หลังจากรัฐบาลผลักดันโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” มาได้เกือบ 4 เดือนเต็ม พบว่าตัวเลขผู้ใช้สิทธิยังไม่มากเท่าที่คาดหวัง ล่าสุดพบว่าโครงการนี้ยังมีวงเงินงบประมาณเหลือให้ใช้อีกราวๆ 10,000 ล้านบาท
ทำให้ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เตรียมจะนำเสนอแนวทางการปลดล็อกเงื่อนไขโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน” ต่อที่ประชุม ศบศ. ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้นักท่องเที่ยวจองและจ่ายค่าตั๋วโดยสารเครื่องบินในราคาพิเศษ 60% โดยไม่ต้องจ่ายเต็มจำนวน และนำมาขอส่วนต่าง 40% คืนจากรัฐบาลในภายหลังเหมือนปัจจุบัน รวมถึง อนุญาตให้ที่พักที่จดภาษีกับสรรพากรถูกต้อง แต่ไม่ได้จดทะเบียนเข้าระบบโรงแรมก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเพื่อผลักดันให้ประชาชนช่วยกันมาใช้สิทธิก่อนวันสิ้นสุดโครงการ 31 มกราคม 2564
อย่างไรก็ดี ในมุมของผู้ประกอบการกลับมองว่า การผลักดันโครงการในลักษณะนี้ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการได้แท้จริง เพราะการตั้งเป้าหมายของโครงการไปเน้นที่กลุ่มคนทำงานและคนรุ่นใหม่นั้น แม้ว่าคนกลุ่มนี้จะเป็นผู้ชื่นชอบการท่องเที่ยวก็จริง แต่คนกลุ่มนี้มีข้อจำกัด เพราะสามารถเที่ยวได้เฉพาะช่วงสุดสัปดาห์ หรือช่วงหยุดยาวเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทั้งสัปดาห์
ประเด็นนี้เองที่ 'คุณโต้ง' นายกัมพล ตันสัจจา เจ้าของสวนนงนุช พัทยา ซึ่งก็เป็นผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ได้นำเสนอมุมมองว่า ภาครัฐควรปรับมุมมองการออกนโยบาย โดยเฉพาะการปรับกลุ่มเป้าหมายในโครงการไทยเที่ยวไทยใหม่
'คุณโต้ง' ระบุว่า การโปรโมตไทยเที่ยวไทยของรัฐบาล ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะส่งเสริมทำตลาดที่ไม่ตรงจุด เนื่องจากไม่มีการสอนคนไทยให้ 'เที่ยวเป็น' อย่างแท้จริง ซึ่งก็คือการเน้นเที่ยววันธรรมดา ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่สามารถเที่ยววันธรรมดาได้ ก็คือกลุ่มคนสูงอายุ หรือคนเกษียณอายุ จะเห็นได้ว่าในประเทศยุโรป กลุ่มคนที่เดินทางท่องเที่ยวที่เยอะที่สุดคือกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งคนเหล่านี้มีทั้งเวลาและเงิน ทำให้คนกลุ่มนี้สร้างรายได้ต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล
แต่ที่ผ่านมาภาครัฐไม่เคยทำการโปรโมตในเส้นทางท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ หรือการจัดโปรแกรมทัวร์ให้กับชาวสูงวัยน้อยมาก ซึ่ง ททท.เองน่าจะต้องหันมาทำการส่งเสริมท่องเที่ยวคนกลุ่มนี้เยอะขึ้น
"ผมคิดว่า ภาครัฐจะต้องสอนคนไทยเที่ยวให้เป็น และต้องโฟกัสกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง อย่าไปเมินกลุ่มคนสูงอายุ วัยเกษียณ คนกลุ่มนี้มีความพร้อมที่จะเที่ยว แต่รัฐจะต้องหาทางส่งเสริมให้ถูกจุด ไม่ใช่การส่งเสริมให้ลูกหลานพาพ่อแม่เที่ยว แต่ต้องส่งเสริมให้คนสูงอายุไปเที่ยวด้วยตัวเอง โดยมีลูกหลายเป็นคนสนับสนุน" นายกัมพลกล่าว
หากผลักดันคนกลุ่มนี้ออกมาท่องเที่ยวได้มากเท่าไหร่ นโยบายไทยเที่ยวไทยก็จะประสบความมากยิ่งขึ้นเท่านั้น รวมถึงจะทำให้การเที่ยวเมืองรองประสบความสำเร็จด้วย เพราะต้องยอมรับว่าการเที่ยวเมืองรอง ไม่ใช่จุดโฟกัสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติสนใจ มีเพียงคนไทยเท่านั้นที่จะไปเที่ยวเมืองรอง ดังนั้นหากมีการส่งเสริมให้กลุ่มคนสูงอายุออกมาเที่ยวด้วยตัวเองได้ จะส่งผลดีต่อภาพรวมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะไทยเที่ยวได้สูงขึ้นอย่างแน่นอน
และที่สำคัญจะช่วยแก้ปัญหาธุรกิจท่องเที่ยวที่ยั่งยืนขึ้น ไม่ต้องไปเฝ้ารอการเปิดบริการแค่สุดสัปดาห์เท่านั้น และที่สำคัญหากผ่านพ้นช่วงของการระบาดของโควิดไปแล้ว เมื่อกลุ่มสูงอายุเที่ยวเป็น และเริ่มเที่ยวกันเอง ก็จะกลายเป็นขาที่แข็งแรงของการท่องเที่ยวไทยอีกทางหนึ่งด้วย.
ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |