5 พ.ย.63 - ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รอง ผบช.น.และ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร.แถลงความคืบหน้าสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมือง โดย พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวว่า ที่ผ่านมา บช.น.ได้จับกุมผู้ต้องหาคดีเกี่ยวกับความมั่นคงและความผิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 86 คดี รวมผู้ต้องหาทั้งหมด 79 ราย แยกเป็น 1. ความผิดมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งหมด 68 ราย 2. ความผิดประทุษร้าย ตามมาตรา 110 ทั้งหมด 3 ราย 3. ความผิดการกระทำผิด ตามมาตรา 116 ทั้งหมด 13 ราย และ 4. ความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การเปรียบเทียบปรับ อาทิ พ.ร.บ.ความสะอาดฯ หรือ พ.ร.บ.อื่นๆ อีกทั้งหมด 2 ราย
ส่วนกรณีเมื่อคืนที่ผ่านมาแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมเข้าแจ้งความที่ สน.ลาดกระบัง หลังชายฉกรรจ์ดักอุ้มตัวม็อบคณะราษฎร เบื้องต้นพนักงานสอบสวน สน.ลาดกระบัง ได้รับเรื่องแจ้งความร้องทุกข์ไว้แล้ว อยู่ระหว่างการสืบสวนสอบสวน ขณะเดียวกันวานนี้ (4 พ.ย.) กลุ่มคณะราษฎรได้แถลงการณ์ และกำหนดแนวทางในการดำเนินการต่อไป พล.ต.ท.ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผบช.น.ได้เรียกประชุมหารือ และเตรียมกำลังไว้เพื่อรองรับสถานการณ์แล้ว
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวว่า สืบเนื่องจากมีการรวมตัวชุมนุมของกลุ่มต่างๆ แน่นอนว่ามีการกระทำความผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายส่วน ภาพรวมทั้งประเทศตำรวจได้มีการดำเนินคดีไปแล้ว 140 กว่าคดี ใน 26 จังหวัดทั่วประเทศ ในเรื่องการชุมนุมนั้นอยากให้ยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นหลัก โดยเฉพาะการแจ้งการชุมนุมกับตำรวจที่รับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เนื่องจากเพื่อให้ตำรวจรับทราบ และจัดกำลังไปอำนวยความสะดวกด้านการจราจร และรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ที่ผ่านมามีทั้งการแจ้งและไม่แจ้งให้ตำรวจรับทราบ นอกจากนี้ แม้จะมีการแจ้งแล้วแต่ก็ยังมีการฝ่าฝืนกฎหมายในหลายๆ ส่วน จึงขอเรียนว่าผู้ที่จะออกมาชุมนุมไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม สามารถใช้สิทธิ์ตามกฎหมายได้ซึ่งบอกไว้ชัดเจนว่า จะต้องดำเนินการอย่างไรหมายความว่าได้เรียนรู้มาแล้ว หลังจากมีการชุมนุมโดยไม่ได้มีการแจ้งตำรวจ หรือกระทำความผิดกฎหมายในส่วนอื่น สุดท้ายพนักงานสอบสวนจะดำเนินการตามกรอบกฎหมาย ที่ให้อำนาจหน้าที่ของตำรวจโดยที่ไม่ได้มีสองมาตรฐาน
กรณีกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร.เพื่อชี้แจงการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ โดยเฉพาะการใช้อำนาจในการจับกุม หรือปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมนั้น ขณะนี้ยังไม่ได้รับหนังสืออย่างเป็นทางการ ในส่วนการชี้แจงคงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายกฎหมายก็ต้องไปดูซึ่งเป็นขั้นตอนในการชี้แจงตามปกติ และในส่วนอื่นๆ ที่ต้องไปชี้แจงมีผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยตรง สำหรับ บช.น.หรือส่วนอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ได้มีความกังวลอะไร ยืนยันว่าในการปฏิบัติหน้าที่ทุกส่วน เราโดยยึดหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ ไม่ได้มุ่งบังคับใช้กฎหมายจับกุมเป็นหลัก มีการเจรจาต่อรอง มีขั้นตอน มีพัฒนาการจนไปถึงในจุดที่จะต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ฉะนั้นเรามีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยยึดถือกฎหมายเป็นที่ตั้ง
พ.ต.อ.กฤษณะ กล่าวถึงการหายตัวไปของ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ประเทศกัมพูชา ว่า เรามีผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจประจำกัมพูชา ได้มีการประสานงานกับตำรวจกัมพูชา รวมถึงเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไทยประจำกัมพูชา ประสานข้อมูลกันตลอด หากมีเรื่องอะไรที่ทางการไทยต้องรู้ และเป็นประโยชน์กับผู้เสียหาย หรือครอบครัวผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการอยู่แล้ว ทั้งนี้ การดำเนินการภายในประเทศมีการสืบสวนหาข่าวมาโดยตลอด ตำรวจพร้อมให้ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านมาเราโยนคำถามไปแต่ยังไม่ได้รับข้อมูล หรือรายละเอียดที่เป็นประโยชน์มากนัก ยืนยันว่าได้ดำเนินการในมิติที่เราต้องดำเนินการอยู่แล้ว โดยผู้ช่วยทูตฝ่ายตำรวจประจำกัมพูชา ได้รายงานว่าทางญาติ นายวันเฉลิม เตรียมยื่นต่อศาลเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่อาจจะต้องดำเนินการในกัมพูชา เราแลกเปลี่ยนทางด้านการข่าวอยู่แล้ว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |