2 พ.ค.61 - ผู้สื่อข่าวประจำ จ.สุรินทร์ รายงานว่า ที่หนองพบพระ บ้านหนองมะแซว ต .ตรวจ อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ ชุมชนชาวกวย หรือกูย กว่า 6 หมู่บ้าน ร่วม พิธีแซนยะจู๊ฮ(ไหว้เทพาอารักษ์) ก่อนลงทำนา โดยการแห่เกวียนขนข้าวของเครื่องเซ่นสังเวย หัวหมู ไก่ต้ม และสุรา มาจากคุ้มบ้านต่าง และรำถวาย ที่บริเวณด้านหน้าศาลปูุ่ตา
ชุมชนชาวกวย หรือกูย กว่า 6 หมู่บ้าน ได้ร่วมทำพิธีแซนยะจู๊ฮ(ไหว้เทพาอารักษ์) สืบต่อจากรุ่นสู่รุ่นกว่า 100 ปี และเชื่อว่าสถานที่แห่งนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชา เนื่องจากเดิมทีสถานที่แห่งนี้เคยมี ชาวบ้านขุดพบพระพุทธรูปโบราณ ต่อมาก็มีการสงวนหวงห้าม ไม่ให้มีการขุดอีก เลยกลายเป็นสถานที่นัดร่วมทำบุญพิธีแซนยะจู๊ฮ ก่อนลงทำนาทุกๆปี
ยะจู๊ฮ หมายถึง ผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 อย่าง คือ ผีปูุตา (ยะจู๊ฮผี๊ด หรือ ยะจู๊ฮเพรียม) และ ผีบรรพบุรุษในสายตระกูล (ยะจู๊ฮดุง) ผีปูุ่ตา หมายถึงเทพาอารักษ์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งจะคอยคุ้มครองดูแลคนในหมู่บ้าน ชาวกูยจะปลูกศาลปูุ่ตาไว้ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ในวันขึ้น15ค่ำเดือน6 ของทุกปี จะมีพิธีเซ่นสรวงเรียกว่า แซนยะจู๊ฮ เป็นการทำเพื่อขอบคุณที่ยะจู๊ฮได้บันดาลให้เกิดฝน ทำให้มีผลผลิตไว้เก็บในยุ้งฉาง นอกจากนี้ยังเป็นการขอให้ฤดูปักดำต่อไปเกิดความอุดมสมบูรณ์
พิธีแซนยะจู๊ฮ สะท้อนให้เห็นลักษณะทางวัฒนธรรมของชาวกูย ที่มีความผูกพันกับการทำนาซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิม และสะท้อนให้เห็นความร่วมมือในหมู่คณะ เห็นได้จากการทายเรื่องคางไก่ ทำให้คนในชุมชนระมัดระวังในการเตรียมตัว เพื่อวางแผนในการประกอบอาชีพ พิธีแซนยะจู๊ฮจึงมีบทบาทในการสร้างความมั่นใจให้แก่สมาชิกในครอบครัว และในชุมชน ในการดำเนินชีวิตประกอบภารกิจต่างๆ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |