5 พ.ย.63 - ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา กล่าวถึงท่าทีของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ประกาศไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์ ว่า คณะกรรมการดังกล่าวยังไม่ได้มีการตั้งขึ้นมา โดยตอนนี้เป็นการติดต่อกับผู้ใหญ่เพื่อขอรับฟังความคิดเห็นในฐานะผู้มีประสบการณ์และผ่านเหตุการณ์ต่างๆมา หลายท่านให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ และที่มาของคณะกรรมการปรองดองนั้นเป็นการส่งลูกมาจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ถ้าเราปฏิเสธไม่รับมาก็เหมือนกับการมองข้ามความสำคัญของการแก้ไข เราต้องทำการเมืองให้การเมืองในระบอบรัฐสภามีความมั่นคงและไม่มีปัญหามากเกินไปและเกิดความรุนแรงและการประทุษร้าย
"ไม่มีอะไรแก้ได้ร้อยทั้งร้อย แต่ถ้าเราลดลงมาได้ก็เป็นประโยชน์ คนรุ่นก่อนก็มีความขัดแย้ง เช่น มาจากการเลือกปฏิบัติ การแบ่งพรรคแบ่งพวก การใช้สื่อวิทยุชุมชนให้ร้ายไปถึงสถาบันหรือบุคคล หรือ ขัดแย้งกันถึงที่เข้าจังหวัดไม่ได้ เป็นสิ่งที่เราต้องทบทวนและแก้ไข เพื่อรองรับอนาคตที่เปลี่ยนแปลง" นายชวน กล่าว
นายชวน กล่าวอีกว่า การจะเชิญบุคคลใดมาเป็นกรรมการนั้นไม่ได้ง่าย เพราะผู้ใหญ่ที่ตนคุยด้วยไม่ได้หมายความว่าจะเข้ามาเป็นกรรมการ แต่พวกท่านเห็นด้วยกับการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาบ้านเมือง ซึ่งรายละเอียดต้องหารือกันอีกครั้ง
เมื่อถามว่ามีความจำเป็นหรือไม่ที่คณะกรรมการชุดนี้จะต้องมีกลุ่มผู้ชุมนุมเข้ามานั่งด้วย นายชวน กล่าวว่า "มันต้องเอาความสมัครใจ ที่ผมเชิญตัวแทนท่านสุทินมาคุย เพราะตอนนั้นฝ่ายค้านประกาศก่อนว่าจะไม่เข้าร่วมด้วย ผมขอคำยืนยันจากท่านสุทิน แต่ท่านสุทินบอกว่าขอดูแนวทางก่อน แต่วันนั้นเรื่องใหญ่คือ ความเห็นของประธานวุฒิสภาเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานวุฒิสภาให้ความเห็นในทางที่เราไม่เคยมาก่อน"
ถามต่อว่า จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะได้เห็นภาพของประธานสภาไปพบกับกลุ่มเยาวชน เพื่อให้เข้ามาร่วมกระบวนการสมานฉันท์ นายชวน กล่าวว่า "ผมคิดว่าใครที่เต็มใจก็จะไปคุยด้วย แต่สมมุติถ้าเรามีคณะกรรมการแล้วจะเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ผมมีหน้าที่ดูว่าจะเอารูปแบบอะไร จะคัดใครเข้ามาควรเอาคนประเภทใด มองปัญหาอย่างไร แต่ไม่ถึงขั้นไปเป็นประธานเอง เราตั้งใจเอาคนที่มีความตั้งใจที่จะเห็นการปรองดอง แต่ใครที่ยื่นคำขาดมาก็เป็นเรื่องเขาไป และเราก็จะทำงานในส่วนของเราไป ผมบอกเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าไปแล้วว่าให้แยกระหว่างเรื่องการชุมนุมกับเรื่องอนาคต" นายชวน กล่าว
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในระหว่างการหารือกับประธานรัฐสภา นายชวน กล่าวว่า เป็นเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ ทำให้ความขัดแย้งในเรื่องนี้ลดลงไปมาก
เมื่อถามว่าการหารือกับอดีตนายกรัฐมนตรีนั้นได้หารือครบทุกคนหรือไม่ นายชวน กล่าวว่า "ยังติดต่อท่านสมชาย(วงสวัสดิ์) ไม่ได้ ผมตั้งใจจะพูดกับทุกคนนะครับ แม้แต่ท่านประธานองคมนตรี (พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์) ก็จะไปกราบเรียนในฐานะท่านเป็นผู้ใหญ่และเป็นนายกฯมาเช่นกัน แต่สำหรับท่านธานินทร์นั้นต้องดูก่อนว่าสุขภาพท่านไหวหรือไม่แต่จะลองไปสอบถามดูเพราะผมรู้จักกับครอบครัวท่าน"
ประธานรัฐสภา กล่าวด้วยว่า การเดินสายหารือขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการเมืองนั้นไม่ได้เจาะจงเฉพาะอดีตนายกฯเท่านั้น แต่ตั้งใจจะคุยกับอดีตประธานสภาด้วย ขณะเดียวกัน การจะมีคู่ขัดแย้งเข้ามานั่งในคณะกรรมการชุดนี้หรือไม่นั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขของเรา จึงเป็นที่มาของการกำหนดรูปแบบของคณะกรรมการไว้หลายลักษณะ ซึ่งตอนนี้พยายามประสานงานกับบุคคลหลายฝ่าย เราตั้งใจจะเอาคนที่มีความประสงค์ร่วมมองการแก้ไขในวันข้างหน้าร่วมกัน ไม่ใช่เอามาทะเลาะกัน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |