อดีตทูตซัดทหารชอบทวงบุญคุณว่าปกป้องเอกราช ยกสงครามโลกสงครามเย็นไทยชนะเพราะนักการทูตไม่ใช่ทหาร


เพิ่มเพื่อน    

8 พ.ย.63- นายรัศม์ ชาลีจันทร์ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศคาซัคสถาน โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถอะว่า ที่พวกทหารชอบออกมาทวงบุญคุญกันนักหนาว่าเขาเป็นคนคอยปกป้องอธิปไตยรักษาเอกราชให้เราได้มีบ้านเมืองอยู่มาได้จนถึงทุกวันนี้อะไรนั้น มันไม่จริง เพราะในรอบปีร้อยมานี้ หน้าที่หลักดังกล่าวคือเหล่านักการทูตต่างหาก ไม่ใช่ทหาร"

ประโยคนี้พระยาพระหลฯหรือพวกคณะราษฎรไม่ได้กล่าว ผมกล่าวเองแหละครับ

พวกเราไม่ได้เที่ยวออกมาคุย แต่พูดตามตรง ในรอบร้อยปีมานี้ สิ่งที่ทำให้ประเทศไทยอยู่รอดมา รักษาเอกราชและอธิปไตยไว้ได้ ไม่ใช่การทหารนะครับ หากแต่คือการทูต การดำเนินนโยบายต่างประเทศ ที่ขับเคลื่อนโดยบรรดานักการทูต

นับตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคมเมื่อประมาณร้อยกว่าปีมานี้ การทหารของไทยไม่มีขีดความสามารถที่จะรบชนะ รักษาบ้านเมืองไว้ได้ หากเราถูกประเทศตะวันตกโจมตีเพื่อยึดเป็นเมืองขึ้น มีหลักฐานที่ระบุว่าในสมัย ร 3 เหล่าข้าราชการขุนนางไม่มีใครเชื่อว่าอังกฤษจะรบชนะพม่าได้ แต่ต่อมาไม่นานกองทัพพม่าอันเกรียงไกรที่ไทยเกรงขามก็ต้องพ่ายแก่กองทหารอังกฤษที่ไม่ได้ใช้กำลังพลมากมายอะไรนักด้วย จนตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ

ซึ่งตรงนี้ผมคิดว่ามันคือ wake up call ของสยามในตอนนั้นแล้วว่าการทหารของไทยนั้นหมดยุค หรือใช้ปกป้องอธิปไตยไม่ได้อีกต่อไป สยามจึงหันมาใช้กุศโลบายทางการทูตและเอาตัวรอดมาได้จากการตกเป็นเมืองขึ้น (แม้ว่าจะต้องแลกกับหลายสิ่ง ซึ่งวันหลังจะเล่าสู่กันฟังต่อไป)

เรื่อยมาจนเข้ายุคสงครามโลกครั้งที่ 1 สยามส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งนี่ก็คือการใช้การทูต การต่างประเทศนำหน้าการทหาร เราส่งทหารไปช่วยรบในเชิงสัญญลักษณ์มากกว่าที่ไปรบจริงๆ แต่มันเป็นการทูตที่ชาญฉลาดมาก เพราะมันทำให้เรากลายเป็นหนึ่งในประเทศผู้ชนะสงครามไป

มาจนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง การทูตของไทยช่วงนี้คือสุดยอดจริงๆ และเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถประคองตัวจนรอดมาได้จากภัยคุกคามอันใหญ่หลวง แถมโก้เก๋มากที่เราไม่ต้องกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงครามอีกต่างหาก

ลากยาวมาถึงช่วงสงครามเย็น ที่การทูตไทยโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคนี้โดยการเป็นผู้อยู่เบื้องหลังผลักดันการก่อตั้งสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จนสำเร็จ ซึ่งกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญทางการทูตของไทย ที่ช่วยคานการรุกรานของประเทศเพื่อนบ้านที่เปลี่ยนระบบการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ในช่วงนั้น

แล้วต่อไปจนถึงยุคเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้าในยุครัฐบาลน้าชาติอันลือลั่นที่ผลิกโฉมหน้าของภูมิภาคนี้ไปตลอดกาล

เหล่านี้ก็คือการทูต การดำเนินนโยบายต่างประเทศทั้งนั้นนะครับ ที่สร้างความมั่นคง ผาสุก และรักษาเอกราชและอธิปไตยของประเทศชาติเอาไว้

ไม่ใช่การทหาร

และที่พูดมาทั้งหมดนี้ก็คืออยากบอกว่า สมมุติว่างบประมาณของประเทศเราคือร้อยบาท จากบรรดางานทั้งหมดที่พวกเราต้องทำ ท่านทั้งหลายคิดว่ากระทรวงการต่างประเทศได้รับการจัดสรรสักเท่าไหร่จากร้อยบาทนี้?

20 บาท? 10 บาท? 5 บาท? 1 บาท?

เราได้ไม่ถึง 50 สตางค์นะครับ มากกว่าสลึงเล็กน้อย คือ 0.38

แล้วคุุณก็คิดเอาแล้วกันว่าใครที่ได้งบประมาณมหาศาล ว่าเขาเอาไปทำอะไร? หน้าที่ปกปักรักษาเอกราชอธิปไตยเขาทำได้จริงแค่ไหน? คุ้มค่าอย่างไร?

แม้จะไม่ได้ดีเลิศประเสริฐศรีไปหมด ที่ห่วยน่าอายก็มี แต่พวกเราเหล่านักการทูตไม่ได้เที่ยวมาคุย หรือคอยลำเลิกบุญคุญประชาชน ในการทำหน้าที่ตนเอง

ดีกว่าพวกชอบคุย แต่หน้าที่จริงของตนเองไม่ทำ กลับไปทำในสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ ที่ตัวเองไม่มีความรู้อะไร จนประเทศชาติถอยหลังในทุกมิติ จ้องคอยแต่กดขี่ประชาชนที่จ่ายภาษีเลี้ยงดูตนเองไปวันๆ

และอย่างที่บอกว่าพวกเรานักการทูตไทยก็มีข้อบกพร่องและผิดผลาด

หลายสิ่งหลายอย่างผมก็ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินงานของกระทรวงการต่างประเทศ แต่ในภาพรวมเมื่อเทียบงบประมาณอันน้อยนิดกับงานทั้งหมดที่เราทำ

ผมคิดว่าอย่างน้อยก็น่าจะพอคุ้มค่าอยู่บ้างนะครับ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"