7 พ.ย. 2563 นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เปิดเผยถึงแนวทางการดำเนินงานของแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(พีดีพี 2561-2580) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ว่ากระทรวงพลังงานเตรียมประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่องปริมาณไม่เกิน 150 เมกะวัตต์ จากกรอบการรับซื้อทั้งหมด 1,933 เมกะวัตต์ในปี 2563-2567 มีกำหนดจ่ายไฟเข้าระบบภายในปี 2566 ทั้งนี้เบื้องต้นต้องประเมินผลสำเร็จจากการดำเนินโครงการนำร่องก่อนนำไปพิจารณาขยายในเป้าหมายรับซื้อส่วนที่เหลือ หากไม่ประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง 150 เมกะวัตต์ อาจจะพิจารณายกเลิกการดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือทั้งหมด 1,933 เมกะวัตต์
"การประมูลแข่งขันด้านราคาต้องคำนึงถึงศักยภาพสายส่งที่จะมารองรับ และศักยภาพเชื้อเพลิงที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งทบทวนปรับปรุงนโยบายรับซื้อไฟฟ้าชุมชนในรูปแบบที่ทำให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรและชุมชนสูงสุดที่ขนาดโรงละ 3-6 เมกะวัตต์"นายวัฒนพงษ์ กล่าว
ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าเร่งด่วน(ควิก วิน) 100 เมกะวัตต์ ที่เดิมกำหนดอยู่ในโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนและโควต้าที่เหลือจากโรงไฟฟ้าของเอกชนรายเล็กขนาดเกิน 10 เมกะวัตต์ แต่ไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ (เอสพีพี ไฮบริด) แต่มีปัญหาโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จแล้ว แต่ไม่สามารถขายไฟได้ เนื่องจากติดปัญหาสายส่งในอดีต ให้เปลี่ยนเป็นโรงไฟฟ้าขยายผล คาดว่าจะเปิดรับซื้อด้วยวิธีแข่งขันด้านราคา(ประมูล)ต้นปี 2564 โดยกำหนดราคารับซื้อเบื้องต้นไม่เกิน 2.44 บาทต่อหน่วย เพื่อไม่ทำให้เกิดภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้า
ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างหารือร่วมกับสนพ. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ถึงแนวทางการลดระดับกำลังไฟฟ้าสำรองในระยะสั้น (Reserve Margin) ลงมาอยู่ที่ 15-17% ให้ได้ตามแผนกำหนด จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 40% เช่น การขายไฟฟ้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน และเร่งปลดโรงไฟฟ้าเก่าออกจากระบบเร็วขึ้น เป็นต้น คาดว่าจะได้ข้อสรุปชัดเจนภายใน 6 เดือน
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยลดตต่ำลง กระทบต่อการบริหารจัดการพลังงานในภาพรวม และอาจเป็นเหตุให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น จนกลายเป็นการเพิ่มภาระค่าไฟฟ้าต่อประชาชนได้
“กำลังสำรองไฟฟ้าในอนาคตต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รถไฟฟ้า รถไฟทางคู่ ระบบกักเก็บพลังงาน แบตเตอรี่ และการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี) โดยสัปดาห์หน้ามีกำหนดการหารือกับกระทรวงอุตสาหกรรมถึงแนวนโยบายสนับสนุนรถยนต์อีวีในกลุ่มประชาชน และหน่วยงานราชการ เพื่อกำหนดทิศทางการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพื่อนำมาจัดทำแผนพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าใหม่สำหรับปี 2022 ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อไป”นายวัฒนพงษ์ กล่าว
อย่างไรก็ตามกระทรวงพลังงานทบทวนและจัดทำแผนพีดีพี รวมถึง 5 แผนพลังงาน เพื่อเตรียมเสนอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) พิจารณาภายใน 6 เดือน ได้แก่ แผนพีดีพี(พีดีพี) แผนประหยัดพลังงาน(อีอีพี) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (เออีดีพี) แผนน้ำมัน(ออยล์แพลน) แผนแก๊ส(แก๊สแพลน) โดยเป็นแผนระยะสั้น 5 ปี และระยะยาว 10 ปี เพื่อให้สามารถปรับแผนได้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |