7 พ.ย.63 - พล.ท.พงศกร รอดชมภู อดีตแกนนำพรรคอนาคตใหม่ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยมีรายละเอียดดังนี้
แตะโครงสร้าง ๑
๑. รูปแบบรัฐ อำนาจอธิปไตย และหลักประกันสิทธิเสรีภาพ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญของไทยและบางประเทศมีการห้ามการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐและระบอบการปกครองไว้
ดังนั้นประเทศไทยต้องเป็นรัฐเดี่ยวและมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเท่านั้น
ในบางประเทศมีการให้ทำประชามติได้ว่าประชาชนชอบอย่างไรเป็นระยะ ๆ เพื่อไม่ให้รัฐธรรมนูญตายตัวเกินไป พูดง่าย ๆ คือฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ด้วย ดังนั้นใครอยากเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้จึงทำไม่ได้ นอกจากขอเปิดช่องให้มีการฟังเสียงประชาชนตามระยะเวลาเช่นครั้งละ ๒๐ ปี เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ความพยายามเรียกร้องให้ไทยเป็นสหพันธรัฐจึงเป็นไปไม่ได้ อีกทั้งขนาดของประเทศเล็ก การแยกตัวแบบนั้นจะทำให้การค้าขายยากลำบาก ต้นทุนสูง ในยุโรปนิยมรวมตัวกันเป็นรัฐขนาดใหญ่เช่นสหภาพยุโรปเพราะอำนาจต่อรองมากกว่าและต้นทุนสินค้าในกลุ่มเดียวกันถูกลง เป็นต้น ทางออกในเรื่องนี้คือการคืนอำนาจให้ทัองถิ่นมากกว่าสหพันธรัฐ ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
เรื่องอำนาจอธิปไตย จะพูดถึงประชาชนและสถาบันพระมหากษัตริย์ไปพร้อมกันว่า ประชาชนเป็นจุดตั้งต้นของอำนาจ สถาบันฯเป็นผู้ทรงใช้อำนาจนั้น
ถ้าจะเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์นี้โดยยังคงระบอบการปกครองไว้เช่นเดิม ก็ต้องดูเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรป ในความเห็นส่วนตัวแล้วไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก ประเด็นอื่น ๆ อยู่ในโพสต์เรื่องพระราชอำนาจเปรียบเทียบไปแล้ว
อำนาจอธิปไตยที่ควรสนใจแล้วไม่มีในรัฐธรรมนูญไทยเลยคือ อำนาจของประชาชนในการต่อสู้กับการรัฐประหารและรักษารัฐธรรมนูญไว้ เหมือนที่สหรัฐฯรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขครั้งที่ ๒
เพราะเมื่อเกิดรัฐประหาร จะเป็นช่องว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ อำนาจอธิปไตยกลับคืนสู่ประชาชน จังหวะนี้ประชาชนสามารถสถาปนาอำนาจอธิปไตยขึ้นมาใหม่ได้ เพราะประชาชนมาก่อนรัฐธรรมนูญ แต่ถ้ารอให้มีรัฐประหารแล้วให้ประชาชนมือเปล่าสู้ก็ไม่เคยมีในประวัติศาสตร์ ว่าจะชนะถ้าไม่จับอาวุธ ดังนั้นการเปิดช่องให้ประชาชนสะสมอาวุธได้เท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันรัฐประหารได้จึงเป็นการสมควร ส่วนจะถึงขนาดมีปืนกลหรือไม่ก็ไปว่ากันในระดับพระราชบัญญัติได้
การป้องกันรัฐประหารดีตรงที่ไม่ให้คณะรัฐประหารทำอะไรได้ตามใจ เพราะอาจใช้กระดาษใบเดียวเปลี่ยนองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองใด ๆ หรือแม้แต่กฎมณเฑียรบาลที่ปกติมีแต่องค์พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่จะทรงแก้ไขได้ หรือถึงขนาดเปลี่ยนรูปแบบของรัฐและการปกครองก็ทำได้เช่นในอเมริกาใต้ ตะวันออกกลางหรืออาฟริกา จึงเห็นได้ว่าการรัฐประหารเป็นภัยต่อการเมืองในทุกมิติไม่ใช่เฉพาะนักการเมืองอย่างที่เข้าใจกัน
สิ่งสำคัญในหมวดต้น ๆ ของรัฐธรรมนูญที่เราควรแก้ไขคือ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมาย
จริงอยู่ในรัฐธรรมนูญจะเขียนรับรองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้แต่ตอนท้ายจะเขียนว่าให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดในระดับพระราชบัญญัติ แล้วกฎหมายนั้นก็ไปห้ามทุกอย่าง
การแก้ไขนั้นก็ต้องบังคับในรัฐธรรมนูญถึงสิทธิ เสรีภาพในบางเรื่องว่าห้ามมีกฎหมายจำกัด เช่น การก่อตั้งสมาคมหรือมูลนิธิในไทย กฎหมายจะห้ามมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง แต่ในสหรัฐฯ ยุโรปจะไม่ห้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมนีรัฐธรรมนูญให้เสรีภาพในการมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองโดยห้ามจำกัดไว้ เป็นต้น
ในเรื่องอื่น ๆ เช่นการชุมนุม เยอรมนีให้เสรีภาพในการชุมนุมโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและรัฐมีหน้าที่อำนวยความสะดวก
หรือสิทธิในการตั้งสหภาพที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมืองด้วย ในยุโรปให้สิทธิเหล่านี้ในหลายประเทศ ส่วนของไทยจะห้ามการตั้งสหภาพในธุรกิจเอกชน เป็นต้น
การแตะโครงสร้างเหล่านี้ ยกมาเพียงประเด็นสำคัญ ๆ ที่มีผลต่อสังคมเป็นวงกว้าง หากใครศึกษาเปรียบเทียบ แล้วนำเสนอกันมาก ๆ ก็จะเป็นประโยชน์
ที่จริงวิธีนี้คือการปฏิรูป แต่พอเจอปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แล้วเห็นเขียนเรื่องที่จะปฏิรูปลงในรัฐธรรมนูญในเรื่องหยุมหยิมและกลายเป็นกระชับอำนาจรัฐราชการแล้ว เลยไม่กล้าใช้ เพราะเห็นทีไรก็แค่สร้างวาทกรรมทางการเมืองเรียกคนเท่านั้นครับ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |