2 พ.ย. 63 - นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์นโยบายและวิชาการพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมผลการแก้ไขปัญหาความยากจน ภายหลังสภาพัฒน์รายงานสถานการณ์ความยากจนในปี 62 ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นว่า ศูนย์นโยบายและวิชาการพรรคเพื่อไทยเห็นว่า การนำตัวเลขปีต่อปีในลักษณะนี้มาวิเคราะห์ จะนำไปสู่การตีความที่คลาดเคลื่อนและได้ข้อสรุปที่ผิดพลาด ซึ่งตามปกติแล้ว ตัวเลขคนจน หรือจำนวนคนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนนั้น มีแนวโน้มลดลงอยู่แล้วโดยปรกติ จากปัจจัยการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยี การศึกษา การพัฒนาของทุนและแรงงาน ฯลฯ
ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่มีการรายงานมา ประเทศไทยมี คนจนเพิ่มขึ้น ทั้งหมด 5 ครั้ง และเป็นไปได้สูงที่จะมีครั้งที่ 6 จากวิกฤติโควิด ซึ่งได้แก่ 1.ปี 2541 จากวิกฤติต้มยำกุ้ง 2.ปี 2543 ผลพวงต่อเนื่องจากวิกฤติต้มยำกุ้ง และวิกฤติ Dot-com 3.ปี 2551 จากวิกฤติซับไพรม์ 4.ปี 2559 รัฐบาล คสช. 5.ปี 2561 รัฐบาล คสช. และ6.คาดว่าปี 2563 จากวิกฤติโควิด รัฐบาลพลเอกประยุทธ์
ข้อมูลระยะยาวนี้บ่งชี้ว่า ภายใต้การนำของพลเอกประยุทธ์ คนไทยจะจนมากขึ้นถึง 3 ครั้ง จากทั้งหมด 6 ครั้ง มากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ มากกว่าผู้นำทุกคนของไทย ตั้งแต่มีการรายงานมา นอกจากนั้น 2 ครั้งในช่วงรัฐบาล คสช. ปี 2559 และ 2561 ไม่ได้เกิดจากวิกฤติเศรษฐกิจ แต่หากเกิดขึ้นจากปัญหาด้านประสิทธิภาพของรัฐบาลโดยตรง
รัฐบาลควรจะใช้ข้อมูลระยะยาวลักษณะนี้ในการประเมินประสิทธิภาพ มากกว่าใช้ข้อมูลระยะสั้นปีต่อปี เพราะนอกจากจะทำให้เกิดข้อสรุปเชิงนโยบายที่ผิดพลาดแล้ว ยังแสดงให้เห็นว่าขาดความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ตัวเลขหรือดัชนีดังกล่าว.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |