"วิปรัฐบาล" แนะ รอร่างแก้ รธน.ฉบับไอลอว์ บรรจุพิจารณาทีเดียว ยันไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องม็อบ ย้อนฝ่ายค้านอย่าตั้งเงื่อนไขเอาประยุทธ์ออกไป หากให้ ส.ส.ฝ่ายค้านลาออกด้วยคงยุ่ง เชื่อ ไม่เกินสัปดาห์คลอดคณะกรรมการปรองดอง
2 พ.ย.63 - ที่รัฐสภา นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล )กล่าวถึงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญในวาระรับหลักการว่า หากพิจารณาโดยไม่รอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับภาคประชาชนหรือ ไอลอว์ สามารถบรรจุได้เลย เพราะรายงานของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก่อนรับหลักการเสร็จเรียบร้อยแล้ว หากรอร่างของไอลอว์ จะบรรจุในวาระการประชุมได้หลังวันที่12 พ.ย. คาดว่าประมาณวันที่ 17 พ.ย. หรือ 18 พ.ย. ถ้ามีปัญหาก็อาจจะล่าช้าออกไปได้เล็กน้อย และเมื่อพิจารณาแล้วอาจจะใช้เวลาครึ่งวันในการรับทราบรายงานของกมธ. จากนั้นสามารถโหวตได้เลย หากเสียเวลารอร่างของไอลอว์ จะเสียเวลาเพียงแค่อีก 1 สัปดาห์ ก็จะมีโอกาสพิจารณาพร้อมกันทั้ง 3 ร่างที่มีเนื้อหาคล้ายกันคือ ร่างของรัฐบาล ฝ่ายค้าน และร่างของไอลอว์ที่ให้แก้ไขม.256 และให้มีการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) โดยใช้ร่างของรัฐบาลเป็นหลัก ส่วนท่าทีของส.ว.สัญญาณเริ่มดีขึ้น จากการพิจารณาของประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 24 ก.ย. จึงอยู่ที่การลงมติว่า จะออกมาอย่างไร ยืนยันว่า เราไม่ได้ทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุม แต่เป็นไปตามระบบขั้นตอนที่เราได้กำหนดไว้ สำหรับรูปแบบส.ส.ร.ในรายงานของกมธ.ได้มีการพูดคุยกันมากว่า ควรเอาร่างของรัฐบาลเป็นหลัก โดยให้มาจากการเลือกตั้ง ใช้เขตจังหวัดจำนวน 150 คน และส่วนอื่นเป็นองค์ประกอบตามที่กำหนดไว้
เมื่อถามว่า ดูเหมือนข้อเสนอเรื่องส.ส.ร.จะไม่สอดคล้องกับร่างของฝ่ายค้านและไอลอว์จะมีปัญหาหรือไม่ นายวิรัชกล่าวว่า ถ้าเหมือนกันคงไม่ต้องเดินขบวน เพราะเห็นต่างกันแต่ไม่แตกแยก อะไรที่คิดว่าจะแก้ไขก็ไปทำในวาระที่ 2 ได้ถ้าจำนวนและที่มาของส.ส.ร.ไม่ตรงกันก็ไปแก้ไขในวาระ 2 ได้ ซึ่งอาจจะเห็นด้วยกับรัฐบาลหรือผสมผสานกันก็ได้
นายวิรัช กล่าวถึงการตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อหาทางออกให้กับประเทศว่า ได้รับการประสานจากนพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฏร ให้ไปพูดคุยกับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฏร ในวันที่ 3 พ.ย.เท่าที่ทราบ รูปแบบที่สถาบันพระปกเกล้าเสนอมาคือแบบแรก จะมีตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้ามาร่วมเป็นกรรมการ แบบที่สอง ตัดผู้ชุมนุมและผู้คัดค้านออกเหลือ 5 ฝ่าย โดยมีประธานรัฐสภาเป็นคนกลาง และแบบที่สามเป็นเรื่องที่ประธานรัฐสภา ต้องไปหาคนกลางและประกอบด้วยคนภายนอกทั้งหมด จึงเริ่มมีความชัดเจนขึ้นตามที่สภาบันพระปกเกล้าฯเสนอมา จึงต้องมาร่วมกันพิจารณา ไม่ใช่เฉพาะส.ส. รวมถึงส.ว. และรัฐบาลด้วย จึงคิดว่าจะเห็นรูปร่างที่ชัดเจนนับจากวันนี้ไปไม่น่าจะเกิน1 สัปดาห์ก็น่าจะเรียบร้อย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ท่าทีของฝ่ายค้านดูเหมือนจะไม่ตอบรับกับคณะกรรมการฯชุดนี้ นายวิรัช ตอบว่าฝ่ายค้านก็เหมือนกับกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตอนแรกก็บอกว่าไม่เห็นด้วย แต่พอมาตอนหลังก็บอกว่าให้แสดงความจริงใจ รีบเอาเข้าพิจารณา รัฐบาลก็แสดงความจริงใจทุกอย่างว่าหากรออีก 1 สัปดาห์ก็จะได้ร่างของไอลอว์ด้วย ส่วนฝ่ายค้านไม่ได้ทำอะไรเลย เพียงแต่คอยจะติว่าทั้งหมดทำถึงไหน จึงอยากให้ฝ่ายค้านไปอ่านดูว่าสิ่งที่รัฐบาล และส.ว.ทำไปนั้นได้มากน้อยแค่ไหน
เมื่อถามว่า ข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้า มองว่าแบบไหนน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด นายวิรัช ระบุว่าในส่วนของรัฐบาลไม่ขัดข้องว่าจะเป็นแบบไหนก็ได้ ถ้าเรามาร่วมกันแก้ปัญหา แต่คงต้องรอประธานสภา รวมทั้งตัวแทนของทุกฝ่ายว่าจะเห็นชอบรูปแบบไหน แต่หากคิดว่าตรงนั้นไม่ร่วม ตรงนี้ไม่ร่วมบ้านเมืองก็เดินไม่ได้ ดังนั้นอะไรก็ตามขอให้ร่วมและอะไรที่คิดว่าไม่ดีก็มาแก้ไข ในเมื่อบอกว่าสภาถือเป็นทางออกเราก็ต้องมาเอาสภาเป็นทางออก
ถามอีกว่า ฝ่ายค้านระบุว่าเงื่อนไขเดียวที่จะปรองดองได้คือ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออกอย่างเดียว นายวิรัช กล่าวว่ายิ่งตั้งเงื่อนไขว่านายกฯต้องลาออก หากส.ส.เขาย้อนกลับไปว่าฝ่ายค้านก็ลาออกด้วยก่อนหรือไม่ จะทำให้ยุ่งไปใหญ่ อะไรที่เป็นเงื่อนไขที่เป็นไปได้ก็ควรจะทำ และอะไรที่เป็นเงื่อนไขเป็นความขัดแย้งก็อย่าไปทำ เมื่อเขาเสนอให้นายกฯลาออก ตนก็เสนอไปแล้วว่านายกฯต้องอยู่ต่อเพื่อแก้ไขปัญหา นายกฯยังเป็นผู้มีเสียงสนับสนุนจากสภามากที่สุด ส่วนผู้ชุมนุมก็เป็นผู้ชุมนุม วันนี้เราต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ของประเทศทั้ง 67 ล้านคน หากให้นายกฯลาออกแล้วสภาเลือกกลับเข้ามาใหม่จะทำอย่างไร มีอะไรตรงไหนที่ไม่ให้นายกฯมาลงสมัครรับเลือกตั้ง
นายวิรัช กล่าวถึงกรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ เสนอให้ทำประชามติว่าสมควรให้ยุติการเคลื่อนไหวทางการเมือง 2 ปีว่า ยังไม่รู้เรื่องนี้ถ้าจะทำประชามติเรายังมีช่องที่อาจลงทุนน้อยที่สุดคือพ่วงไปกับการเลือกตั้งนายกอบจ.ทั่วประเทศ ไม่ได้หมายความว่าจะทำได้ทุกเรื่อง อยู่ที่แต่ละเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจ บางอย่างจะไปรวมกันไม่ได้ หากจะถามว่าผู้ชุมนุมควรหยุดหรือไม่ก็สามารถทำประชามติได้
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |