31 ต.ค.63 - นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีแรงงานข้ามชาติติดเชื้อโควิด กล่าวว่า กระทรวงแรงงานมีหน้าที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าแรงงานข้ามชาติ ซึ่งตนยืนยันว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการอนุญาตนำเข้าแน่นอน แต่การที่มีแรงงานมุดเข้ามาตามช่องทางธรรมชาตินั้น เป็นหน้าที่ของหน่วยงานด้านความมั่นคงที่ต้องใช้กองกำลังเข้าควบคุมดูแล ส่วนกรมการจัดหางานนั้น เราไม่มีกำลังคนไปเฝ้าได้
นายสุชาติกล่าวว่า สำหรับแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทยนั้น ขณะนี้ได้เอาเข้าสู่ระบบให้อยู่ต่อเลยโดยมีอยู่หลายแสนคนซึ่งเพียงพอกับความต้องการใช้แรงงานในประเทศ โดยที่ผ่านมาเราไม่ได้เข้มงวดเขามาก และขยายเวลาให้อยู่ต่อ จนมีคนถามว่าทำไมไม่เอาแรงงานที่เข้ามาอย่างผิดกฎหมายหรืออยู่ใต้ดินนำขึ้นมาไว้บนดินให้หมด หากเราทำเช่นนั้นก็กลัวว่า จะมีแรงงานข้ามชาติอีกจำนวนมากที่มุดเข้ามาอีก ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะโทษว่าเป็นความผิดของกระทรวงแรงงานอีก
“สำหรับแรงงานที่อยู่ในประเทศอยู่แล้ว หากไม่มีคนอื่นเข้ามาเพิ่ม แม้เขาอยู่อย่างแออัดสักหน่อย แต่ก็คงไม่ติดเชื้อโควิด แต่ถ้าปล่อยให้มีการมุดเข้ามาเพิ่มสิน่ากลัว วันก่อนผมได้คุยเรื่องนี้กับคุณอนุทิน (ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ถึงเรื่องการควบคุมตามแนวชายแดน ผมเองได้ยืนยันกับท่านไปแล้วว่าเราไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าใหม่แน่นอน”นายสุชาติ กล่าว
นายสืบสกุล กิจนุกร หัวหน้าศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่าสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในเชียงราย เท่าที่ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือตามชุมชนต่างๆยังไม่พบว่ามีแรงงานข้ามชาติติดโควิด ขณะที่ภาคธุรกิจได้เปิดกิจการแล้วเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นแรงงานที่อยู่ในเชียงรายจึงได้กลับสู่การทำงาน ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นกว่าช่วงล็อคดาวน์ ส่วนการเฝ้าระวังป้องกันที่ทำคือเราลงพื้นที่แจกหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอล์ล้างมือโดยเน้นไปที่กลุ่มเด็ก เยาวชนและกลุ่มเปาะบาง เช่น คนท้อง คนชรา
“ในชุมชนที่แรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่ พวกเขาตื่นตัวกันมาก ตอนแรกที่เริ่มมีการระบาดของโควิด พวกเขาวิตกกังวลกันมาก เพราะไม่มีหน้ากากและเจลล้างมือ แต่พอเราเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ทุกคนพยายามเฝ้าระวัง โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดอย่างหนักในพม่า แรงงานฝั่งบ้านเราก็ส่งสัญญาณบอกให้คนฝั่งพม่าไม่ต้องเข้ามา พวกเขาคอยเฝ้าระวังกันเอง เพราะหากมีแรงงานข้ามมา พวกเขาเองก็เสี่ยง”นายสืบสกุล กล่าว
นายสืบสกุล กล่าวว่า ขณะนี้หน่วยงานภาครัฐยังมีจุดบกพร่องที่เข้าไม่ถึงแรงงานข้ามชาติ โดยที่ผ่านมามักให้ความสำคัญกับคนไทยก่อน ทำให้รัฐยังให้ควาช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติไม่ได้ดีเท่าที่ควร จริงๆแล้วรัฐต้องไม่คิดว่าเขาเป็นคนไทยหรือต่างชาติ หรือการเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะโรคระบาดทำให้ทุกคนตกกอยู่ในภาวะเสี่ยงเท่ากัน ขณะเดียวกันรัฐควรให้ความช่วยเหลือเพื่อนบ้านโดยเฉพาะตามจังหวัดแนวชายแดน เพื่อให้พวกเขามีหน้ากากและแอลกอฮอล์ล้างมือเพียงพอเพราะคนเหล่านี้เป็นเหมือนแนวป้อง หากพวกเขาติดโควิดก็ทำให้คนไทยที่อยู่ชายแดนเสี่ยงไปด้วย แต่ที่ผ่านมาภาพความช่วยเหลือในลักษณะนี้ไม่ค่อยชัด อาจมีบ้างเรื่องการส่งต่อข้อมูล แต่มาตรการด้านสาธารณสุขข้ามแดนยังน้อยมาก
นางซุยมาลุย แรงงานข้ามชาติในจังหวัดเชียงราย อายุ 33 ปี กล่าวว่าตนเดินมาทำงานในประเทศไทยแล้ว 13 ปี และเข้ามาอย่างถูกต้อง โดยในช่วงการล็อคดาวน์ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง แต่โชคดีที่สามียังมีงานทำ อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนไม่ได้ทำงานเพราะเพิ่งคลอดลูก รายได้ทั้งหมดจึงมาจากสามีเพียงทางเดียวซึ่งมีรายได้เดือนละประมาณ 8 พันบาท แต่ต้องจ่ายค่าเช่าห้องเดือนละเกือบ 2 พันบาท ที่เหลือจึงเป็นค่าใช้จ่ายของคนในครอบครัวทั้ง 4 คนซึ่งพออยู่ได้ และบางส่วนส่งกลับไปให้พ่อแม่ในฝั่งพม่า
“ตอนแรกลูกชายอยู่กับตายายที่มัณฑะเลย์ แต่ก่อนโควิดแพร่ระบาดเขาได้มาหาพ่อแม่ในไทย เลยกลับออกไปไม่ได้ เขาอายุ 9 ขวบแล้ว จะกลับไปเรียนหนังสือก็ไม่ได้ เรียนฝั่งไทยก็ไม่ได้เพราะพูดภาษาไทยไม่ได้ มีเด็กๆที่มีปัญหาเช่นเดียวกับเขาอยู่หลายคน เราก็ไม่รู้ว่าจะช่วยเหลืออย่างไร อยากให้พวกเขาได้เรียนหนังสือ”นางซุยมาลุย กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |