6 พ.ย.63 - นายประสิทธิ์ เมฆสุวรรณ อดีตผู้นำภาคประชาสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่าจากที่ตนปฏิบัติงานพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มายาวนาน พบปัญหาการว่างงานของประชากรในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จนนำไปสู่การย้ายถิ่นฐานเพื่อไปประกอบอาชีพยังภูมิภาคอื่นๆของประเทศและต่างประเทศเช่นมาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นการสูญเสียทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของพื้นที่น่าเสียดายแล้ว เด็กที่อยู่ในวัยเรียนต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะต้องย้ายติดตามผู้ปกครอง สุดท้ายคือปัญหาสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
นายประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ผลกระทบเกิดขึ้นคือการทำหน้าที่ของครอบครัวของประชาชนในพื้นที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากบุคคลในครอบครัวที่อยู่ในวัยแรงงาน จำเป็นต้องเดินทางไปทำงานเพื่อหารายได้ จุนเจือครอบครัว หลายครั้งและหลายร้อยคนถูกจับกุมในข้อหาเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่มีใบอนุญาตทำงานในต่างประเทศ เป็นผลสืบเนื่องมาจากตลาดแรงงานในพื้นที่ไม่ได้มีมากเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับชายแดนภาคใต้กับรัฐที่มีเขตติดต่อในประเทศมาเลเซีย
"จากการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จริงๆ พบว่าอุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของการเป็นพื้นที่ความมั่นคงคือ ขาดนักลงทุนภาคเอกชนเข้าไปร่วมพัฒนาพื้นที่ จากขาดความไม่เชื่อมั่นต่อสถานการณ์และความปลอดภัยของพื้นที่แล้ว แต่ยังขาดการพัฒนาแบบมีทิศทางการทำงานที่ชัดเจน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจในระดับมหภาค ภาครัฐต้องดำเนินกิจกรรมกิจการเพื่อบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้โดยเร็ว "นายประสิทธิ์ กล่าว
ด้านนายธนชัญ แสงพุ่ม รองเลขาธิการ ศอ.บต.เปิดเผยว่า ศอ.บต.ทราบปัญหาการย้ายถิ่นและนักเรียนออกกลางคัน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มายาวนาน จะทิ้งปัญหาให้หมักหมมไว้ไม่ได้ ศอ.บต.จึงกำหนดเป้าหมายการพัฒนา ที่จะทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกี่ยวเนื่องสามารถไปด้วยกันได้
“ครอบคลุมประชากร ในกลุ่มที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ มัธยมศึกษา ต่ำกว่าและกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ เพื่อให้โอกาสกับคนทุกกลุ่มทุกวัยเข้าสู่การทำงาน เพื่อมีอาชีพและมีรายได้ที่สามารถจุนเจือช่วยเหลือตนเองและครอบครัวได้”
นายชนธัญ กล่าวอีกว่า การจ้างงานในพื้นที่เขตพิเศษเฉพาะกิจ อ.จะนะ จ.สงขลา 100,000 อัตรา เป็นการรายงานทางการศึกษา ความเป็นไปได้ของโครงการที่จะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ตามที่มีข้อมูลบ่งชี้ว่า หากเกิดการลงทุนนภาคการผลิตของอุตสาหกรรมในพื้นที่ของโครงการเมืองต้นแบบฯซึ่งมีการลงทุนอุตสาหกรรมรายใหญ่ประมาณ 50 ราย จะทำให้เกิดการจ้างงานโดยตรงในโรงงานประมาณ 25,000 คน
“การจ้างงานที่จะเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่การผลิตของอุตฯหลักในพื้นที่โครงการฯเช่นอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูป ผลิตสินค้าจากปาล์มน้ำมัน ผลไม้กระป๋อง ยางรถยนต์ ผลิตสินค้าจากยางพารา เครื่องมือแพทย์และอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิค”
นายชนธัญ กล่าวต่อว่า อุตสาหกรรมจะทำให้เกิดความต้องการวัตถุดิบที่ต้องใช้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ภาคการผลิตในห่วงโซ่ในภาคการเกษตรซึ่งมีสมาชิกประมาณ 1 ล้านคนที่จะได้ประโยชน์จากการทำการเกษตรเพื่ออุตสาหกรรมเพิ่มรายได้และลดความเสี่ยงจากการขาดตลาดรองรับ ซึ่งเป็นทิศทางการทำงานที่ควรจะส่งเสริมให้เกิดขึ้นจริงจังและเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวทางการตลาดนำการผลิต เชื่อมโยงไปยังภาคบริการจะต้องขยายการผลิต จัดหาวัตถุดิบมาป้อนห้อุตสาหกรรมในพื้นที่โครงการฯความเชื่อมโยงจะเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้เกิดการจ้างงานโดยรวมเพิ่มขึ้นได้เป็นจำนวนมากหลายเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบเฉพาะกับการจ้างงานโดยตรงของอุตสาหกรรมในพื้นที่โครงการฯ
“ตัวเลขคาดการณ์การจ้างงานโดยรวมที่จะเกิดขึ้นตลาดห่วงโซ่อุตสาหกรรม 100,000 ราย เป็นการคาดการณ์ตามสถานการณ์กลางๆบนข้อสมมติฐานที่ผู้ศึกษาได้กำหนดไว้ ผมเชื่อว่าการพัฒนาร่วมกับภาคเอกจะทำให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถได้รับประโยชน์จากโครงการอย่างเท่าเทียม เป็นธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้”นายชนธัญ กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |