แอป “Sati” ฮีโร่สุขภาพ ตัวช่วยเด็กซึมเศร้าเปิดใจ


เพิ่มเพื่อน    

          ปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งช่องทางในการขอความช่วยเหลือในบ้านเรา แม้จะมีหลายช่องทางก็จริง แต่อาจติดขัดในแง่ของบุคลากรในการเป็นผู้รับฟังปัญหาโรคซึมเศร้าที่พบในเยาวชนและวัยผู้ใหญ่ เพราะจากข้อมูลในต่างประเทศพบว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นหากได้พูดคุยและได้ระบายกับผู้ฟังที่รับฟังด้วยใจ จะทำให้อุบัติการณ์คิดสั้นฆ่าตัวตายลดลงได้

            เมื่อเร็วๆ “เดอะนุก” (The Nook) ซึ่งก่อตั้งโดยบริษัท เลิฟ แฟรงกี้ (Love Frankie) ร่วมกับบริษัท Acorn  & Associates ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาสุขภาพจิตได้เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Sati เพื่อเป็น "ตัวช่วย" ในการเข้าถึงเข้าใจภัยเงียบที่มากับความเปลี่ยนแปลงของสังคมยุคดิจิทัล

            คุณอมรเทพ สัจจะมุณีวงศ์ นักเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสุขภาพจิต ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน “Sati ที่อาศัยประสบการณ์ตรงในการเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หลังจากได้รับการรักษาและอาการดีขึ้นเป็นลำดับ มาช่วยเหลือผู้ที่มีภาวะของโรคซึมเศร้า บอกว่า แอปพลิเคชัน Sati จะช่วยทำให้คนที่มีความเครียดสูงหรือมีปัญหาสุขภาพจิตที่ไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาอะไร สามารถที่จะเข้าถึงผู้รับฟังได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ฟังเหล่านี้จะได้รับการอบรมมาด้วยการฟังด้วยใจเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะเป็นผู้ฟังอย่างไม่ตัดสิน ฟังอย่างเปิดหูและเปิดใจ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่จะช่วยคนให้สามารถลดความเครียดลงได้ ช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้สึกว่ามีคนเข้าใจเขา และรู้สึกว่าเขาไม่ได้อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

ตอนนี้แอปพลิเคชัน Sati กำลังรอที่จะใช้งาน และเราหวังว่าจะใช้ได้ไม่นานนี้ ประมาณภายในปลายปี 2563 ซึ่งจะสามารถรันหรือใช้งานได้ โดยเราทำงานร่วมกับกรมสุขภาพจิต ที่ให้การสนับสนุนเรื่องงบประมาณ และมี ผอ.ณัฐกร จำปาทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ที่อยู่กรมสุขภาพจิต เป็น ผอ.อยู่ที่ รพ.ขอนแก่นนราธิวาสราชนครินทร์ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตายแห่งชาติ โดยท่าน ผอ.มาช่วยดูแลให้คำปรึกษา ให้ข้อมูลต่างๆ รวมถึงบริษัท ไมโครซอฟท์ ที่ให้การสนับสนุนเรื่องของแอปพลิเคชัน Sati ให้เกิดขึ้นในทั่วโลก หรือเป็นข้อมูลแบบโกลบอลที่สามารถช่วยเหลือคนทั่วโลกได้นอกจากในประเทศไทยของเรา และคาดว่าจะใช้ได้สิ้นปีนี้

“จุดเริ่มต้นของการคิดทำแอปพลิเคชัน Sati ขึ้นมานั้น เพราะผมมีประสบการณ์ตรงส่วนตัว คือว่าป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง และเป็นโรคจิตเภทร่วมด้วย ทำให้บางครั้งได้ยินและเห็นภาพหลอน ที่สำคัญไปพบแพทย์กินยารักษาโรคมาตลอด 5 ปีแล้วครับ จากเมื่อก่อนกินยาทั้งหมด 16 เม็ด ตอนนี้เหลือเพียง 4 เม็ด ที่สำคัญตลอดเวลา 1 ปีครึ่งที่ผ่านมา ผมไม่คิดเรื่องการฆ่าตัวตายอีกแล้วครับ แต่ก็ยังต้องเข้ารับการรักษากับคุณหมออย่างต่อเนื่อง เหมือนกับผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วไป กระทั่งเกิดเป็นแอปพลิเคชันนี้ขึ้นมา เพราะจากประสบการณ์ตรงของเรา คือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต้องการพูดระบายและเล่าปัญหาของตัวเองให้ผู้ฟัง ที่รับฟังเขาด้วยใจที่เปิดรับจริงๆ ครับ ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้พูดปัญหาของตัวเองออกมา และสร้างจิตอาสาผู้รับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ และไม่ตำหนิผู้ป่วย ซึ่งที่ผ่านมาตัวผมเองก็มีประสบการณ์ในการโทรศัพท์เข้าไปเพื่อพูดคุยกับบริการสุขภาพจิตที่ภาครัฐและเอกชนได้จัดทำขึ้น แต่บางครั้งจิตอาสาที่รับฟังผู้ป่วยอาจจะมีค่อนข้างน้อยมาก จึงทำให้ต้องใช้เวลาที่นานมากกว่าจะได้ปรึกษา แอปพลิเคชัน Sati จึงเป็นอีกช่องหนึ่งในการรับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ต้องการความช่วยเหลือ

สำหรับการใช้งานของแอปพลิเคชัน Sati นั้น เริ่มจากการดาวน์โหลดแอป และกดเข้ามาสมัคร โดยไม่ต้องให้ชื่อจริง บอกแค่เพศและอายุ รวมถึงโลเกชั่นที่พักอาศัย เอาง่ายๆ ว่าเมื่อเปิดแอปพลิเคชันเข้ามา คุณสามารถทอล์กกับเจ้าหน้าที่ของเราได้เลย เหมือนการกดเรียกคนแท็กซี่และพูดได้เลยว่าต้องการให้ไปส่งที่ไหน หรือเมื่อกดเข้ามาเป็นสัญลักษณ์กลมๆ ใหญ่ๆ และคุยสื่อสารได้ทันทีเลย และสัญญาณการสื่อสารก็จะวิ่งเข้าหาผู้รับสายที่อยู่ปลายทางซึ่งกำลังว่าง ทั้งนี้ไม่ใช่การตอบโต้กับคู่สายอัตโนมัติ แต่จะมีคนจริงๆ ที่เป็นจิตอาสาซึ่งได้รับการอบรมเรื่องการฟังด้วยใจมาคอยรับสายเพื่อพูดคุยกับผู้ป่วย ดังนั้นเพียงแค่เขามีแค่มือถืออันเดียวและไม่ว่าอยู่ตรงไหน ก็สามารถพูดคุยระบายปัญหากับผู้รับฟังที่เข้าใจเขาได้ทันที และข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตได้ออกมาบอกอยู่แล้วว่า เพียงแค่มีคนฟังผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพียงวันละ 10 นาที หรือ 10 คน ก็จะช่วยให้คน 1 คน สามารถลดอัตราความเครียดของเขาลงได้ครับ”

นักเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสุขภาพจิต ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Sati บอกว่า สำหรับหลักการง่ายๆ หากคุณมีเพื่อน พี่ ญาติ และพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้านั้น 1.ไม่ตัดสินผู้ป่วย 2.ไม่ชี้นำให้เขาทำอะไรสักอย่าง 3.เข้าใจเขาพร้อมกับแสดงความอ่อนโยนกับเขาโดยให้ถามคำถามเชิงเปิด เช่น หากต้องการถามผู้ป่วยว่ากินข้าวหรือยัง ห้ามถามว่ากินอะไรหรือยัง? (เพราะเขาจะตอบสั้นๆ) แต่ให้ถามว่าวันนี้กินอะไร? เขาก็จะบอกเราวันนี้กินกะเพราหมูสับ ซึ่งเป็นคำถามเชิงเปิด เอาง่ายๆ ว่าเป็นการชวนให้เขาคุย หรือพูดปัญหาออกมา ซึ่งถ้าเป็นคำถามที่กระตุ้นให้ผู้ตอบเยสหรือโน เขาจะไม่อินกับเรา หรือไม่เล่าอะไรให้เราฟัง ดังนั้นขอให้จำหลัก 3 ประการ คือ 1.แคร์ (Care) ใส่ใจผู้ป่วย 2.คอนเน็กต์ (Connect) คอยช่วยเหลือด้วยความเข้าใจ 3.คอมมูนิเคส (communicate) การสื่อสารและรับฟังด้วยความเข้าใจ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเรามีความห่วงใยและเข้าใจผู้ป่วย อีกทั้งไม่ตัดสินผู้ป่วย

“ถ้าถามว่าแอปพลิเคชัน “Sati จะช่วยลดปัญหาโรคซึมเศร้าได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้หากดูจากประเทศอื่นๆ อาทิ คุณหมอท่านหนึ่งได้รับมือกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจากสาธารณรัฐซิมบับเว ที่ตั้งอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ ที่คิดฆ่าตัวตายจากทั้งปัญหาของการมีผู้สูงอายุจำนวนมาก และมีผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนมาก เมื่อคนไข้ไม่สามารถนั่งรถมาพบคุณหมอที่อยู่ในตัวเมืองห่างไกลถึง 200-300 กิโล คุณหมอท่านดังกล่าวจึงได้ลงไปสอนให้ผู้สูงอายุจำนวนมากในเมืองดังกล่าวเป็นผู้รับฟังปัญหาที่ดี จากนั้นก็ให้ผู้สูงอายุไปตั้งโต๊ะนั่งให้คำปรึกษาอยู่ที่สวนสาธารณะ ผลปรากฏว่าผู้หญิงที่ติดเชื้อเอชไอวีและคิดสั้นได้ลดจำนวนลงอย่างน่าตกใจ จากเดิมที่คนในเมืองดังกล่าวคิดสั้นร้อยละ 90 แต่เมื่อมีจิตอาสาสูงวัยเป็นผู้รับฟังที่ดี สามารถลดอัตราการฆ่าตัวตายลงเหลือร้อยละ 40% ดังนั้นการพูดระบายปัญหาและการรับฟังผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ จะสามารถช่วยปัญหาการคิดสั้นในผู้ป่วยซึมเศร้าลงได้ ซึ่งตอนนี้เราต้องมีการรณรงค์ 2 อย่างคือ 1.ให้คนเป็นผู้ฟังที่มากขึ้น 2.รณรงค์ให้คนป่วยโรคซึมเศร้าพูดปัญหาออกมาให้มากขึ้น เพราะการที่เราสร้างพื้นที่เพื่อให้มีการรับฟังปัญหาและคนป่วยได้พูด โอกาสที่จะลดแรงดันในการฆ่าตัวตายนั้นก็มีเยอะขึ้นมากๆ เช่นกันครับ”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"