เมื่อ "โจ ไบเดน" ประกาศชัยชนะเพราะนับคะแนนแล้วได้เกิน 270 electoral votes แต่ "โดนัลด์ ทรัมป์" ยังไม่ยอมแพ้
ปกติคู่แข่งที่เห็นคะแนนตัวเองตามหลังมากขนาดนั้น โดยมารยาททางการเมืองก็จะโทรศัพท์ไปแสดงความยินดีกับผู้ชนะ
และผู้ชนะก็จะออกมาบอกว่าได้รับโทรศัพท์จากคู่แข่งแล้ว จึงพร้อมจะปราศรัยเพื่อประกาศชัยชนะ
แต่ในกรณีนี้เมื่อทรัมป์ยังไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ และยืนยันว่าตัวเองยังชนะอยู่ อีกทั้งยังจะร้องเรียนให้นับใหม่และอ้างว่ามีคะแนน "ผิดกฎหมาย" มากมาย
และเขียนทวีตว่า "ผมได้คะแนน 71 ล้านเสียง สูงกว่าอดีตประธานาธิบดีทุกคนที่เคยได้ ดังนั้นผมยังไม่แพ้"
แต่ทรัมป์ไม่ได้เขียนว่าไบเดนได้กว่า 75 ล้านเสียง popular votes ซึ่งเป็นจำนวนคะแนนเสียงสูงสุดในประวัติศาสตร์ของผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี
ไบเดนตัดสินใจปราศรัยเพื่อประกาศชัยชนะ เพราะรู้ว่าทรัมป์จะยังเล่นบท "ขี้แพ้ชวนตี" อยู่ต่อไป
ไม่อาจจะรอให้เขายอมรับความพ่ายแพ้ได้
อีกทั้งยังมีภารกิจสำคัญที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือการจัดการกับโควิด-19 (ด้วยการตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญและนักวิทยาศาสตร์ 12 คนเพื่อทำเรื่องนี้ภายในเมื่อวาน) และแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่หนักหนาสาหัส
ไบเดนได้ "คณะผู้เลือกตั้ง" หรือ state electors หรือ electoral votes แล้วอย่างน้อย 279 เสียง เรียกขานเขาว่าเป็น President-Elect หรือว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 46
จากนี้ไปก็ต้องรอให้แต่ละรัฐรับรองผลการเลือกตั้ง
ต้องรับรองให้เสร็จก่อนวันการประชุม "electors meeting"
รัฐสภากำหนดไว้ว่าการประชุมต้องจัดพร้อมกันทุกรัฐในวันจันทร์หลังวันพุธที่สองของเดือนธันวาคม
กติกาและตารางเวลาของขั้นตอนหลังวันเลือกตั้งวางเอาไว้อย่างละเอียดเพื่อไม่ให้มีการตีความเองของแต่ละรัฐ
ทุกรัฐจะจัดประชุม state electors เพื่อทำการเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี โดยการหย่อนบัตรอย่างเป็นทางการ
การลงคะแนนในขั้นตอนนี้ โดยปกติแล้วจะทำการโหวตตามชื่อผู้สมัครที่แต่ละคนได้สัญญาหรือรับปากรับคำเอาไว้แล้ว
มีการ "เบี้ยว" บางไหม
ก็มีบ้างแต่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นนัก เพราะโดยหลักการแล้วเขาถือว่าในระบอบประชาธิปไตยจะต้องมีความจริงใจและเคารพในกติกา แม้จะไม่ได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเอาไว้ก็ตาม
หากเกิดเหตุการณ์ "งูเห่า" ก็จะเป็นเรื่องอื้อฉาว เป็นรอยด่างของรัฐและเจ้าตัวเอง
เมื่อแต่ละรัฐลงคะแนนเลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีแล้วก็จะส่งผลนั้นๆ ไปยังสภา Congress
คนที่รับผลการลงมตินี้คือประธานของวุฒิสภา ซึ่งรองประธานาธิบดีอันได้แก่ ไมก์ เพนซ์ เป็นประธานโดยตำแหน่ง
ว่าแล้วประธานวุฒิสภาก็จะเรียกประชุมสภารวมทั้งสภาล่างและสภาบนเพื่อทำพิธีเปิดคะแนนรับรองผลอย่างเป็นทางการ
ในกระบวนการนี้สามารถ "สอดไส้" ได้ไหม
ไม่ได้ เพราะผลการโหวตของแต่ละรัฐ นอกจากที่ประธานวุฒิสภาแล้วก็ยังส่งสำเนาผลนี้ไปอีก 3 แห่ง คือ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ, รัฐมนตรีต่างประเทศ และประธานสภาสูงอีกด้วย
และวันที่เปิดผลในสภาคองเกรสนั้น ผู้อำนวยการของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หรือ National Archive ก็จะต้องตรวจสอบผลไปพร้อมกับสำเนาของตนว่าตรงกันหรือไม่
โอกาสจะโกงกันในขั้นตอนนี้ก็ไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
จากนั้นเมื่อเปิดผลคะแนน electoral college แล้ว สภาคองเกรสจะรับรองผล
จากนั้นก็ถือว่า "ว่าที่ประธานาธิบดี" และ "ว่าที่รองประธานาธิบดี" ได้ถูกรับรองแล้ว
เตรียมตัวเข้าพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคมของปีถัดไป
ถ้าถึงวันนั้น ทรัมป์ยังไม่ยอมแพ้จะเกิดอะไรขึ้น
รัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจนว่า เมื่อไบเดนทำพิธีสาบานตนเรียบร้อยวันที่ 20 มกราคมแล้ว ตกเที่ยงวันทรัมป์ก็ต้องออกจากทำเนียบขาว
ถ้าไม่ยอมออกก็เป็นหน้าที่ของหน่วยรักษาความปลอดภัยหรือ Secret Service มาเชิญออกไป
หวังว่าคงไม่ต้อง "อุ้ม" ออกไป
แต่จากนี้ไปถึง 20 มกราคมปีหน้า ทรัมป์ยังเป็นประธานาธิบดีอยู่ เขาจะยังทำอะไรที่ตรงกันข้ามกับไบเดนได้ไหม
โดยประเพณีแล้ว ประธานาธิบดีที่แพ้เลือกตั้งจะไม่ออกกฎหมายหรือทำอะไรที่เป็นนโยบายสำคัญ ๆ เพราะต้องเคารพในอำนาจและสิทธิของคนที่ประชาชนเลือกเข้ามาทำหน้าที่แทนเขา
ถ้าทรัมป์ไม่สนใจและทำอะไรเพี้ยนๆ ที่คาดไม่ถึง ก็คงจะได้เห็นมาตรการที่ไม่เคยได้เห็นมาก่อนเหมือนกัน
ถ้าทรัมป์ฟ้องศาลขอนับคะแนนใหม่ ก็ทำได้ตามขั้นตอน แต่กระบวนการยุติธรรมก็จะเดินตามกรอบเวลาที่รัฐธรรมนูญวางเอาไว้ ล่าช้าออกไปไม่ได้
อีกทั้งกองทัพและหน่วยงานของรัฐทั้งหลายต้องฟังคำสั่งของคนที่ประชาชนเลือกมา
ถ้าทรัมป์กล้าบ้าเลือดไม่ทำตาม "กติกามารยาท" ที่มีมายาวนานก็จะได้เห็นกัน!
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |