบรื่นและเกิดความสบายใจ ก็ไม่รู้ว่าฝ่ายที่มุ่งมั่นจะแก้ไข รธน.จะสบายใจด้วยไหม เพราะแม้แต่พรรคประชาธิปัตย์ ก็มีมติให้โหวตไม่รับญัตติการยื่นตีความฯ ฝ่ายค้านก็เตือนว่าได้ไม่คุ้มเสีย ...0
การประชุม ครม.ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) รายงานถึงสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มราษฎรว่า "ก่อนหน้านี้ที่จำนวนผู้ชุมนุมเพิ่มสูงขึ้น แต่หลังจากวันที่ 24 ต.ค. ปรากฏว่าจำนวนผู้ชุมนุมเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากการจัดชุมนุมแต่ละครั้ง จะมีประชาชนมาร่วมประมาณ 10,000-15,000 คน เฉลี่ยอยู่ที่ 12,000 คน ส่วนการชุมนุมทั่วประเทศจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 50,000 คน แบ่งเป็นใน กทม.ประมาณ 17,000 คน โดยแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีการเคลื่อนไหวในโซเชียลมีเดีย" จะด้วยเหตุนี้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์จึงยังกอดเก้าอี้แน่น และปล่อยให้ยื่นตีความร่างแก้ไข รธน. แต่อย่างชะล่าใจ ตราบใดที่รากเหง้าของความขัดแย้งคือ ความเหลื่อมล้ำ ความอยุติธรรม ระบบอุปถัมภ์อำนาจนิยม ยังไม่ได้รับการแก้ไขปฏิรูป ก็เหมือนซุกขยะไว้ใต้พรม ที่รอเวลาปะทุอีกเรื่อยๆ ...0
ช่วงนี้ท่วงทำนองท่าที นายอานนท์ นำภา แกนนำม็อบคณะราษฎร 63 ดูเปลี่ยนไปไม่ดุดันเหมือนเดิม วันก่อนโพสต์ว่า "ทางออกของสังคมจึงเป็นการประนีประนอมอย่างที่ในหลวงตรัส" วันนี้โพสต์ว่า "ถ้าการ์ดเราแตกแถว เอาตัวไปอยู่ในภาวะปะทะ หรือทำอะไรให้มีภาพความรุนแรง ขบวนทั้งขบวนเสียหายแน่นอน ในทางกลับกัน ถ้าการ์ดเราแม่ง โคตรนิ่ง และยึดกุมภาพสันติวิธีได้ ภาพที่ออกมาเราชนะ และขบวนก็ชนะด้วย" ถ้าตั้งธงว่าชนะคือต้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ตามข้อเรียกร้อง 10 ข้อในเร็ววันนี้ คงไม่ชนะแน่นอน แต่ถ้ามองการต่อสู้ที่ผ่านมายกระดับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ อย่างกว้างกวางสถาบันฯ ก็เริ่มปรับตัว ก็ถือว่าชนะไปขั้นหนึ่งแล้ว หากจะดันทุรังจะเอาทั้ง 10 ข้อ ก็ต้องเจอการตอบโต้กลับจากฝ่ายปกป้องสถาบันฯ ที่แรงขึ้นและจะเกิดความสูญเสียทั้ง 2ฝ่าย อย่างที่ว่านั่นแหละ การเป็น ผู้นำมวลชน ที่มีความรับผิดชอบต่อมวลชน ต้องกล้าชี้นำแนวทางที่ถูกต้อง! ...0
การหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.-สมาชิก อบจ.ครั้งนี้ บรรดาพรรคการเมืองไม่กล้าส่งผู้สมัครในนามพรรคเกรงทำผิดระเบียบ กกต. ทำให้ คณะก้าวหน้า ของ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นายปิยบุตร แสงกนกกุล น.ส.พรรณิการ์ วานิช ที่ส่งผู้สมัครในคณะก้าวหน้ายึดพื้นที่สื่อแทบทุกวัน แต่ก็เจอกลุ่มรักสถาบันถือป้ายตะโกนใส่ทุกวันเช่นกัน ล่าสุดที่ จ.ระยอง กลุ่มแม่ค้ายืนถือพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่ 9 ถามนายธนาธรว่า "แล้วสถาบันไม่ดีตรงไหน" วันที่ 11 พ.ย.นี้ มีกำหนดการที่ จ.นครศรีธรรมราช ก็เกิดแรงต่อต้านในสังคมออนไลน์อย่างล้นหลาม นี่คือ โลกของความจริง ที่สวนทางกับ ตำรา ที่ ธนาธร กับพวกเชื่อมั่นมาตลอด ทุกฝ่ายจึงต้องปรับตัวให้สอดรับกับภาวะวิสัย สังคมไทยจึงจะอยู่กันด้วยความสงบสุข ...0
แซมซาย
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |