ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ย. 2563 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) . รฟม. ได้เปิดให้เอกชนยื่นเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด(มหาชน) หรือบีอีเอ็ม เมื่อเวลา 10.53 น. ขบวนรถของบีอีเอ็ม เป็นเอกชนรายแรกที่มายื่นข้อเสนอ ทั้งนี้เอกสารที่มายื่นมี 240 กล่อง ได้แก่ เอกสารด้านคุณสมบัติ, ด้านเทคนิค และด้านการลงทุนและผลตอบแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่เอกชนรายที่สองที่ได้ยื่นซองเอกสารข้อเสนอร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม นำโดยนายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอส นายสุรพงษ์ กล่าวภายหลังยื่นซองการประมูลฯ ว่า วันนี้ได้เดินทางมายื่นซองการประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์–มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โดยประกอบไปด้วย 3 บริษัท คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสจี และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) สัดส่วนถือหุ้นยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นั้น ยังสนใจที่จะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ เราจึงยังใช้ชื่อ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR) ส่วนจะร่วมภายหลังได้หรือไม่นั้นต้องรอดูตอนที่ชนะอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามส่วนเงื่อนไขการประมูลยังไม่สามารถบอกได้เพราะยังอยู่ในระหว่างประกวดราคา การทำข้อเสนอของเราที่เตรียมมาในวันนี้ทำเต็มที่ และยื่นครบทั้งหมด 4 ซอง ได้แก่ คุณสมบัติ เทคนิค การเงิน และข้อเสนอเพิ่มเติม รวม 400 กว่าลัง ส่วนเงื่อนไขเรายังทำตามทีโออาร์แรก
“วันนี้บีทีเอสพร้อมมาก เราเป็นคนทำงานก็ต้องมั่นใจเต็มที่ ถ้าชนะเราอาจจะหาคนที่มาเป็นหุ้นส่วนได้ภายหลัง ส่วนกรณีหลังจากมีคำสั่งศาล รฟม. ยังไม่มีการเรียกคุยอะไร”นายสุรพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท มีผู้มาซื้เอกสารข้อเสนอทั้งสิ้น 10 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 4. บริษัท ซิโน–ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)5. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) 6. บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 7. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) 8. บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) 9. ซิโนไฮโดร คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด และ 10. บริษัท วรนิทัศน์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด
ทั้งนี้ รฟม. ได้เปิดให้เอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างโครงการช่วงตะวันตก ติดตั้งจัดหาระบบรถไฟฟ้า และรับสัมปทานเดินรถตลอดเส้นทาง 35.9 กม. 30 ปี วงเงินรวมประมาณ 1.2 แสนล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนตะวันออก (ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ – มีนบุรี 22.5 กม. 17 สถานี (สถานีใต้ดิน 10 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี) และส่วนตะวันตก (ช่วงบางขุนนนท์ – ศูนย์วัฒนธรรมฯ) 13.4 กม. 11 สถานี (สถานีใต้ดินตลอดสาย) มีกำหนดเปิดบริการ 2 ส่วน โดยส่วนตะวันออกเดือน มี.ค.67 และส่วนตะวันตกเดือน ก.ย. 69.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |