แห่งเดียวในไทย มหกรรมแนะแนว เด็กพิการเรียนไหนดี ‘ปั้นฝันเป็นตัว’


เพิ่มเพื่อน    

 

สสส.-กระทรวงการอุดมศึกษาฯ-บ.กล่องดินสอ-true ICON Hall มูลนิธิด้วยกันเพื่อคนพิการและสังคม จัดมหกรรมแนะแนวการศึกษาแห่งเดียวในประเทศ “เด็กพิการเรียนไหนดี ’64” นักเรียนทุกประเภทความพิการจากทั่วประเทศกว่า 300 คน พร้อมแล้วไขกุญแจสู่อนาคตด้วยการศึกษา ตอกย้ำความพิการไม่ใช่ข้อจำกัดของการศึกษา เพิ่มทางเลือกให้เด็กพิการเข้าถึงการศึกษาเท่าเทียม กระตุ้นทักษะ ค้นหาตัวเอง สร้างแรงบันดาลใจ ส่งเสริมทางที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ สร้างสุขภาวะกาย-ใจ-ปัญญา-สังคม

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และบริษัท กล่องดินสอ จำกัด จัดงานมหกรรมแนะแนวการศึกษาคนพิการแห่งเดียวในประเทศ “เด็กพิการเรียนไหนดี ’64” ตอน ปั้นฝันเป็นตัว เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ที่ทรู ไอคอนสยาม ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กทม. มุ่งเพิ่มทักษะให้เด็กพิการได้เข้าถึงระบบการศึกษาเท่าเทียมเด็กทุกคน ส่งเสริมขับเคลื่อนสู่นโยบายระดับชาติ ได้รับความสนใจจากนักเรียนทุกประเภทความพิการจากทั่วประเทศกว่า 300 คนเข้าร่วมงาน โดยมีผู้ปกครองและครูนำเด็กพิการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจยิ่ง 

 

 

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 8) สสส. กล่าวว่า สสส. มีบทบาทเติมเต็มให้เด็กพิการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ประคับประคองเด็กกลุ่มนี้ให้เรียนจบ มีตัวช่วยเครื่องช่วยเรียนสำหรับเด็กพิการทางสายตา และพิการทางการได้ยิน การนำ AI เข้ามาใช้เป็นสื่อเสียงด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เด็กพิการเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ เด็กกลุ่มนี้ต้องแข่งขันกับเด็กทั่วไปที่มีความพร้อมกว่า ต้องฝ่าฟันอุปสรรคกว่าจะเรียนจบระดับมัธยมศึกษา ปีนี้จัดมหกรรมแนะแนวการศึกษาเพื่ออนาคตคนพิการเป็นปีที่ 3 แล้ว (ปีแรกจัดที่ สสส. ปีที่ 2 จัดที่ TRUE บางนา) ขณะนี้มีหลายบริษัทให้ความสนใจที่จะรับเด็กพิการเข้าไปทำงานด้วย เพราะเด็กกลุ่มนี้มีความสามารถไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเด็กปกติ มีหลายร้อยบริษัทที่พร้อมรับเด็กพิการเข้าทำงานกว่า 7,000 อัตราแล้ว

 

ภรณีกล่าวว่า ในปี 2563 พบคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการได้รับการศึกษา 1,533,159 คน ในจำนวนนี้ศึกษาระดับชั้นประถมศึกษามากที่สุด 1,249,795 คน รองลงมา ได้แก่ ระดับชั้นมัธยมศึกษา 169,606 คน ประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา 35,085 คน  ไม่ระบุการศึกษา 24,402 คน และอุดมศึกษา 21,220 คน จากผลสำรวจของภาครัฐชี้ให้เห็นว่า คนพิการได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยน้อยที่สุด

 

 

นอกจากนี้ยังพบคนพิการที่ไม่ได้รับการศึกษา 69,371 คน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยแวดล้อมในครอบครัว สภาพร่างกายที่อาจจะทำให้ผู้ดูแลมองว่าไม่เอื้อต่อการเรียน รวมถึงสถานะทางการเงินที่มีส่วนทำให้คนกลุ่มนี้ขาดโอกาสเข้าถึงการศึกษา “ที่ผ่านมา สสส.พยายามส่งเสริม เพิ่มทักษะให้เด็กพิการทุกคนได้รับโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียมเหมือนเด็กทุกคน ด้วยการสร้างความรู้ที่ตรงศักยภาพคนพิการ ให้มองเห็นเส้นทางที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ เพราะเชื่อว่าสิ่งที่เรียนรู้ไปจะสามารถทำให้คนกลุ่มนี้นำไปพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นรายได้มั่นคง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยที่ไม่รู้สึกแตกต่างจากคนอื่น” ภรณีกล่าว

 

ภรณีกล่าวต่อว่า สำหรับงานมหกรรมแนะแนวการศึกษาเพื่อคนพิการ จัดขึ้นครั้งที่ 3 มีวัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อให้นักเรียนพิการได้เรียนรู้ค้นหาตนเอง และวางแผนเลือกเรียนในโรงเรียน สถาบันหรือมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับความต้องการ 2.เพื่อให้นักเรียนพิการ   ได้เรียนรู้เส้นทางการศึกษาต่อระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา 3.เพื่อให้นักเรียนพิการได้เรียนรู้เทคนิคการเรียนและการสอบในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยอาชีวศึกษา รวมถึงเส้นทางการประกอบอาชีพในอนาคตจากรุ่นพี่นักศึกษาพิการ และ 4.เพื่อให้ผู้ปกครองของนักเรียนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลและตัวเลือกทางการศึกษา ต่อเนื่องงานเชิงรุกที่ขับเคลื่อนการจ้างงานเชิงสังคม ทำให้คนพิการสามารถเข้าสู่การมีอาชีพมีงานทำได้ จำนวนกว่า 7,000 อัตรา และสร้างโอกาสให้คนพิการได้ทำงานแล้วกว่า 20,000 โอกาสงาน

 

“โจทย์ใหญ่ที่ สสส.ตั้งใจทำคือ สร้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ให้เด็กที่พิการเท่าเทียมในสังคม แม้ร่างกายของเขาจะแตกต่าง แต่ศักยภาพและทักษะของคนกลุ่มนี้ล้ำเลิศไม่แพ้กับเด็กทุกคน โดยสร้างพื้นที่ชุมชนออนไลน์ผ่านเพจ “เด็กพิการเรียนไหนดี” และกลุ่ม Facebook “เด็กพิการอยากเรียนมหา’ลัย” โดยมุ่งพัฒนากลไกสนับสนุนการออกแบบ สร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้รองรับวิถีชีวิตคนพิการ ปีนี้ใช้ชื่อตอน “ปั้นฝันเป็นตัว” มีเป้าหมายให้คนพิการค้นหาตัวเอง เน้นแนะแนวทางการเรียน สอนวิธีสร้างแฟ้มสะสมงานให้น่าสนใจ พร้อมเผยเคล็ดไม่ลับเทคนิคตอบคำถามสัมภาษณ์ให้เด็กพิการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น ซึ่งพบว่าปีที่ผ่านมามีเด็กพิการสนใจศึกษาต่อระดับชั้นปริญญาตรีร้อยละ 76 ที่เหลือสนใจวิชาสายอาชีพ ปวช.-ปวส.มากขึ้น” ภรณีกล่าว

 

ภรณีกล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำรวจข้อมูลนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา

 

ปีการศึกษา 2562 พบว่ามีจำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาพิการในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 2,961 คน ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี 2,695 คน ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 2,695 คน มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพมากที่สุด รองลงมาความบกพร่องทางการได้ยิน และความบกพร่องทางการเห็น จะเห็นได้ว่าในช่วง 10 ปีย้อนหลัง จำนวนเด็กพิการเรียนระดับอุดมศึกษามากที่สุดในปี 2559 จำนวน 3,258 คน อันดับ 2 ในปี 2561 จำนวน 3,055 คน จำนวนน้อยที่สุดในปี 2554 จำนวน 1,998 คน มีนักศึกษาพิการเรียนต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ประมาณเกือบ 10 คน

 

ส่วนใหญ่จะศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ รองลงมาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ลำดับต่อไปเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และวิทยาลัยชุมชน เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่จบแล้วไม่มีงานทำ เลือกที่จะศึกษาต่อ ทำงานส่วนตัว หรือทำงานภาคเอกชน

 

 

ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า งาน “เด็กพิการเรียนไหนดี ’64” ที่ สสส. และภาคีเครือข่ายขับเคลื่อน นับเป็นนวัตกรรมส่งเสริมการศึกษาเพื่อคนพิการที่ทันสมัย โดดเด่น เพราะเน้นสร้างสังคมแบบ Inclusive มุ่งผลักดันความเท่าเทียมทางการเรียนรู้ เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่คือ ปั้นความฝันคนพิการให้เป็นความจริง โดยที่ไม่ทำให้ปัจจัยทางร่างกายหรือสติปัญญามาเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้

 

“การผลักดันให้คนพิการเข้าถึงระบบการศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ตั้งใจขับเคลื่อนในระดับนโยบายมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การมอบทุนสนับสนุนให้คนพิการได้ศึกษาต่อในระดับชั้นอุดมศึกษามากขึ้นกว่าเดิม รวมไปถึงการช่วยกำกับ ดูแล ขอความร่วมมือมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมองเห็นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม มอบโอกาสให้คนพิการได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย รวมไปถึงพิจารณาปรับอัตราเงินอุดหนุนคนพิการ ส่งเสริมคนกลุ่มนี้ได้เรียนต่อในระดับอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัยเหมือนเด็กทุกคน” ผศ.ดร.ดวงฤทธิ์กล่าว

 

ทั้งนี้ มีบูธจากศูนย์บริการ นศ.พิการ มหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวศึกษา หน่วยงานผู้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาคนพิการ บริษัท กล่องดินสอ จำกัด มูลนิธิด้วยกันเพื่อคนพิการและสังคม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสยาม วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน วิทยาลัยเทคโนโลยีพระมหาไถ่ พัทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาลัยเทคนิคบางแสน มหาวิทยาลัยเซาท์อีสกรุงเทพฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บูธกิจกรรมเวิร์กช็อป เวิร์กช็อปปั้นฝันเป็นตัว เวิร์กช็อปสอนวิธีทำ Portfolio เวิร์กช็อปเพิ่มความมั่นใจในการสัมภาษณ์

 

ธนัญชกร สันติพรธดา หรือ “น้องแอล” พิการทางการเห็น (ตาบอดสนิท) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา โดยใช้ความสามารถสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระบบกลาง (Admission) ซึ่งเป็นการสอบแข่งขันกับเด็กไม่พิการ กล่าวว่า เข้าร่วมกิจกรรมนี้ โดยมุ่งหวังอยากให้รุ่นน้องคนพิการได้รับความรู้เรื่องการสอบเข้าและการเรียนต่อในระดับชั้นอุดมศึกษา เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดกับคนพิการ “รู้สึกดีใจที่มีงานนี้เกิดขึ้นให้กับรุ่นน้องคนพิการ เพราะมองว่างานที่ส่งเสริมด้านการศึกษาแก่คนพิการจริงๆ นั้นมีน้อยมาก และจะทำให้น้องๆ คนพิการได้รับความรู้จากงานนี้ไปเพิ่มมากขึ้นจริงๆ” ธนัญชกรกล่าว

 

สำหรับภายในงานมีกิจกรรมน่าสนใจ อาทิ บูธการรับเข้าและดูแลนักศึกษาพิการจากศูนย์บริการนักศึกษาพิการของมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษากว่า 18 สถาบัน กิจกรรมเวิร์กช็อปปั้นฝันเป็นตัว การทำแฟ้มสะสมผลงาน และเทคนิคการสอบสัมภาษณ์ รวมถึงเพิ่มพลังใจจากการรับฟังรุ่นพี่นักศึกษาคนพิการด้านต่างๆ อาทิ ครูไอซ์ ดำเกิง มุ่งธัญญา, น้องธันย์ ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ เพื่อให้นักเรียนคนพิการได้รับข้อมูลด้านการศึกษาที่รอบด้าน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจวางแผนการศึกษาต่อที่ชัดเจนมากขึ้น

 

 

คนเบื้องหลัง : งานเด็กพิการเรียนไหนดี...

ฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้ก่อตั้ง บริษัท กล่องดินสอ จำกัด fb klongdinsor (จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์ และปริญญาโท MBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

ผลงานของ บ.กล่องดินสอในช่วงเริ่มต้น จัดกิจกรรมเชิญชวนคนพิการ จำนวน 2,000 คน ออกมาวิ่งใน 7 จังหวัด กทม. เชียงใหม่ อุดรธานี โคราช ฉะเชิงเทรา ชลบุรี สุราษฎร์ธานี ทั้งนี้ งบประมาณครึ่งหนึ่งมาจาก สสส. อีกครึ่งหนึ่งมาจากบริษัท Brand เอกชน เป็นการสร้างเครือข่ายต่างประเทศเพื่อสนับสนุนในการจัดทำกิจกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีของคนพิการในการออกกำลังกาย กรุงเทพฯ เอ็กซ์ตรา น้ำตาลลินน์ UOB ร่วมมือกับ facebook สหรัฐสร้างชุมชนคนพิการบนโลกออนไลน์ และ offline จับมือกับ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ทำสคริปต์กิจกรรมเผยแพร่ทางวีดิทัศน์ เพื่อช่วยกันพัฒนาอาชีพให้กับคนพิการ ทำหนังสือคู่มือจัดงานวิ่ง

 

จากประสบการณ์ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ในช่วงแรกบริษัทเอกชนชูใจ&Friends ไม่กล้าจ้างคนพิการเข้าทำงาน เพราะยังไม่เคยเริ่มต้นมาก่อน ด้วยหวั่นเกรงว่าจะเป็นภาระของผู้จ้างและจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน แต่เมื่อเริ่มต้นรับคนพิการเข้าทำงานแล้ว ปรากฏว่าได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพและเพื่อนร่วมงานก็พอใจที่จะทำงานร่วมกับคนพิการ ทุกคนลงความเห็นว่าไม่ได้เป็นภาระแต่อย่างใด มีการนำเสนอเป็นวีดิทัศน์ “คนตาบอดอย่างเราจะทำอะไรได้ เป็นที่หงุดหงิดสายตาคนอื่น จะทำให้เขาไม่สบายใจ แต่เมื่อทดลองฝึกงานแล้วเก็บประสบการณ์ชีวิต ต่างฝ่ายก็มีความสุขที่ได้ทำงานด้วยกัน”

 

นลัทพร ไกรฤกษ์ บรรณาธิการ www.thisable.me (จบปริญญาตรีศิลปกรรม เอกสีน้ำมัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นลัทพร ไกรฤกษ์ มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินไม่ได้ตั้งแต่เกิด เมื่อเรียนชั้นประถมปีที่ 4 นั่งรถเข็นจนถึงวันนี้ สมัยเด็กเรียน รร.ศรีวิกรม์ รร.สมถวิล เมื่อเรียนจบจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็มีความพร้อมที่จะทำงานกับเพื่อนปกติ และเป็นคนพิการเพียงคนเดียวที่ทำงานกับคนปกติในกองบรรณาธิการ เนื่องจากหนังสือเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับคนพิการ ในฐานะบรรณาธิการดูแลเนื้อหาในการนำเสนอเรื่องและกิจกรรมที่เกี่ยวกับคนพิการหลายประเภท ได้รับผิดชอบงานเป็น บก. 4 ปีมาแล้ว มีน้องทีมงานช่วยเขียน Content Edit แต่เมื่อมีงาน survey ก็จะออกไปทำงานด้วยกัน

