พบภาพเขียนสีโบราณ


เพิ่มเพื่อน    


    “ประทีป” ตรวจแหล่งภาพเขียนสีโบราณพบใหม่ที่อ่าวพังงา สั่งอนุรักษ์-พัฒนาศิลปะถ้ำฝั่งอันดามัน ปั้นอีโคทัวริสต์ 


    เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนนี้ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่ตรวจแหล่งภาพเขียนสีที่พบใหม่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา จังหวัดพังงา ซึ่งสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช ได้รับการประสานจากอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา และขอความอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่ร่วมสำรวจภาพเขียนสีโบราณ จึงดำเนินการสำรวจร่วมกันตามโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน โดยสำรวจแหล่งภาพเขียนสีแหล่งเดิม 6 แห่ง ได้แก่ เกาะปันหยี ถ้ำนาค เขารายา เขาเขียน 1 เขาเขียน 2 และเขาพระอาดเฒ่า และสำรวจพบแหล่งภาพเขียนสีแหล่งใหม่ 5 แหล่ง ได้แก่ เกาะทะลุนอก เกาะเขาเต่า ถ้ำนกกระเรียน เกาะไข่ และเกาะยางแดง รวม 11 แหล่ง 
    “ ภาพเขียนสีตามเพิงผาหรือถ้ำบริเวณอ่าวพังงา รวมถึงบริเวณฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมดที่สำรวจพบแล้วมีกว่า 30 แห่ง เขียนขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ แสดงออกถึงวิถีชีวิตและการใช้พื้นที่ของผู้คนเมื่อราว 3,000-5,000 ปีมาแล้ว เช่น ภาพบุคคล ภาพสัตว์บกและสัตว์น้ำ ภาพลวดลายเรขาคณิต นับว่าเป็นการค้นพบทางโบราณคดีที่สำคัญมาก ได้มอบหมายให้สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช จัดทำโครงการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งภาพเขียนสี (ศิลปะถ้ำ) ฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพเขียนสีในเขตพื้นที่ จ.กระบี่และพังงาอย่างเป็นระบบ และนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาเป็นพื้นฐานต่อยอดในเชิงพัฒนา เช่น การจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism), การพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก จะนำมาซึ่งการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐกิจ มีการกระจายรายได้ให้กับชุมชนที่ร่วมกันดูแล" นายประทีป กล่าว


    สำหรับภาพเขียนสีตามเพิงผาหรือถ้ำบริเวณอ่าวพังงา รวมไปถึงบริเวณฝั่งทะเลอันดามันทั้งหมดที่สำรวจพบแล้ว  เกือบทั้งหมดเป็นภาพที่เขียนขึ้นในยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งผู้คนยังไม่มีตัวอักษรใช้สื่อสาร เรื่องราวภาพเขียนสีที่บันทึกจึงแสดงออกถึงวิถีชีวิตและการใช้พื้นที่ของผู้คนในอดีต เช่น ภาพบุคคล ภาพสัตว์ชนิดต่างๆ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ภาพลวดลายเรขาคณิต โดยมนุษย์ในอดีตสามารถใช้ถ้ำและเพิงผาเป็นแหล่งพักพิงชั่วคราวประกอบกิจกรรมหรือพิธีกรรมบางอย่าง หรือใช้พื้นที่เป็นแหล่งหลบลมมรสุมกระแสคลื่นลมในการเดินทางไปมาระหว่างแผ่นดินตอนในและพื้นที่ชายฝั่งทะเล ที่มีการใช้เส้นทางตามลำน้ำและคลอง ลัดเลาะเชื่อมเข้าออกสู่ทะเล และอาศัยแหล่งอาหารตามธรรมชาติ จึงสามารถสะท้อนถึงกลุ่มคนผู้เขียนภาพเหล่านี้ว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดอีกด้วย


    จากประวัติการศึกษาที่ผ่านมา มีการค้นพบและสำรวจแหล่งภาพเขียนสีบริเวณอ่าวพังงา-อ่าวลึกของนักวิชาการไทยและต่างชาติ โดยในปี พ.ศ.2530-2531 กรมศิลปากร ภายใต้การดำเนินงานของโครงการสำรวจแหล่งโบราณคดี (ภาคใต้) ได้ทำการสำรวจแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณชายฝั่งตะวันตกของประเทศ พบแหล่งภาพเขียนสีหลายแห่ง หลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ.2557 เป็นต้นมา มีการแจ้งพบแหล่งภาพเขียนสีเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดพังงา กระบี่ และตรัง จึงดำเนินการสำรวจซ้ำแหล่งเดิมเพื่อตรวจสอบสภาพของแหล่งภาพเขียนสี และสำรวจแหล่งที่พบใหม่เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน. 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"