'จตุพร'ซัดมะกันคบยากตัดสิทธิGSPสินค้าจ้องทำลายศก.ไทย


เพิ่มเพื่อน    

1 พ.ย.63-นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงประธานาธิบดีสหรัฐที่ใช้มาตรการตัดสิทธิพิเศษทางการค้าหรือ GSP ซึ่งมีมูลค่ากว่า 25,000 ล้านบาทว่า ก่อนหน้านี้ก็ได้ตัดสิทธิพิเศษทางการค้ากว่า 4 หมื่นล้านบาทมาแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาก็พยายามอธิบายว่าบรรดามหาอำนาจคบยาก สหรัฐอเมริกาก็เป็นประเทศหนึ่งที่คบยาก อย่างที่ทราบกันว่าเรามักจะอธิบายถึงสหรัฐอเมริกาคือโลกประชาธิปไตย โลกเสรี หากมีการยึดอำนาจในประเทศไทย ประเทศไทยจะถูกคว่ำบาตร และจะไม่มีการยอมรับการยึดอำนาจนั้น แต่สุดท้ายก็เห็นแล้วว่า ทันทีที่ไปซื้ออาวุธของประเทศสหรัฐอเมริกา ก็เปิดทำเนียบขาวต้อนรับ ดังนั้นแปลความง่ายๆว่า อุดมคติของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาคือ ผลประโยชน์ของอเมริกาไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของประเทศอื่นยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทย  

"ไม่ทราบว่าทางการไทยจะตอบโต้ทางการสหรัฐฯอย่างไร ที่ผ่านมาสหรัฐได้ดำเนินการแบบนี้กับหลายประเทศ ดังนั้นภายใต้เศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก รวมถึงการเปลี่ยนฐานการผลิตจากประเทศไทยไปประเทศรอบข้างที่สหรัฐยังไม่ได้ตัด GSP นั้นยิ่งสะท้อนได้ชัดเจนว่า การตัด GSP นั้น ต้องการทำลายทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่อยู่ในสถานการณ์ยากลำบากหากสหรัฐอเมริกาเป็นมิตรประเทศจริง ทั้งๆที่รู้ว่าในวิกฤตการณ์โควิด-19 ไทยได้รับผลกระทบสูงสุดประเทศหนึ่ง การท่องเที่ยวพังพินาศ มีเพียงการค้าบางชนิดเท่านั้นที่ยังคงอยู่อยากยากลำบาก โรงงานทยอยปิด คนตกงานจำนวนมาก ดังนั้นหากสหรัฐเป็นมิตรประเทศจริงๆ จะไม่ทำเช่นนี้ กับประเทศไทยที่กำลังเผชิญอยู่กับความยากลำบาก"
 
นายจตุพร กล่าวว่า ส่วนในทางการทูตจะเล่นบทอย่างไรนั้นเราเองก็เห็นเมื่ออเมริกาไปรุกรานบางประเทศ วันนี้เราเห็นการโจมตรีทางเศรษฐกิจ แม้จะไม่ใช่การโจมตีทางอาวุธแบบสงครามแต่เป็นการสะท้อนว่า สหรัฐอเมริกาไม่ใช่มิตรแท้ของประเทศไทย แต่เป็นมิตรที่แสวงหาประโยชน์กับประเทศไทย ไม่ว่าประเทศไทยจะอยู่ในสภาพอย่างไรก็พร้อมที่จะซ้ำเติม 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"