 

สำนักงานอยู่ย่านเอกมัย ครอบครัวไม่มีใครทำงานในวงการหนังสือมาก่อน เนื่องจากคุณพ่อเป็นวิศวกร ส่วนคุณแม่จบจากวิทยาลัยครู ทำงานด้านบัญชี ส่วนน้องสาวทำงานด้านการตลาด แต่งานดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับคนพิการที่จะทำงาน รวมถึงการออกงานตามนอกสถานที่ต่างๆ

 

โซนกิจกรรมต่างๆ การทำ workshop

กิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กรู้เป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากเรียนต่อในสาขา คณะใด รู้ทิศทางของตัวเองจากการสะสมแฟ้มผลงาน การทำตามระเบียบรับสมัครที่มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งกำหนดไว้ หน้าปกแฟ้มควรนำเสนอด้วยภาพนักเรียนด้วยอิริยาบถต่างๆ มีการดีไซน์เรื่องราวที่น่าสนใจเพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกจากผลงานการนำเสนอเพื่อสอบสัมภาษณ์

 

ครูวิไลลักษณ์ ศรีวิชัย ครูกชพร คงสุข นำเด็กๆ มาจากโรงเรียนโสต ขอนแก่น นครปฐม เด็กกลุ่มนี้ใช้ภาษามือได้ เพื่อมาดูงานเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์ เด็กกลุ่มนี้สมองดีเป็นปกติ เพียงแต่เขาพูดไม่ได้ การทำงานเด็กส่วนใหญ่ยังเขียนด้วยลายมือ ปกติครูจะให้ความเอาใจใส่เด็กพิการมากกว่าเด็กปกติอยู่แล้ว เด็กพิการเมื่อเรียนจบแล้วก็จะไปทำงาน อบต. อบจ. หรือเป็นลูกจ้างห้างร้านเอกชน ทำงานได้เป็นที่พอใจของนายจ้าง

 

 

การสอบเข้ามหาวิทยาลัยปัจจุบันเด็กเลือกได้ถึง 10 อันดับ เพื่อให้เด็กได้รับสิทธิ์เข้าเรียนมากที่สุด ทุกมหาวิทยาลัยเปิดรับได้เองเป็นรอบที่ 1 ตามที่นั่งของมหาวิทยาลัย มีการรับแบบโควตา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่รับนักศึกษาในโควตาภาคเหนือ มหาวิทยาลัยบูรพารับนักศึกษาภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากรรับนักศึกษาโควตาภาคกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์รับนักศึกษาโควตาภาคใต้ เด็กอยู่ในพื้นที่ภาคใดก็เลือกเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงกับบ้านของตัวเอง ด้วยการสมัครสอบเข้าเรียนได้โดยตรง สอบข้อเขียนที่มหาวิทยาลัยจัดสอบเอง หลักเกณฑ์การสอบนักศึกษาควรเลือกคณะที่ตัวเองชอบมากที่สุด

 

มหาวิทยาลัยบางแห่งจะมีการสอบสัมภาษณ์ด้วย สิ่งสำคัญที่จะสร้างความมั่นใจคือ การสร้างรอยยิ้ม ผู้สัมภาษณ์จะเชิญผู้ถูกสัมภาษณ์ให้นั่งเก้าอี้เป็นสัญญาณแรกของการเริ่มต้นสัมภาษณ์ ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยืนยืดอกผายไหล่ผึ่ง ต้องไม่ยืนแบบห่อไหล่ ขาดความมั่นใจในตัวเอง หายใจลึกๆ ยาวๆ การแต่งตัวก็ควรให้ถูกกฎระเบียบ หวีผมให้เรียบร้อย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"