ศมส.ชี้เศรษฐกิจทุนนิยมกลืนวิถีคนสมุทรสาคร


เพิ่มเพื่อน    

    นายพีรพน พิสณุพงศ์ ผอ.ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) กล่าวว่า ศมส.  ได้สนับสนุนการศึกษาวิจัยความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ในท้องถิ่น โดยส่งทีมนักวิชาการและนักวิจัยจัดทำการโครงการศึกษาวิจัยชุมชนในลุ่มแม่น้ำท่าจีน โดยเลือกจังหวัดสมุทรสาครเป็นกรณีศึกษา การเปลี่ยนแปลงชุมชนท้องถิ่นใน 3 ประเด็น ได้แก่ ประวัติศาสตร์ภูมินามและภูมิสังคม  เครือข่ายสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ และพิธีกรรมความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์  โดยใช้เวลาศึกษา 2 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548  ถึง กันยายน  2560
     ผอ.ศมส.   กล่าวต่อว่า  ทั้งนี้  ผลการศึกษาพบว่า  ชุมชนท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำท่าจีนบริเวณชายฝั่งทะเล  มีผู้คนหลากหลายทางชาติพันธุ์อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และสร้างความสัมพันธ์แลกเปลี่ยนทางสังคม วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อ ปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาครเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจสำคัญ โดยเฉพาะในช่วง 20-30  ปีที่ผ่านมา  แรงงานข้ามชาติกลุ่มต่าง ๆ เช่น มอญ พม่า และกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ อพยพเข้ามาเป็นลูกจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมประมง สวนผักผลไม้ และโรงงานอุตสาหกรรม  การเข้ามาของกลุ่มคนเหล่านี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตท้องถิ่น  ทำให้ชุมชนเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมดำรงอยู่ร่วมกับชุมชนเมืองแบบอุตสาหกรรมซึ่งเป็นความซับซ้อนของสายสัมพันธ์ทางสังคมและวิถีชีวิตระหว่างกลุ่มคนที่หลากหลาย โดยในส่วนที่น่าห่วงคือ คุณค่าของวัฒนธรรมท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลง จากชุมชนที่รู้จักเคารพกติกาของส่วนรวม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ มีน้ำใจ ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักความพอดี ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว  แต่ปัจจุบันนี้ วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ทำให้สมาชิกในชุมชนหันไปพึ่งระบบเงินตรามากขึ้น   อีกทั้งยังเกิดความขัดแย้งในระบบความคิดและความเชื่อของคนแต่ละรุ่น ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน 
      นายพีรพน กล่าวอีกว่า  ศมส. ได้รวบรวมงานวิจัยในบริบทที่สำคัญ โดยการจัดพิมพ์หนังสือสาครบุรีจากวิถีชาวบ้าน  ประกอบไปด้วย ข้อมูลที่น่าสนใจในชุมชนทั้งหมด ได้แก่  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของแรงงานต่างด้าว ความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือการสร้างสำนึกเพื่อส่วนรวม วัฒนธรรมไทย / ความเป็นไทย มีลักษณะผสมผสาน คนต้องพึ่งพาและเคารพธรรมชาติ เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน และเป็นข้อมูลประกอบการทำงานส่งเสริมฟื้นฟูวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งจะเป็นฐานความรู้ที่กระตุ้นให้คนท้องถิ่นมีจิตสำนึกในการสืบทอดและรักษาวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของชาติที่ต้องการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ที่นำเอาคุณค่าทางวัฒนธรรมมาสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดย ศมส. จะเปิดตัวหนังสือสาครบุรีจากวิถีชาวบ้านในวันที่ 14 พ.ค. นี้  ที่ โรงแรมเซ็นทรัล เพลส จ.สมุทรสาคร สอบถามที่นางสาวกนกเรขา นิลนนท์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทร 0 -2880 -9429  ต่อ 3834 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"