หลังจากที่มีการแพร่ระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 นั้น ก็ได้มีสารพัดหน้ากากอนามัยผุดขึ้นมา กระทั่งพัฒนาไปสู่เครื่องประดับแฟชั่น จึงมีการตั้งคำถามว่าสารพัดแฟชั่นแมสก์ในตลาดนั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
2 นักวิจัยอย่าง “ดร.โรเร็ตตา เฟอร์แนนเดส” และ “เอมี มูลลีเออร์” ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยชนิดต่างๆ โดยเฉพาะขณะที่เรากำลังสวมใส่นั้น หน้ากากอนามัยของเราสามารถที่จะป้องกันอนุภาคของไวรัสได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งบางครั้งผ้าที่ใช้กรองฝุ่นละอองและเชื้อโรคในแมสก์ที่เราใช้นั้นไม่เพียงพอหรือไม่สามารถที่จะดักจับฝุ่นละอองได้ แม้ว่าบางครั้งการที่เราใส่อุปกรณ์เหล่านี้ เราก็ไม่ได้ต้องการที่จะเซฟฝุ่นละอองมากนัก แต่เราต้องการให้หน้ากากอนามัยที่ใช้สามารถระบายอากาศได้ดีมากกว่า และสิ่งที่ลืมไม่ได้ หน้ากากอนามัยที่ดีไซน์ให้มีปุ่มหมุนอยู่ด้านข้างเพื่อระบายอากาศ จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับฝุ่นละอองตลอดจนเชื้อไวรัสนั้นเข้ามาเกาะติดหรือปนเปื้อนอยู่กับหน้ากากอนามัยได้มากขึ้น
ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมผ้ากรองในหน้ากากอนามัยยิ่งหลายชั้น ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพของแมสก์นั้น นักวิจัยได้ระบุให้ทราบว่า “เมื่ออากาศต้องเดินทางผ่านผ้ากรองหลายชั้น ก็จะทำให้อนุภาคหรือตัวเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอากาศเข้าไปจับที่เส้นใยผ้าในหน้ากากอนามัย แทนที่จะพุ่งตรงไปเกาะติดที่ปากหรือจมูกของเรานั่นเอง ดังนั้นหากหน้ากากอนามัยยิ่งหลายชั้น ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดังกล่าวให้มากขึ้นเช่นกัน”
ด้าน “ดร.มาร์ติน ฟิสเชอร์” นักวิจัย และ “ดร.โรเร็ตตา เฟอร์แนนเดส” ได้ออกมาบอกคล้ายกันว่า “นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณควรไปซื้อหรือทำแมสก์ดีไอวายให้มีระบบชั้นกรองให้มากที่สุด เพราะจะทำให้มันระบายอากาศได้น้อยลง เมื่อใส่ไปสักพักคุณก็เริ่มที่จะไม่อยากใช้มัน และแน่นอนว่าหากคุณมีหน้ากาก 12 ชั้นที่สามารถกรองเชื้อโรคและฝุ่นละอองได้ดีถึง 99.9% ดังนั้นเวลาที่คุณใส่มันก็จะทำให้หายใจไม่ออก และก็ไม่มีทางที่จะใช้ต่อไปจนกระทั่งเป็นนิสัย เพราะรู้สึกอึดอัด ดังนั้นรู้สึกเห็นด้วยอย่างมากกับการเลือกสวมหน้ากากอนามัยที่มีความหนาพอประมาณ ที่สำคัญมันสามารถระบายอากาศได้ดี เพราะนั่นจะทำให้คุณไม่รู้สึกอึดอัดมากจนเกินไป”
ที่ลืมไม่ได้นั้นไม่ใช่แค่เนื้อผ้าของหน้ากากอนามัยเท่านั้นที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของมัน แต่หน้ากากอนามัยที่ใส่แล้วพอดีกับหน้าก็ถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะนักวิจัยทั้ง 2 คนข้างต้นนั้น ได้ทำการศึกษาวิจัย และพบว่าแมสก์ที่ใส่แล้วพอดีกับรูปหน้า หรือปกคลุมจมูกและปากได้อย่างพอดี สามารถที่จะป้องกันเชื้อเชื้อได้ดี ซึ่งอาจจะดีว่าหน้ากากอนามัยที่ทำจากเนื้อผ้าที่ดี แต่หลวมหรือใหญ่กว่ารูปหน้า ซึ่งนั่นจะทำให้ประสิทธิภาพของแมสก์ลดลงไปด้วยเช่นกัน
ทั้งนี้ 2 นักวิจัยข้างต้นได้ออกมาระบุเพิ่มเติมว่า หน้ากากอนามัยที่มีประสิทธิภาพควรปิดปากและจมูก นั่นหมายความว่าเวลาที่เซฟอยู่บนใบหน้า ลมหายใจของคุณจะต้องลอดผ่านอยู่ในแมสก์ของคุณ แต่ถ้าหากคุณใส่หน้ากากที่ค่อนข้างใหญ่และหลวม เวลาที่คุณหายใจนั่นจะทำให้ลมหายใจของคุณไหลผ่านรูจมูกลงมายังบริเวณบริเวณแก้ม กระทั่งลมหายใจของคุณกระจายออกไปในอากาศ ซึ่งเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อไวรัสร้าย และรับเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายเช่นกัน
ส่วนแผ่นตัวกรองอากาศและเชื้อโรคที่อยู่ในหน้ากากอนามัยนั้น หากคุณใส่แผ่นกรองดังกล่าวไว้ในหน้ากากอนามัย และมันไม่สามารถครอบคลุมบริเวณจมูกที่คุณหายใจ มันก็จะไม่สามารถกรองฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ ได้ดีเช่นเดียวกัน ที่สำคัญมลภาวะเหล่านี้จะกระจายอยู่รอบๆ แผ่นกรองมากกว่า
สำหรับผู้ที่ใช้หน้ากาก Mueller หรือหน้ากากแบบใส ได้รับการทดสอบจากนักวิจัยว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีกว่าที่คาดไว้ นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้ทำการทดสอบหน้ากากอนามัย DIY ที่ประดิษฐ์ขึ้นจากผ้าขนหนูไฟเบอร์ โดยหูทั้งสองข้างของหน้ากากอนามัยทำจากคลิปหนีบกระดาษ ยางรัดผม และแม็กเย็บกระดาษ ซึ่งพบว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ถึงร้อยละ 86% แต่ในทางกลับกันนั้นทีมนักวิจัยได้สังเกตว่า พวกเขาได้ทดสอบหน้ากากบางชนิดที่ซื้อมา เช่น จากแบรนด์ผู้ผลิตกางเกงเลคกิ้งสำหรับออกกำลังกาย หรือหน้ากากอนามัยสไตล์ผ้ายืด ผลปรากฏว่าผู้ที่ใช้หน้ากากอนามัยดังกล่าวสามารถป้องกันเชื้อโรคได้เพียง 50% เท่านั้น
นอกจากที่กล่าวมา การหมั่นซักทำความสะอาดหน้ากากอนามัยดีไอวาย หรือหน้ากากผ้าที่เราทำเอง และหน้ากากผ้าแฟชั่น ตลอดจนการหมั่นล้างมือบ่อยๆ ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การสวมแมสก์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |